ลงทุน : NAV (Net Asset Value) คืออะไร

ลงทุน : NAV (Net Asset Value) คืออะไร

NAV หรือ Net Asset Value คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งคำนวนจากทรัพย์สินทั้งหมดรวมผลประโยชน์ต่างๆของกองทุนรวม หักค่าใช้จ่ายและหนี้สินทั้งหมดของกองทุนจนเหลือสุทธิ แล้วจึงนำมาคำนวนต่อหน่วยลงทุนได้ราคา NAV ต่อหน่วยลงทุน โดยปกติจะคำนวนตามราคาตลาดที่สิ้นสุดในแต่ละวัน ในกรณีที่ไม่มีการซื้อขายหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินก็จะคำนวนจากการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ลงทุนที่สุด

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) มีหน้าที่ในการคำนวนราคา NAV และเปิดเผยต่อสาธารณชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้ทราบอย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน, แสดงราคาในหน้าเว็บไซต์ของบลจ. เป็นต้น สำหรับกองทุนปิดจะทำการประกาศให้นักลงทุนทราบ ณ วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ นั่นคือนักลงทุนจะทราบราคาต่อหน่วยลงทุน NAV ล่าสุดคือ ณ สิ้นเมื่อวาน หากทำการซื้อขายในระหว่างวันจะไม่สามารถทราบราคา ณ ปัจจุบันได้ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งที่ราคาจะลดลง หรือ เพิ่มขึ้น

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อราคา NAV มีดังต่อไปนี้

  • การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (Valuation of Investments) ตามสูตรคำนวนจะต้องนำทรัพย์สินกองทุนทั้งหมดมาพิจารณา ซึ่งทรัพย์สินที่อยู่ในรูปแบบของตราสารทุน, ตราสารหนี้, หรืออื่นๆ จะมีราคาปิดที่ไม่แน่นอน ดังนั้นราคาประเมินมูลค่าทรัพย์สินก็จะปรับเปลี่ยนตามราคาปิดของการลงทุนต่างๆ

  • การซื้อขายทรัพย์สินของกองทุน (Purchase/Sale of Securities) การซื้อหรือขายทรัพย์สินจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนด้วย จึงส่งผลให้ตัวตั้งมีการเปลี่ยนแปลงราคา NAV ได้เช่นกัน

  • คุณภาพของทรัพย์สินของกองทุน (Quality of Securities) หากทรัพย์สินของกองทุนที่มีการลงทุนมีคุณภาพให้ผลตอบแทนที่ดี ก็จะส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคา NAV ก็จะสูงขึ้นตาม

  • ผลตอบแทนที่ยังไม่ได้รับเข้ากองทุน (Unrealized Return) ในกรณีที่ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับนั้นยังไม่มา ก็เปรียบได้กับมูลค่าทรัพย์สินไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ราคา NAV ก็จะไม่ขยับตามหรืออาจลดลงตามหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้

  • หนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุน (Liabilities and Expense) เช่นเดียวกันค่าใช้จ่ายหรือหนี้สินที่เป็นองค์ประกอบในการคำนวนค่า NAV หากเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ค่า NAV ลดลง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบผกผันกัน

  • จำนวนหน่วยลงทุนที่จัดจำหน่ายและไถ่ถอน (Unit Sole and Redeemed) ราคา NAV จะเพิ่มค่าขึ้นตามการจำหน่ายหน่วยลงทุนที่มากขึ้น และจกลดลงตามจำนวนหน่วยลงทุนที่มีการไถ่ถอนด้วย

  • การจ่ายเงินปันผล (Divided Distribution) การจ่ายเงินปันผลจะถือรวมในค่าใช้จ่ายที่ต้องหักออกจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด ก่อนคำนวนราคา NAV ดังนั้นหากมีการจ่ายเงินปันผลย่อมส่งผลให้ราคา NAV ลดลงไปด้วย

  • ที่มา : TSI

    Add a Comment

    Your email address will not be published. Required fields are marked *