Tag: Management

ปฏิรูป 3 ประสานเพื่อประหยัดพลังงานในองค์กร

ปฏิรูป 3 ประสานเพื่อประหยัดพลังงานในองค์กร วันที่ : 21 มิถุนายน 2551 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : งานอัพเกรด ต้นทุนด้านพลังงาน ค่าน้ำ ไฟ ฯลฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนนับเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารองค์กรจำนวนมากเกิดความหนักใจและพยายามหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อลดรายจ่ายขององค์กร ไม่ให้บานปลายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤติด้านพลังงานปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนดังกล่าวให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวทางที่ผู้บริหารส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานในสำนักงานลง โดยมากแล้วมักเป็นการรณรงค์หรือขอความร่วมมือจากพนักงาน รวมไปถึงการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ในการประหยัดพลังงาน อาทิ กำหนดเวลาในการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
Read More

บริการระบบการจัดการฐานข้อมูลของฮาร์วาร์ด

บริการระบบการจัดการฐานข้อมูลของฮาร์วาร์ด วันที่ : 2 กรกฎาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : นิตยสารการศึกษาอัพเกรด ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมุ่งพัฒนาและสนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้มีการปฏิบัติงานได้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยฮาร์วาร์ดมีระบบหลายประการในการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในฮาร์วาร์ด บทความนี้ นำเสนอระบบบริการการจัดการฐานข้อมูลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Records Management Services (RMS) ซึ่งดำเนินการอยู่ภายใต้สำนักการจัดการบันทึกข้อมูล
Read More

สร้างสรรค์งานด้านสิ่งแวดล้อมของฮาร์วาร์ด

ส. สร้างสรรค์งานด้านสิ่งแวดล้อมของฮาร์วาร์ด วันที่ : 27 มีนาคม 2551 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม นับเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในขณะนี้ สังเกตได้จากในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมานี้ ผมได้รับเชิญให้ไปออกรายการวิทยุ และโทรทัศน์หลายรายการเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง พัฒนากรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ ซึ่งมีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการร่วมรักษาสภาพแวดล้อมกันมากขึ้น การไปพูดคุยในประเด็นดังกล่าว ทำให้ผมนึกถึงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ดังที่ผมเคยนำเสนอไปในบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยสีเขียว อีกหนึ่งความห่วงใยใส่ใจสังคม”
Read More

ฮาร์วาร์ด เชื่อมความร่วมมือระหว่างคณะ

ฮาร์วาร์ด เชื่อมความร่วมมือระหว่างคณะ วันที่ : 13 สิงหาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : การศึกษาอัพเกรด ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ต่างมีการขยายและเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ อย่างมาก ตัวอย่างหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ที่ถูกจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 4
Read More

จุดแข็งของธุรกิจเล็ก ที่ธุรกิจใหญ่ ‘ทำไม่ได้’

จุดแข็งของธุรกิจเล็ก ที่ธุรกิจใหญ่ “ทำไม่ได้” ถ้ามองเพียงผิวเผิน หรือ มองเพียงไม่กี่มิติ หลายๆ ท่านก็อาจจะคิดว่า ธุรกิจขนาดเล็กที่ใช้ทีมงานเพียงไม่กี่คน น่าจะถูกธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า กลืนกินไปหมด ใช่ครับ สำหรับธุรกิจที่ไม่มีนวัตกรรม หรือไม่มีความแตกต่าง แค่ซื้อมาขายไปธรรมดาๆ ต้นทุนในการซื้อย่อมสูงกว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ซื้อเป็นจำนวนมากในราคาที่ต่ำกว่า อย่างเช่นร้านโชห่วยทั่วๆ ไปที่ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีนวัตกรรม ทั้งนวัตกรรมในเรื่องสินค้า-บริการ การตลาด และการขาย ที่ไม่ใช่แค่ซื้อมา-ขายไป ธุรกิจขนาดเล็กกลับมีความได้เปรียบและสามารถเปลี่ยนจุดอ่อนทั่วๆ ไปของธุรกิจขนาดเล็กให้กลายเป็นจุดแข็งที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจแบบข้ามชาติไม่อาจเลียนแบบได้ หรือ
Read More

HR&Management : สี่ตีนยังรู้พลาด สี่พลังธาตุรู้ก่อนพลั้ง

HR&Management : สี่ตีนยังรู้พลาด สี่พลังธาตุรู้ก่อนพลั้ง “ชีวิตการทำงานในโลกธุรกิจวันนี้ เหมือนกับการขับรถยนต์ที่ยางอาจจะแฟบ ขณะวิ่งไปด้วยความเร็ว 90 ไมล์ต่อชั่วโมง ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” ลอรี่ เบธ โจนส์ บอกว่า หลายสิ่งหลายอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใคร ไม่ว่าจะชายหรือหญิง แม้แต่บริษัทใหญ่ๆ ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นไปได้จากการล้มเหลวของธุรกิจ กล่าวได้ว่า ซีอีโอวันนี้เป็นหนึ่งในสาขาอาชีพที่มีแต่ความตึงเครียดและเต็มไปด้วยเดิมพัน เมื่อเป็นที่รับรู้กันดีว่า คนเป็นทรัพยากรอย่างเดียวในอุตสาหกรรม ที่ทำให้ประสิทธิภาพงานต่ำลงได้ การบริหารคนจึงต้องให้ความสำคัญอันดับแรก และใส่ใจให้มากกว่าการบริหารอย่างอื่น มนุษย์เราถูกประกอบขึ้นมาจากสี่ธาตุธรรมชาติได้แก่ ดินคือ แคลเซียม
Read More

เวลาไม่พอ 'ทำอย่างไร?'

เวลาไม่พอ” ทำอย่างไร? มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 คำว่า “เวลาไม่พอ” กลายเป็นคำฮิตที่ติดปากคนทำงานในปัจจุบัน ที่ดูเหมือนว่ามีสิ่งจะต้องทำมากกว่าเวลาที่มีอยู่ ผมเคยไปเจอผู้บริหารระดับกลางแก้ตัวกับผู้บริหารระดับสูงว่า สาเหตุที่ทำงานไม่ทันนั้นเนื่องจากเวลาไม่พอ ผู้อ่านทราบไหมครับว่า ผู้บริหารระดับสูงตอบกลับมาว่าอย่างไร เขาตอบว่า “เมื่อคืนได้นอนหรือเปล่า? ถ้าได้นอนแสดงว่ายังมีเวลาเหลืออยู่ จะมาบ่นไม่ได้ว่าเวลาไม่พอ” ไม่รู้จะบอกว่า โหดร้ายหรือเป็นสัจธรรม ดีครับ
Read More

รัฐวิสาหกิจโลจิสติกส์-ได้เวลาเปลี่ยนแปลงใหญ่

รัฐวิสาหกิจโลจิสติกส์-ได้เวลาเปลี่ยนแปลงใหญ่   ความจำเป็นที่ประเทศต้องมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายโลจิสติกส์ หรือระบบการจัดส่ง รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน เป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ยิ่งในยุคน้ำมันแพงด้วยแล้ว การลงทุนเหล่านี้ย่อมมีความสำคัญมากขึ้นเป็นทวีคูณ และการปรับปรุงให้ระบบโลจิสติกส์ และขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ราคาพลังงานผันผวนได้ ลำพัง ศักยภาพทางการเงิน ของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน และโลจิสติกส์ มีขีดจำกัด ดังนั้น จึงไม่อาจหวังได้ว่ารัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะอยู่ในสถานะที่จะขยับขยายการลงทุนเองได้ การปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม หรือสภาพดังกล่าว ย่อมหมายถึง การสูญเสียโอกาสในการขยายบริการพื้นฐาน ให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ระบบโลจิสติกส์และระบบขนส่งมวลชนที่ดี ยังเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การคาดหวังว่ารัฐวิสาหกิจเหล่านี้ จะผลักดันเมกะโปรเจคที่ใช้เม็ดเงินในการลงทุนระดับหมื่นล้านแสนล้านย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
Read More

สูตรบริหารแบบ 'ศรัณย์ สมุทรโคจร'

สูตรบริหารแบบ “ศรัณย์ สมุทรโคจร” ผู้นำตามสั่ง Leader A La Carte : รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เมื่อไม่นานมานี้ดิฉันได้เรียนเชิญคุณศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการของ Yum Restaurants International (Thailand) มาเป็นวิทยากรพิเศษในวิชาภาวะผู้นำในองค์กรที่ดิฉันสอนให้แก่นิสิต MBA และนิสิต
Read More

4sE ชี้ชะตาอีเว้นท์

4″sE ชี้ชะตาอีเว้นท์ คอลัมน์ คลื่นความคิด โดย ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ มติชนรายวัน วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9971 กระแสความนิยมในการทำอีเวนต์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการทำอีเวนต์ยังสามารถแฝงตัวไปกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างแนบเนียนอีกด้วย มีแฟนผู้อ่านคอลัมน์ “คลื่นความคิด” ได้ติดต่อสอบถามถึงที่มาที่ไปของเครื่องมือการสื่อสารการตลาดนี้ว่าเป็นมาอย่างไรให้ผู้เขียนช่วยเฉลยเพื่อความเข้าใจด้วยจะขอบคุณยิ่ง เพื่อเป็นการเอาใจแฟนประจำที่เป็นกำลังใจสำคัญของผู้เขียน ทำให้ผู้เขียนต้องหยิบปากกามาเขียนถึงเรื่องราวของอีเวนต์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนี้ อีเวนต์มาร์เก็ตติ้งนั้นเติบโตมาจากเครื่องมือสื่อสารการตลาดอย่างการประชาสัมพันธ์ที่มักจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษ(Special
Read More