การเรียนรู้การเขียนกรณีศึกษา

การเรียนรู้การเขียนกรณีศึกษา
โดย ชลิต ลิมปนะเวช [9-5-2007]

ผมได้มีโอกาสไปเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ ศาสตราจารย์จาก Harvard ที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนกรณีศึกษา (Case Research & Writing Workshop) ที่พัทยา จัดโดย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ บริษัท Know-Edge จำกัด ซึ่งเป็นการสัมมนาวิชาการที่ทาง Prof. มาถ่ายทอดเทคนิค วิธีการเขียน Case study ให้บรรดาอาจารย์และนักธุรกิจที่สนใจเข้าฟัง
ผมได้ฟัง Prof. ท่านนี้พูดว่าที่ Harvard เขาเลิกสอนด้วยตำรา และทฤษฏีกันแล้ว บรรดาตำราเรียนและทฤษฏีต่างๆ นักศึกษาสามารถหาอ่านเองได้ ฉะนั้น ในห้งอเรียน ส่วนใหญ่เขาจะใช้กรณีศึกษา หรือ Case Study ที่บรรดา อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำวิจัย และพัฒนาขึ้นมาสอนกัน
เพราะการสอนแบบใช้กรณีศึกษานั้น เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้ชีวิตจริง ด้วยการนำเอาทฤษฎีที่เรียนในห้อง มาวิเคราะห์กัน แลกเปลี่ยนกัน ถกเถียงกัน โดยมีอาจารย์เป็น Facilitator หรือ ผู้ให้คำแนะนำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงสังเกตุได้ว่า คนไทยเวลาอยู่ในห้องประชุม หรือการสัมนาใดๆ มักไม่มีใครกล้าถาม เพราะถูกสอนมาให้ฟังอย่างเดียว ไม่ได้ฝึกมาให้ใช้สมองคิด และถกเถียงกัน เหมือนนักศึกษาในตะวันตก
บรรดาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆในอเมริกานั้นได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้เขียนกรณีศึกษามากมาย เช่น HBR ของ Harvard Business Review, NACRA หรือ North America Case Research Association เป็นต้น ซึ่งบรรดาอาจารย์ที่สนใจ ต่างก็เขียนกรณีศึกษาและนำไปลงใน Online Journal ทางด้าน Case Research & Writing
ฉะนั้น การเขียนกรณีศึกษาจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ยอมรับของสากล ไม่ใช่ใครๆก็เขียนกันได้ และทุกกรณีศึกษาที่อยู่ใน Journal หากใครต้องการนำไปใช้ในการเรียนรู้ ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ไม่งั้นก็ Download ไปไม่ได้ ราคาค่า Case ก็ตกราว $ 6.00-120.00 และอาจารย์เจ้าของ Case ก็ได้เงินนั้นไป
ในขณะที่ประเทศไทยเรานั้น จะหากรณีศึกษาของบริษัทคนไทยมาสอนนักศึกษานั้นแทบจะหาไม่ได้เลย บรรดาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทยต่างก็ต้องเอากรณีศึกษาของต่างประเทศมาใช้ในการสอน และกรณีศึกษาส่วนใหญ่ก็ไปลอกเขามา ฉะนั้น จึงไม่มี Teaching Notes ที่จะเป็นข้อแนะนำในการสอน เพราะทุกกรณีศึกษาถือเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของ Case เพราะหากมี Teaching Notes เราก็จะทราบว่า จุดประสงค์ของ Case นั้น มีอะไร อยากให้นักศึกษาฝึกฝนอะไร เรียนรู้เกี่ยวกับอะไร
เช่น Leadership, หรือ กลยุทธ์องค์กร หรือ การสร้างวิสัยทัศน์ และ พันธกิจ หรือ กลยุทธ์การตลาด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้เราจะเอา case เขามาสอน เราก็ไม่สามารถอธิบายให้นักศึกษาของเราเข้าใจในวัตถุประสงค์ของ Case เขา และจะทำให้นักศึกษาเราไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่จาก Case ที่อาจารย์นำมาสอนในห้องเรียน
ตลอดเวลาในการสัมนาครั้งนี้ทั้ง 3 วัน ทาง Prof. ได้สอนและแนะนำวิธีคิด เขียน และวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการเขียน Prof. เล่าว่า แต่ละ Case นั้น เขาใช้เวลาเขียนกัน 3-4 เดือนแบบเต็มเวลา แต่หากอาจารย์ท่านนั้นต้องสอนด้วย ให้คำแนะนำนักศึกษาด้วย การเขียนแต่ละ Case ก็อาจใช้เวลาหลายเดือน หรือ เป็นปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการได้ข้อมูล
พวกเราก็เลยคิดจะก่อตั้ง ชมรมนักเขียนกรณีศึกษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษว่า TCRS – Thailand Case Research writing Society ซึ่งพวกเราที่เข้าอบรมทุกคนจะเป็นสมาชิกก่อตั้ง และจะพยายามช่วยกันในการพัฒนากรณีศึกษากันทุกปีๆละ 1 Case ต่อคน เพื่อที่ว่าในอนาคต นักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาของบริษัทไทย ไม่ใช่เรียนแต่ของต่างประเทศ
ผมรู้สึกว่า การมาสัมนาครั้งนี้มีคุณค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ Prof. ที่เชี่ยวชาญและได้รางวัลการเขียนกรณีศึกษามาเป็นคนสอน และแนะนำ สิ่งที่ผมอยากเขียนให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ก็คือว่า ในกระบวนการเรียนรู้นั้น หากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนากรณีศึกษาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ มหาวิทยาลัยนั้น ก็จะก้าวหน้า หากมหาวิทยาลัยไหนยังคงใช้การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม คือการสอนตามตำรา มหาวิทยาลัยนั้นก็เปรียบเสมือนถอยหลังเข้าคลอง และบัณฑิตที่สถาบันนั้นๆผลิตออกมาจะไปมีคุณภาพได้อย่างไร
ผมอยากให้ภาครัฐให้ความสนใจสนับสนุนในเรื่องนี้ เพื่อที่จะพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้ช่วยกันพัฒนากรณีศึกษาขึ้นมามากๆ เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้บริษัทของคนไทย เพราะบัณฑิตที่จบไปส่วนใหญ่ก็ทำงานให้ไทย จะเป็นบริษัทข้ามชาติ ก็เป็นบริษัทช้ามชาติที่ทำธุรกิจในไทย จำเป็นที่จะต้องเข้าใจและเรียนรู้พฤติกรรม นิสัยของคนไทย จึงจะสามารถเอาชนะใจผู้บริโภคไทยได้ ผมเป็นฝรั่งที่เก่งๆ พอมาเมืองไทย มาตกม้าตายกันก็หลายคน ทั้งนี้ เขาไม่พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนาธรรมคนไทยนั่นเอง

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *