คิดนอกกรอบ (ของจริง)

คิดนอกกรอบ (ของจริง)

โดย ม.ล.ชัยวัฒน์ ชยางกูร [5-2-2004]

เห็นหลายคนตกอกตกใจในการที่มีการรวมกิจการ ขอให้ลาออก ลดกำลังคน ขอให้เกษียณก่อน กำหนด อาจจะช๊อคหรือมึนงงไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เพราะติดก็เพียงตัวเองที่เอาแต่ความคิดในอดีตที่ใครต่อใครฝัง ในสมองให้ว่าต้องทำงานที่เรียนรู้มา และมีประสบการณ์เท่านั้น

ในโลกธุรกิจยุคใหม่ การทำธุรกิจเกิดขึ้นง่ายกว่าแต่ก่อนมาก เพราะอะไรที่ไม่ใช่จุดแข็งของเรา เราก็ให้ คนอื่นทำเรียกกันว่า“Outsourcing”ไปให้หมด เหลือไว้แต่ธุรกิจหลักหรือความเชี่ยวชาญพิเศษของเราที่เรา ต้องการจะทำให้มีอนาคต ผมพบคนที่เป็นนักบริหารเก่ง ๆหลายคนที่เกิดมาไม่เคยทำธุรกิจในแนวนี้เลยแต่ก็ ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เช่น คุณเรวัต จินดาพล ที่เคยขาย Softwareคอมพิวเตอร์ ขายบริการซ่อม ลิฟท์ในตึก หันมาขายดอกไม้ชื่อ Misslily จนร่ำรวย เนื่องจากเข้าใจการตลาดอย่างลึกซึ้ง สร้างตราสินค้า (Brand) ได้เก่งจนคนพูดถึงและนำมาซึ่งความเจริญอย่างต่อเนื่อง
หรืออย่างคุณประวิทย์ เจ้าของ Black Canyon ทำธุรกิจด้านขายคอมพิวเตอร์ในนาม Pro-line มากว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มี Franchise ชื่อดัง อีกตัวอย่างเจ้าของ Ice-Cream ยี่ห้ออินเตอร์นาม “Iberry” เป็นคนรุ่นใหม่ เคยเป็นแอร์ เป็นนักประชาสัมพันธ์ กลับมาเป็นเจ้าของแบรนด์อินเตอร์แต่หัวใจไทย เป็นการบอกว่าการทำงานในโลกใบใหม่นี้ไม่ใช้ประสบการณ์อีกต่อไปแล้ว แต่อาศัยความรู้ทางการตลาดและการมีจุดแข็งที่คนอื่นไม่มี นำมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเสนอให้แก่ลูกค้าของเรา
ตัวผู้เขียนเองก็ขายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเป็น MD ใน องค์กรข้ามชาติในธุรกิจ IT มาหลายบริษัท ไม่เคยจัดรายการ Talk – Show ทาง TV หรือทำสื่อประเภทจัดรายการหรือเขียนหนังสือ แต่รู้ว่าตัวเองชอบและถนัดเลยพัฒนาทีมงาน และทำเป็นรูปร่างที่เป็นบริษัทและมุ่งเน้นความสำเร็จลูกค้าเป็นหลัก จนเกิดความมั่นคงสมบูรณ์ได้
ตอนที่ยากที่สุดในการริเริ่มทำสิ่งใหม่คือช่วงการตัดสินใจ เพราะหลายคนจะห้ามปรามแล้วบอกท่านว่าให้ไปหาอาชีพเดิม น้อยคนที่จะมีการเริ่มต้นในสายงานใหม่ ที่ตัวเองไม่เคยทำ เพราะมัวแต่กลัวในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จักมาตลอดชีวิต เคยแต่รับเงินเดือนไม่เคยจ่ายเงินเดือน เคยรับคำสั่งคนอื่นแต่ไม่เคยคิดเอง เคยอยู่ใน Organization Chart แต่ไม่เคยวางโครงสร้างขององค์กรเอง จะเริ่มต้นทำอย่างไรดีเมื่อจะเป็นเจ้าของกิจการเสียเอง
1. หาสิ่งที่ตัวเองอยากทำมากที่สุด (Find the best thing that you want to do) ไม่ต้องเลือก อาชีพหรืองาน คืออะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบมากที่สุด เช่น อาจจะอยากเป็นช่างภาพ, อยากทำอาหาร, อยากเปิด ร้านขายของพื้นเมืองหรืออะไรก็ได้ที่มีผลเสี่ยงน้อย แต่มีอนาคตถ้าทำสำเร็จ เป็นร้านอาหารก็มองเปิดแฟรนไชส์ในอนาคต คุณตัน เจ้าของร้านโออิชิ เกิดมาก็ไม่ใช่พ่อครัวหรือทำธุรกิจอาหารมาก่อน แต่มีความคิดยาวไกล และทำเรื่อง Brand เก่งจนสำเร็จ
2. หาความรู้ใส่ตัวโดยด่วน (Learn Fast) หนังสือของคนที่ประสบความสำเร็จในการเริ่มทำธุรกิจ เป็น Case Study ที่ดีที่สุดที่เราสามารเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากจะรู้วิธีแล้ว ยังได้เห็นตัวอย่าง ได้กำลังใจ จากคนอื่น และเห็นว่าเขาทำอะไรมาบ้าง ที่เป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้เร็วและพัฒนาความคิดได้ดีที่สุดเช่นเดียวกับการ เรียน Case ในมหาวิทยาลัย Harvard Business School มีหนังสือหลายเล่มทั้งของใน และของนอก ของในคือสู้แล้วรวย อะไรประเภทนี้
3. คิดอย่างเจ้าของกิจการให้เป็น (Think like an Entrepreneur) ความคิดลูกจ้างเอาแต่จะได้ มาเป็นนายจ้างเอาแต่จะให้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเคยแต่แบมือรับเงินเดือน มาในวันนี้ต้องจ่ายเงิน ถ้าเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยคนขอให้คิดว่าไม่มีเขาก็ไม่มีเรา ฉะนั้นคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เราได้เขาอาศัยพัฒนางาน และช่วยกันเพิ่มลูกค้า, รักษาความพึงพอใจให้ลูกค้า ฉะนั้นคิดอย่างเจ้าของให้เป็น รู้จักรายรับ ก็รู้จักรายจ่ายว่าเมื่อไหร่ควรจ่ายและพนักงานต้องได้รับการดูแลที่ดี เงินเดือน ผลตอบแทนให้คุ้มค่ากับเวลาของเขาและตรวจสอบผลงานให้ได้ในมุมมองของเรา
4. เริ่มเล็กไปใหญ่ (Think Big start Small) การทำธุรกิจแบบยั่งยืน ต้องคิดให้ใหญ่ มองภาพอีก 3 ปีให้ได้ว่าอยากเห็นบริษัท ฯ เราเป็นอย่างไร อาจเริ่มจากที่เช่าเล็กๆ แต่เป็น Inter เช่น Mobile-Office แถวสีลม หรือ All Season เป็นการ Share Office แต่ถ้าเป็นธุรกิจเล็กพวกเป็นร้านอาหาร ร้านกิฟท์ช๊อฟ ต้องเลือก Prime Location ที่ดี จะได้มีคนมาใช้บริการและ “คนเห็น” ถือเป็นการโฆษณาอย่างหนึ่ง
5. บริหารเงินให้เป็น (Cash Management) การบริหารเงินเป็นปัจจัยสำคัญขอให้มีการจัดการ ที่โปร่งใส บริหารเงินให้มีเงินลงทุนพอสมควร ธุรกิจควรจะทำได้ 6 เดือน – 1 ปี ในการจัดการที่ยังไม่กำไรนัก แต่ให้ธุรกิจไปได้และเริ่มมีลูกค้า จากนั้นถ้ามีกำไรให้เอากำไรมาลงทุนต่อ และต่อไปเรื่อยๆ ขนาดธุรกิจก็จะเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ท้ายสุดไม่ใช่สุดท้าย อย่ายอมแพ้ พยายามต่อสู้และอย่ากลับลำ ถ้ายังไม่ดีให้หาว่าในระบบ อะไรผิดพลาด แก้ระบบเรื่องคน, เรื่องสินค้า, เรื่องการบริหาร แต่ให้มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จให้จงได้ ขอให้มีอนาคตครับ คิดนอกกรอบเสียบ้าง ชีวิตจะอิสระและสนุก

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *