ผนังห้องน้ำสำเร็จรูป

ผนังห้องน้ำสำเร็จรูป
ผนังห้องน้ำสำเร็จรูป (Toilet Partition) นี้ ทำด้วยวัสดุต่างๆกันหลายชนิด แล้ว
แต่ผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อ และรูปแบบก็มีการออกแบบให้สวยงามและมีประโยชน์ในการใช้งานอย่าง
เหมาะสมแตกต่างกันไป

หน้าที่หลักของผนังสำเร็จรูปนี้ก็คือ กั้นพื้นที่ล้อมรอบสุขภัณฑ์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็น
ส่วนตัว คือการบังสายตานั่นเอง แต่เรื่องเสียงและกลิ่นนั้นคงไม่ใช่หน้าที่ของมันอย่างแน่นอน แต่
นั่นก็แลกกันได้กับสิ่งอื่นๆเช่น แสงสว่างที่จะได้รับจากดวงไฟเพดานที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกของห้อง
และการระบายอากาศ ข้อดีอีกอย่างของผนังสำเร็จรูป คือ มีความเรียบร้อยสวยงาม และ
สามารถทำความสะอาดได้ดี อีกทั้งยังต้องขีดเขียนด้วยปากกาต่างๆได้ยากเพื่อป้องกันความ
สกปรกด้วย ส่วนประกอบหลักๆของผนังห้องน้ำสำเร็จรูปได้แก่

– แผ่นผนัง ทำจากวัสดุหลายชนิดซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
– อุปกรณ์ที่ใช้ยึดตัวแผ่นให้มั่นคงแข็งแรงเช่นขาตั้ง ตัวหนีบแผ่น บานพับประตู กลอนล็อค ทำ
ด้วยเสตนเลสเป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นอลูมิเนียม และเหล็กชุบโครเมี่ยมก็มีเช่นกัน
– อุปกรณ์ใช้สอยอื่นๆเช่น ที่ใส่กระดาษชำระติดผนัง กันชนขอแขวน เป็นเสตนเลสแผ่นผนังห้อง
น้ำสำเร็จรูปชนิดต่างๆที่พอจะพบเห็นได้มีดังนี้

1.แผ่นผนังทั้งแผ่นทำด้วยหินขัดหนาประมาน 25 ม.ม. แข็งแรงทนทาน ถูกน้ำโดยตรงได้
อุปกรณ์ประกอบเป็น Stainless Steel ตัวบานประตูต้องติดตั้งต่างหากเช่นบานไม้อัดหรือ
บาน Particle Board

2. โครงภายในเป็น Particle Board ชนิดกันน้ำ หนา 28 ม.ม. เคลือบผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วย แผ่น
Melamine ส่วนขอบรอบด้านเคลือบด้วย Polyester Resin ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติในการกันน้ำได้
ดี สามารถใช้ในบริเวณที่ถูกน้ำโดยตรงได้

3. โครงภายในเป็นไม้เนื้อแข็ง ผิวหน้าเคลือบด้วย Polyester Resin หนา 1 ม.ม. ทุกด้าน ความ
หนารวมทั้งหมดประมาณ 28 ม.ม. กันน้ำได้รอบด้าน

4. โครงภายในเป็น Particle Board ชนิดกันน้ำ หนา 18,28 ม.ม. และปิดผิวทั้ง 2 ด้านด้วยแผ่น
Melamine เช่นกัน แต่ปิดด้านสันด้วยแถบ PVC ติดกาวรอบด้าน แผ่นชนิดนี้มีคุณสมบัติในการ
ทนความชื้นได้ดี แต่ไม่ควรถูกน้ำโดยตรง เหมาะที่จะใช้ในบริเวณแห้งของห้องน้ำมากกว่า

5. แบบ High Pressure Laminate โครงภายในเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่นและเป็นวัสดุที่ไม่
ซึมน้ำ ปิดทับผิวด้วย Melamine ความหนารวมเพียง 13 ม.ม. เท่านั้น มีความแข็งแรงสูง และมี
น้ำหนักมากกว่า (จึงทำขนาดบางกว่าชนิดที่ 2-4 ได้) แม้ว่าจะไม่มีการปิดผิวด้านข้าง แต่ตัวเนื้อ
วัสดุภายในที่ไม่ซึมน้ำนี้ทำให้สามารถใช้งานในบริเวณที่มีน้ำได้ดี

6. โครงภายในเป็น Particle Board ชนิดกันน้ำ หนา 18,28 ม.ม. เคลือบผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วย
Polyester Resin หนา 1 ม.ม. ขอบด้านข้างปิดด้วยแผ่น PVC หนา 1 ม.ม.เช่นกัน

7. โครงภายในเป็น Honey Comb ซึ่งช่วยเก็บเสียงและเพิ่มความแข็งแรง ผิวภายนอกบุด้วยแผ่น
Stainless Steel แข็งแรงทนทานและให้รูปแบบที่แตกต่างออกไปจากแบบอื่นๆ

8. โครงภายในเป็น Fiber cement (non Asbestos) อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยความดันสูง ผิวหน้า
พ่นด้วยสี Polyurethane สามารถแต่งเป็นลายหินอ่อนได้

แผ่นผนังชนิดต่างที่ยกตัวอย่างมานี้มีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง การทนรอยขีดข่วน และการ
ทนความชื้นแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย อีกทั้งข้อจำกัดของสีและลายที่มีให้เลือกก็แตกต่างกันด้วย
การเลือกใช้ย่อมต้องพิจารณาให้ดีและครบถ้วนทุกๆด้าน ทั้งวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และ
ราคา

วัสดุที่ทำแผ่นผนังเหล่านี้เกือบทุกชนิดมีผิวหน้าที่สามารถกันน้ำและรอยขูดขีดได้ดี และมีโครง
สร้างของตัวแผ่นที่แข็งแรงเหมาะสมกับความหนา แต่จุดสำคัญที่ควรพิจารณามากกว่าคือ
บริเวณขอบซึ่งเป็นรอยต่อของวัสดุคนละอย่างที่ติดกันด้วยกรรมวิธีต่างๆที่พยายามจะให้กันน้ำ
หรือความชื้นได้มากที่สุด (การกันความชื้น กับการกันน้ำแตกต่างกัน)จุดที่ยึดอุปกรณ์เพื่อการติด
ตั้งก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะห้องน้ำย่อยเหล่านี้จะต่อเนื่องกันหลายๆห้องจึงมีโอกาสได้รับแรง
กระแทกจากการปิดประตูที่กระเทือนถึงกันอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือไม่ควรให้มีการตัดแผ่นผนังอย่างเด็ดขาดขนาดของ
แผ่นแต่ละแผ่นที่จะติดตั้งต้องมีการกำหนดในแบบและมีการวัดขนาดของสถานที่จริง เพื่อไม่ให้
มีความคลาดเคลื่อน เพราะส่วนที่กันน้ำได้คือส่วนผิวเท่านั้น ตัววัสดุโครงไม่ได้กันน้ำจึงอาจมี
ความเสียหายจากความชื้นทำให้อายุการใช้งานไม่ยาวนานได้ (ยกเว้นชนิดที่ 1 และ 5 ที่แกน
ภายในสามารถกันน้ำได้)

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *