Tag: กรมธรรม์ประกันภัย

การขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน

การขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน ม.874 บัญญัติว่า “ ถ้าคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนค่าสินไหมทดแทนก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงเกินไปหนัก และคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย” ราคาแห่งมูลประกันภัย คือ ราคาแห่งส่วนได้เสียที่ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ต่อวัตถุที่เอาประกันภัย คู่สัญญาอาจจะกำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้จำนวนหนึ่ง จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยก็ต้องไม่สูงเกินกว่าราคาแห่งมูลประกันภัย มาตรานี้หมายความถึง กรณีคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ และได้กำหนดจำนวนเงินซึ่งเอาราคาประกันภัยไว้เต็มราคาแห่งมูลประกันภัยหรือเท่ากับจำนวนราคาแห่งมูลประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่าราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ตกลงกันสูงมากเกินไป ผู้รับประกันภัยมีสิทธิที่จะลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน แต่มีหน้าที่ต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนของจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ขอลด และต้องเสียดอกเบี้ยด้วย ถ้าไม่ได้ตกลงกันล่วงหน้าบังคับตาม ม.7 คือ ร้อยละ 705 ต่อปี ตัวอย่างเช่น
Read More

การสละสิทธิของผู้เอาประกันภัย

การสละสิทธิของผู้เอาประกันภัย ม.871 บัญญัติว่า “ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือมากกว่านั้นพร้อมกันก็ดี หรือสืบเนื่องเป็นลำดับก็ดี ท่านว่าการที่ยอมสละสิทธิอันมีต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่งนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยรายอื่นๆ” ในกรณีมีการทำสัญญาประกันภัยหลายราย ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยทุกรายแบ่งกันชำระค่าสินไหมทดแทนตามส่วนเงินที่รับประกันภัยไว้ หรือให้ชำระก่อนหลังตามลำดับแห่งการทำสัญญา ถ้าผู้เอาประกันภัยสละสิทธิที่ตนมีอยู่ต่อผู้รับประกันภัยรายหนึ่ง การสละสิทธินั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยรายอื่นๆ เนื่องจากความรับผิดของผู้รับประกันภัยแต่ละรายเป็นความรับผิดเฉพาะตัวของผู้รับประกันภัยแต่ละรายมิใช่ความรับผิดร่วมเหมือนลูกหนี้ร่วม ซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้โดยสิ้นเชิงตาม ม.291 ซึ่งเจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้คนหนึ่งคนใดชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และบรรดาลูกหนี้ร่วมทั้งหมดต้องผูกพันในหนี้นั้นทุกคน จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้น ฉะนั้น การที่ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยอันมีต่อผู้รับประกันภัยรายใด สิทธินั้นเป็นอันระงับไปเฉพาะรายนั้น ส่วนผู้รับประกันภัยรายอื่นหากต้องชำระค่าสินไหมทดแทนตามส่วนของตนเพียงใดก็ยังคงต้องชำระตามส่วนนั้นอีกต่อไป และไม่ต้องชำระแทนส่วนที่นับประกันภัยอีกคนหนึ่งได้รับการปลดหนี้นั้น เช่น แดงทำสัญญาประกันภัยพร้อมกัน บริษัทจันทร์ 200,000 บาท
Read More

การประกันภัยหลายราย

การประกันภัยหลายราย ม. 870 บัญญัติว่า “ ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นพร้อมกันเพื่อวินาศภัยอันเดียวกัน และจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยรวมกันทั้งหมดนั้นท่วมจำนวนที่วินาศจริงไซร้ ท่านว่าผู้รับประโยชน์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียงเสมอจำนวนวินาศภัยจริงเท่านั้น ผู้รับประกันภัยแต่ละคนต้องใช้เงินจำนวนวินาศภัยจริงแบ่งตามส่วนมากน้อยที่ตนได้รับประโยชน์ไว้ อันสัญญาประกันภัยทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่าได้ทำพร้อมกัน ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองรายหรือกว่านั้นสืบเนื่องเป็นลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิดเพื่อความวินาศภัยก่อนและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวนวินาศภัยนั้นไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อๆกันไปจนกว่าจะคุ้มวินาศ” ประกันวินาศภัย ผู้เอาประกันภัยจะทำสัญญาไว้กี่รายก็ได้ แต่มิใช่เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนจนครบทุกราย เนื่องจาก กฎหมายถือหลักว่าผู้เอาประกันภัยจะค้ากำไรจากการเอาประกันภัยไม่ได้ การจ่ายค่าสินไหมทดแทนต้องจ่ายตามจำนวนวินาศภัยที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจึงเรียกค่าสินไหมทดแทนได้แต่เฉพาะเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับจริงเท่านั้น ประกันชีวิต ผู้เอาประกันจะทำสัญญาประกันชีวิตกับผู้รับประกันกี่รายก็ได้และเมื่อตาย ผู้รับประโยชน์จะเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยทุกรายจ่ายตามจำนวนที่ผู้เอาประกันได้ทำสัญญาไว้ได้ ประกันภัยหลายรายมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1.
Read More

วิธีใช้ค่าสินไหมทดแทน

วิธีใช้ค่าสินไหมทดแทน ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าการใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องกระทำโดยวิธีใด โดยปกติจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ตามม. 867(4) กำหนดบังคับให้กรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ห้ามถ้าคู่กรณีตกลงกันเป็นอย่างอื่น วิธีใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยมี 4 วิธี ซึ่งผู้รับประกันภัยอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1. ทำใช้ หมายถึง จัดการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม วิธีนี้นิยมสำหรับการเกิดความเสียหายบางส่วนและอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมเหมือนเดิมได้ เช่น ประกันอุบัติเหตุรถยนต์ 2. จัดหาสิ่งทดแทน หมายถึง การจัดหาทรัพย์สินอันใหม่มาแทนทรัพย์สินเดิมที่เสียหาย โดยเฉพาะกับทรัพย์สินบางชนิดที่มีค่าหรือมีราคาพิเศษหรือที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักร ที่มีลักษณะเฉพาะ
Read More

หลักว่าด้วยสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

หลักว่าด้วยสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of indemnity contract ) สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยที่มีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ หน้าที่นี้ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของผู้รับประกันภัยเพราะการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นวัตถุประสงค์โดยตรงของสัญญาประกันภัยในอันที่จะให้ผู้รับประกันภัยชำระหนี้ตอบแทนผู้เอาประกันภัยซึ่งชำระเบี้ยประกันให้แก่ตน ดังนั้นหน้าที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นและความเสียหายนั้นเป็นผลเนื่องมาจากภัยที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น หน้าที่และความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนของผู้รับประกันภัย ในเบื้องต้นหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อเกิดวินาศภัย แต่ในบางกรณีเมื่อเกิดวินาศภัยแล้วผู้รับประกันภัยยังไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ได้ทันที แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่อื่นเสียก่อน ได้แก่ 1. ม.231 วรรค 2,3 บัญญัติว่า “ ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ หรือควรจะได้รู้ว่ามีการจำนองหรือบุริมสิทธิอย่างอื่นไซร้ ท่านยังมิให้ผู้รับประกันภัยใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัย จนกว่าจะได้บอกกล่าวเจตนาเช่นนั้นไปยังผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิคนอื่นแล้ว และมิได้รับคำคัดค้านการที่จะใช้เงินนั้นมาภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันบอกกล่าว แต่สิทธิอย่างใดๆที่ได้ไปจดทะเบียน
Read More

ความรู้ของตัวแทนผู้รับประกันภัย

ความรู้ของตัวแทนผู้รับประกันภัย การตั้งตัวแทนของผู้รับประกันภัยจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงจะถือว่าเป็นตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามม. 798 วรรคสอง ประกอบกับม. 867 วรรคแรก และพ.ร.บ. ประกันวินาศภัย ม. 66 พ.ร.บ. ประกันชีวิต ม. 71 บัญญัติให้ตัวแทนประกันวินาศภัยและประกันชีวิตจะทำการรับเบี้ยประกันภัยหรือทำสัญญาในนามบริษัทได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือมอบอำนาจตามแบบที่ทางราชการกำหนดไว้หรือ ถ้าไม่มีหนังสือมอบอำนาจตามแบบที่กำหนด ถ้าได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ไม่เป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอก ข้อสังเกต กรณีรับเบี้ยประกันภัยหรือทำสัญญาประกันภัยเท่านั้นที่กำหนดให้มีแบบหนังสือมอบอำนาจไว้เป็นพิเศษ กรณีตัวแทนประกันภัยทำหน้าที่อื่นๆ เช่น ตัวแทนประกันภัยรับคำเสนอขอเอาประกันภัย เพียงมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าผู้นั้นเป็นตัวแทนก็ใช้ได้แล้ว นอกจากนี้กรณีตัวแทนเชิดตามม.
Read More

ความรู้ของผู้รับประกันภัย หรือบทยกเว้น ม. 865

ความรู้ของผู้รับประกันภัย หรือบทยกเว้น ม. 865 ม. 866 บัญญัติว่า “ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดี หรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์” แม้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ถูกเอาประกันชีวิตจะได้ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงเท็จกับผู้รับประกันภัย แต่ถ้าปรากฏว่าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อเท็จจริงที่ผู้เอาประกันละเว้นไม่แจ้งหรือได้แถลงให้ทราบเป็นเท็จหรือควรจะได้รู้หากใช้ความระมัดระวังดังเช่นวิญญูชน สัญญาเป็นอันสมบูรณ์ การได้รู้ของผู้รับประกันภัยแสดงว่าผู้รับประกันภัยสมัครใจเข้าทำสัญญากับผู้เอาประกันภัย ดังนั้นจะยกเรื่องการไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงเท็จของอีกฝ่ายมาอ้างให้เกิดประโยชน์แก่ตนภายหลังไม่ได้ กฎหมายไม่ยอมให้ยกความไม่รู้เป็นข้อแก้ตัวเพื่ออ้างสัญญาเป็นโมฆียะ ดังนั้นแค่ควรรู้ได้ก็ต้องถือว่าผู้รับประกันภัยได้รู้ด้วย ตัวอย่างเช่น ก. เป็นชาวนาทำสัญญาประกันชีวิตโดยแจ้งรายได้สูงกว่าปกติความจริง เป็นการปกปิดความจริงหรือแถลงเท็จเกี่ยวกับรายได้จากการทำนา แต่กรณีนี้บริษัทประกันชีวิตอาจเปรียบเทียบฐานะของ ก. กับชาวนาคนอื่นๆได้ แต่ไม่ทำและได้สนับสนุนตามที่
Read More

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (4)

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (4) 5. การบอกล้าง ม. 865 วรรคสอง ผู้มีหน้าที่บอกล้างสัญญาประกันภัยที่เป็นโมฆียะได้แก่ ผู้รับประกันภัย โดย ก. ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ข. ถ้าผู้รับประกันภัยไม่ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำ สัญญาประกันภัย สิทธิบอกล้างจะเป็นอันระงับไป การบอกล้างนี้เป็นหน้าที่ของผู้รับประกันภัยที่จะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดดังกล่าว ถ้าไม่บอกล้างสิทธินั้นย่อมระงับไป ทำให้สัญญาประกันภัยที่เป็นโมฆียะเป็นสัญญาที่สมบูรณ์และผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบตามสัญญานั้น หมายเหตุ การบอกล้างสัญญาประกันภัยที่เป็นโมฆียะแตกต่างจากนิติกรรมที่เป็นโมฆียะทั่วไป คือ
Read More

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (3)

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (3) 3. เวลาที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริง คือ ในเวลาทำสัญญาประกันภัย ในทางปฏิบัติเริ่ม ตั้งแต่ตอนที่ผู้เอาประกันภัยทำคำเสนอขอเอาประกันภัยกรอกข้อความต่างๆ ในแบบขอประกันภัย และมีหน้าที่นั้นตลอดไปจนกว่าผู้รับประกันภัยจะได้สนองรับคำเสนอขอเอาประกันภัย เช่น ระหว่างที่ผู้รับประกันภัยจะตอบรับ ผู้เอาประกันภัยถูกส่งให้แพทย์ตรวจสอบร่างกาย ในระหว่างนั้นผู้เอาประกันมีหน้าที่ต้องแจ้งความจริงที่ตนรู้ต่อแพทย์ของผู้รับประกันภัยด้วย ดังนั้นเมื่อทำสัญญาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยย่อมหมดหน้าที่จะต้องเปิดเผยความจริงดังกล่าว แม้จะได้ทราบข้อเท็จจริงภายหลัง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยหรือบอกให้แก่ผู้รับประกันภัย เช่น ทำสัญญาประกันชีวิตแล้ว ต่อมาอีก 3 เดือนทราบว่าตนเป็นโรคมะเร็ง แม้อาการเจ็บป่วยของโรคมะเร็งจะเกิดขึ้นก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตก็ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่ตนเป็นโรคมะเร็งให้ผู้รับประกันทราบ ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงอีกครั้งด้วยเพราะเท่ากับเป็นการทำสัญญาขึ้นมาใหม่อีก 4.
Read More

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (2)

หลักสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย (2) 2. ข้อความที่จะต้องเปิดเผย คือ ข้อความจริงซึ่งถ้าผู้รับประกันภัยได้ทราบจะเป็นเหตุให้ ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้นหรืออาจจะบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัยด้วย เช่น ทำสัญญาประกันอัคคีภัยบ้าน การที่ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่ครอบครองบ้าน หรือวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบ้าน เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องแถลงให้อีกฝ่ายทราบ ซึ่งถ้าผู้รับประกันภัยทราบความจริงอาจจะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือปฏิเสธไม่ยอมรับประกันภัย เหตุนั้นต้องสำคัญถึงขนาดที่จะสามารถจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือปฏิเสธไม่ยอมรับประกันภัย พิจารณาจากความคิดเห็นของวิญญูชนทั่วไป มิใช่มองจากผู้รับประกันภัยหรือผู้เอาประกันภัยฝ่ายเดียว ถาม การปกปิดว่าไม่เคยประกันภัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุกับบริษัทอื่นมาก่อน ถือเป็นข้อสำคัญที่ผู้รับประกันภัยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วยได้หรือไม่ ตอบ ถือเป็นข้อสำคัญที่ผู้รับประกันอาจบอกปัดไม่ทำสัญญาด้วย (ฎ 1769/2521) ถาม การปกปิดว่ารถยนต์ที่เอาประกันภัยเคยถูกชนมาก่อน ซึ่งหากบริษัทประกันภัยรู้ความจริง
Read More