Thinking Tool: Six thinking hats (4)

Thinking Tool: Six thinking hats (4)

ตัวอย่างองค์กรที่มีการนำ Six Thinking Hats ไปใช้
บริษัท ไอบีเอ็ม ที่นำวิธีการ มาใช้ ทำให้สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละ ครั้งได้ถึง 75 % เนื่องจากเกิดการโต้เถียงในที่ประชุมน้อยลง เพราะไม่นำความคิดหลายด้านมาปะปนกัน ทำให้ช่วย ประหยัด เวลาได้มาก และมีองค์กร ขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก นำ Six Thinking Hats ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ พัฒนาองค์กร
นอกจากจะมีการนำไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว หลายประเทศทั่วโลกยังได้นำการคิดแบบ ใบไปใช้ฝึกทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเดน และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประเทศ เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้กำหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกหลักสูตรการ คิดแบบ Six Thinking Hats ก่อนจึงจะเข้าเป็นครูได้
สำหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนจัดตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Center) ตามแนวทางของ เดอ โบโน ขึ้น โดยเปิดอบรม หลักสูตรการคิดแบบหมวก Six Thinking Hats ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นผู้บริหารหรือพนักงานขององค์กร ธุรกิจเอกชนที่สนใจนำทักษะการคิดดังกล่าวไปพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับการนำไปใช้ในโรงเรียน ในประเทศไทย ยังไม่มีโรงเรียนใดนำไปรวมในหลักสูตรการเรียนการสอนโดยตรง แต่ละเป็นในรูปแบบที่ครูซึ่งสนในโดยส่วนตัวนำไป ทดลองใช้กับลูกศิษย์ตนในโรงเรียน
ตัวอย่าง ครูไทยที่ได้นำวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats ไปให้นักเรียนฝึกฝนความคิดตามแนวทางคือ ฝึกฝนความคิดตามแนวทาง นี้คือ อาจารย์ชาตรี สำราญ ครูต้นแบบสาขาภาษาไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2541 แห่งโรงเรียน คุรุชนพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยกิจกรรม มอบหมายงานให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความ จากหนังสือพิมพ์ แล้วมาร่วมกันสรุปความคิดโดยตั้งคำถามแบบหมวก 6 ใบ
สมมุติว่า ตัวอย่างสถานการณ์ข่าวที่นำมาให้ร่วมวิจารณ์คือ “ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ขณะที่นำยาบ้ามาจากเชียงราย เพื่อส่งขายลูกค้าที่กรุงเทพฯ ได้ยาบ้า 25,800 เม็ด” ให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข่าวหรือให้ร่วมอภิปรายโดยใช้การคิดแบบ หมวก 6 ใบ เป็นรูปแบบการแสดงความคิดเห็น
หมวกสีขาว ครูจะช่วยตั้งประเด็น คำถาม มุ่งหาข้อมูลจริงที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้ครูต้องระวังมิให้ข้อคิดเห็นของตน ปะปนเข้าไปในคำถาม ครูอาจถามว่า ข้อมูลหลักๆ ในข่าวมีอะไรบ้าง นักเรียนต้องตอบคำถามตามข้อมูลที่ปรากฏ นักเรียนต้องตอบว่า”ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ได้ยาบ้า 25,800 เม็ด “หากนักเรียนตอบว่า “ตำรวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้ารายใหญ่” หรือ”ได้ยาบ้าจำนวนมหาศาลถึง 25,800 เม็ด” จะเป็นคำ ตอบที่เกินเลยข้อมูลความจริง เพราะบางข้อความที่ปรากฏคือ รายใหญ่ หรือมหาศาล เป็นความคิดเห็นเพิ่มเติมส่วนตัว ไม่มีในเนื้อข่าว ผิดจุดประสงค์ของการติดแบบหมวกสีขาว ซึ่งครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงความ แตกต่างดังกล่าว
หมวกสีแดง นอกจากเหตุผล แล้ว ธรรมชาติของคนยังประกอบด้วยอารมณ์ ความรู้สึก กระทั่งลางสังหรณ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้ยาก อาจกล่าวได้ว่าหมวกสีแดง ตรงกันข้ามกับหมวกสีขาว ขณะที่หมวกสีขาวเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นและไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไรกับข้อมูลเหล่านั้น แต่หมวกสีแดงไม่สนใจข้อมูลจริง แต่สนใจ อารมณ์ความรู้สึกของคนที่มีต่อข้อมูลนั้นๆ ครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความรู้สึกภายในออกมา เพราะอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของกระบวนการคิด แม้คนเราพยายามคิดโดยปราศจาก อารมณ์ หรืออคติ แต่สุดท้ายทางเลือกการตัดสินในที่ได้มักขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนอยู่ มาก ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการคิดแบบหมวกสีแดง ก็เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคน ได้เผยอารมณ์ความรู้สึกของคนต่อเรื่อง นั้นๆ ออกมา ประโยชน์ที่ได้คือเราจะไม่นำความรู้สึกและข้อมูลเหตุผลมาปะปนกันจนเกิดความสับสนในการคิด
ถึงตอนนั้นนักเรียนจะแสดงความคิดในบทบาทสวมหมวกสีแดง ครูอาจถามนำว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อข่าวที่อ่าน เมื่อเด็ก สวมหมวกความคิดสีแดง เด็กอาจใช้ อารมณ์พูดออกมาว่า “พ่อค้าพวกนี้ไม่รู้จักกลัวบาป” “พ่อค้าพวกนี้ใจร้ายฆ่าคนตายทั้ง เป็น ” หรือ “น่าจะยิงเป้าให้รู้แล้วรู้รอด” เมื่อเด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมา แล้ว ครุจะได้สังเกตเห็นและชี้ให้เด็กมอง เห็นว่านี่คืออารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ที่มักมีผลต่อกระบวนการคิดของคนเรา เมื่อเด็กรู้เท่าทันก็จะไม่นำอารมณ์ความรู้สึก ไปปะปนกับข้อมูลความจริงส่วนอื่น
หมวกสีดำ เป็นการพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณ ตั้งข้อสงสัยก่อนจะตัดสินใจเชื่อสิ่งใดลงไป การติดแบบหมวกสีดำเป็นการ ติดที่มีเหตุผลสนับสนุนดำเนินไปอย่าง รอบคอบ และผู้ติดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยครุอาจตั้งคำถามนำ เช่น มีผล ประโยชน์ใดแอบแฝงเบื้องหลังการค้ายาบ้าครั้งนี้หรือไม่ เมื่อได้รับคำถามเหล่านี้ เด็กๆ จะต้องคิดหาเหตุผลมาตอบปัญหา เช่น เด็กอาจตอบว่า ถึงแม้มีข่าวการจับกุมการค้ายาบ้าอยู่เป็นประจำ แต่ยาบ้ายังคงแพร่ระบาดอยู่ทุกหนแห่งในประเทศ ไทย ทั้งนี้เป็นเพราะผู้มีอิทธิพลได้รับผลประโยชน์จากการค้ายาบ้า เป็นต้น
หมวกสีเหลือง เหมือนหมวกสีดำตรงต้องอาศัยเหตุผลมาสนับสนุนความคิด แต่ขณะที่หมวกสีดำเป็นการตั้งข้อสงสัย (เรื่องราวเป็นเช่นนี้จริงหรือมีสิ่งใดแอบแฝงหรือ ไม ่ ) หมวกสีเหลืองจะคิดถึงแง่บวก เต็มไปด้วยความหวัง แต่ความหวังนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลด้วย หรืออาจพูดได้ว่าการคิดแบบหมวกสีเหลือง คือการมองไปข้างหน้า ถามตน เองว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์หรือผลดีอย่างไร ครูอาจตั้งคำถาม เช่น ข่าวนี้สะท้อนปรากฏการณ์ด้านบวกอย่างไรบ้าง หรือควรทำเช่นไร เพื่อคลี่คลายสถานการณ์การค้ายาบ้าในประเทศไทย เมื่อนักเรียนสวมหมวกความคิดสีเหลือง เด็กจะต้องหาเหตุผลด้านบวกมาแสดง เช่นระยะนี้มีข่าวการจับพ่อค้ายาบ้าได้บ่อย ครั้งมากขึ้น เป็นเพราะมีการรณรงค์ให้ หลายฝ่ายร่วมมือกัน และผู้รักษากฎหมายเอาจริงเอาจังมากขึ้นในการปราบปราม ถ้าทุกฝ่ายเอาจริงเอาจังเพิ่มขึ้นอีก โดยคิดถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ปัญหา ยาบ้าก็จะทุเลาเบาบางลงในที่สุด เป็นต้น
หมวกสีเขียว คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่ และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เด็กจะต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิดหรือ มุมมองใหม่ๆ ของตนออกมาหมวกสีเขียว ต่างจากหมวกสีเหลืองและหมวกสีดำตรงข้อเสนอแนะหรือแนวคิดแบบหมวกสีเขียวไม่ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นมา สนับสนุน เป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นสำหรับการสำรวจตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวคิดนั้นต่อไป ครูอาจตั้งคำถาม เข่น อ่านข่าวเกี่ยวกับยาบ้าแล้ว นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะป้องกัน ไม่ให้ชุมชนของเรามีคนเสพย์และขายยาบ้า เด็กๆ ร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไข ที่แปลกแหวกแนวจากความคิดเก่าๆ ที่เคยมีผู้เสนอมา หน้าที่ครูคือต้องกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความคิด ที่แปลกใหม่ เช่น เด็กๆ อาจเสนอความคิดเรื่องการรณรงค์ให้ชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเป็นเขตปลอดยาบ้า โดยทุกบ้านต้องช่วยกัน สอดส่องดูความเคลื่อนไหวของการซื้อขายยาบ้าในชุมชน อย่างจริงจัง ให้กลายเป็นชุมชน “ปลอดยาบ้า” เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ จากนั้นครูแบะนักเรียนจึงถกกันถึงความเป็นไปได้และวิธีการที่จะทำให้เกิด ผลในทางปฏิบัติต่อไป เป็นต้น
หมวกสีฟ้า เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใด หรือเปลี่ยน ไปสวมหมวกสีใด
หมวกสีอื่นๆ จะมุ่งคิดถึงเนื้อหาสาระของข้อมูล แต่เมื่อคิดแบบหมวกสีฟ้า ผู้คิดจะมุ่งสังเกตกระบวนการคิดของตนโดยทั่วๆ ไป การคิดแบบ หมวกสีฟ้าจะควบคุม ประเด็นต่างๆ อาทิเช่น ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืนหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการคิดทบ ทวนหลายรูปแบบ(หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบ หมวกสีแดงมากไปหรือไม่) ครูอาจแนะนำให้นักเรียนตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขากำลังใช้เวลามากเกินกับการโต้เถียงในจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ หรือจนขณะนี้นักเรียนอภิปรายกันถึงแต่ทางเลือกเดียว นักเรียนควรพิจารณากันถึงทางเลือกอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

การคิดแบบหมวก 6 ใบ. 2545. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/develop/News6hat.html
การพัฒนากระบวนการคิด.2006. หน้า 20-22. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://khom-paya.com/think.pdf
จุดประกาย การคิดอย่างเป็นระบบด้วยเทคนิค หมวก 6 สี. (วารสาร). กรุงเทพฯ : สายใยสังคม (12).2549
นวัตกรรมการเรียนรู้. 2543.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.vanessa.ac.th/2548/my_map/brain.htm
Six Thinking Hats. ณิทฐา แสวงทอง 2006. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.stabundamrong.go.th/journal/journal15/155.doc
Six Thinking Hats. 2006. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://en.wikipedia.org/wiki/Six_Thinking_Hats
Six Thinking Hats. 2001. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.nationejobs.com/content/learn/quickcourse/template.asp?conno=4

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *