The HP way ตอน 4
|The HP way ตอน 4 : ช่วงขยายธุรกิจ
ช่วงขยายธุรกิจ
ปลายปี 1939 ธุรกิจของพวกเขาขยายโตขึ้น จนพื้นที่โรงรถไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว
พวกเขาจึงต้องหาพื้นที่ใหม่ พวกเขาจึงเช่า work shop ซึ่งอยู่ห่างจากโรงรถของ Bill เพียง 2 miles และพวกเขาก็สามารถแก้ปัญหาการจัดซื้อส่วนประกอบอุปกรณ์ ซึ่งเดิมทีพวกเขาต้องซื้อจาก Retailer ทำให้พวกเขาซื้อได้ราคาที่สูงกว่าราคาโรงงานถึง 10 เท่า การที่พวกเขาสามารถซื้อส่วนประกอบอุปกรณ์ได้ในราคาโรงงานนั้น เนื่องจากพวกเขาคุ้นเคยกับ Allen Bradley และเขาก็แนะนำให้รู้จัก Bill Purdy ซึ่งได้ขายส่วนประกอบอุปกรณ์ให้กับพวกเขา ในราคา 10% ของราคาที่ Retailer ขาย
ปี 1940
บริษัท ITT ได้รับสัญญาสร้างระบบ Aircraft-landing ซึ่งระบบนี้ต้องการ variable-frequency oscillator และ fixed-frequency oscillator บริษัท General Radio Company ได้รับงานในส่วนของ variable-frequency oscillator ไปก่อนแล้ว แต่ในส่วน fixed-frequency oscillator นั้น บริษัท General Radio Company ไม่รับงานนี้ ดังนั้น พวกเขาจึงรับงานส่วนนี้ ทั้งๆที่ตอนนั้นพวกเขาก็ยังไม่รู้ว่า จะทำงานนี้ได้ดีหรือไม่ แต่รับงานนี้เนื่องจากมันท้าทายความสามารถของพวกเขามาก
เมื่อเริ่มต้นงาน เขาก็พบว่าวิศวกรไม่เพียงพอ เขาเลยต้องจ้างวิศวกรเพิ่มอีก 3 คน ระหว่างที่ทำงานตามคำสั่งของ ITT นั้น บางครั้งพวกเขาก็ไม่มีแม้แต่เงินที่จะจ่ายเงินเดือนพนักงาน ซึ่งพวกเขาก็แก้ปัญหานี้โดยการติดต่อไปที่ Harold Buttner (Bill ได้รู้จัก Harold มาก่อนหน้านี้แล้ว )ให้เขาช่วยจ่าย
ค่าจ้างบางส่วนให้ก่อนอย่างเร่งด่วน (และเมื่อ Harold Buttner เกษียณอายุที่ ITT พวกเขาก็ชักชวน Harold ให้มาเป็น Board ของ HP ในเวลาต่อมา)
และจากการรับงานของ ITT ทำให้เขาพบว่าพวกเขาจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่านี้ ดังนั้นพวกเขาจึงไปขอกู้เงินที่ Bank of America (ซึ่งเป็น Bank ที่ใหญ่ที่สุดใน California) และพวกเขาก็ได้ขอกู้เงิน $500 แต่ก่อนที่ Bank จะยอมให้กู้นั้น Bank ได้ส่งคนมาเฝ้าดูการทำงานของพวกเขาด้วย และก็ไม่ประทับใจกับสิ่งที่เขาได้พบเห็น
ดังนั้น David จึงไปขอกู้ที่ Palo Alto National’s associate Bank (ซึ่งเป็นธนาคารเล็กๆ ใน
ท้องถิ่น) David ได้เล่าถึงความสำเร็จต่างๆ และแผนการขยายธุรกิจให้ทางBank ฟัง เมื่อเล่าจบ
ฝ่ายธนาคารก็ถามอีก 2-3 คำถาม แล้วพวกเขาก็ตกลงเซ็นสัญญากู้ยืมเงิน $500 (แต่บริษัท HP นั้นในหลายๆปีต่อมา ถ้าไม่จำเป็นก็จะไม่กู้เงิน แต่จะอาศัยเงินกำไรที่หามาได้นำมาใช้ลงทุนมากกว่า การที่บริษัท HP ชอบที่จะทำอย่างนี้ เนื่องจากเลียนแบบบริษัท General Radio ที่ไม่ต้องกู้เงิน แต่ก็สามารถบริหารบริษัทไปได้)
ระหว่างปี 1940 บริษัทของพวกเขาก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง พอถึงสิ้นปีพวกเขาก็ต้องจ้างคนเพิ่มรวมทั้งหมดเป็น 10 คน
ปี 1941
เป็นช่วงสงครามโลก บริษัท HP ได้ทำสัญญาสร้างอุปกรณ์ให้กับกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ-อเมริกา แต่การที่พวกเขาได้สัญญาได้นั้น เนื่องจากวิศวกรคนหนึ่งในบริษัทได้สนิทสนมกับหัวหน้าของ Army Signal Corps laboratories พวกเขาจึงได้งานส่วนหนึ่งจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นในปีนี้พวกเขาก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนต้องจ้างคนเพิ่มถึง 200 คนเลยทีเดียว
และการที่บริษัทของเขาโตอย่างรวดเร็ว David จึงได้จ้าง Cap Stuart ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ
กองทัพที่เกษียณอายุแล้ว David จ้างเขาเข้ามาดูแลบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัท
การที่พวกเขารับงานจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา พวกเขาต้องได้รับแรงกดดันอย่างมากเนื่องจาก กองทัพต้องการงานอย่างเร่งด่วน และยังต้องการจำนวนมากอีกด้วย ทำให้พวกเขาต้องทำงานอย่างหนัก
ปี 1943
พวกเขา ก็ได้รับรางวัล army-navy “E” ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลนี้มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นสำหรับ
โรงงานใน California หรือ คิดเป็น 2.5% จากของโรงงานทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา
ในระหว่างสงครามนั้น พวกคนงานต่างทำงานหนัก Bill และ David เห็นด้วยที่จะมีการแบ่งปันส่วนกำไรให้กับพนักงานในรูปของโบนัส และการช่วยเหลือพิเศษแก่พนักงานทุกคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้พวกเขาเรียนรู้จากบริษัท General Radio แต่พวกเขาทำต่างออกไปคือ พวกเขาเสนอผลประโยชน์ให้กับพนักงานทุกๆคน ไม่เลือกให้เฉพาะบางกลุ่มเหมือนบริษัท General Radio แม้เมื่อเลิกสงครามไปแล้ว แผนการให้โบนัส แม้จะเลิกไป แต่แผนการแบ่งปันกำไรนั้นยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพวกเขามองว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนที่ส่งเสริม Teamwork และเป็นส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างความทุ่มเทของพนักงาน กับความสำเร็จของบริษัท
หลังสงครามโลกบริษัทส่วนใหญ่ ต้องปลดพนักงานออก ให้เหลือไว้แต่คนที่สำคัญเท่านั้น รวมถึงบริษัท HP ด้วย แต่ HP จะต่างกับบริษัทอื่นๆตรงที่ HP จะมองหา วิศวกร ที่เก่งๆจากหลายแห่ง และติดต่อพวกเขาเข้ามาร่วมกับ HP เพื่อทำการพัฒนาสินค้าใหม่ๆให้กับบริษัทในระยะยาว ซึ่งตรงจุดนี้เป็นจุดที่พวกเขามองเอาไว้ เนื่องจากทั้ง Bill และ David มีความตั้งใจที่จะให้บริษัทที่ตั้งเป็นบริษัทที่คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่บริษัทที่คอยเลียบแบบบริษัทอื่น ดังนั้นเขาจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ