The HP way ตอน 3

The HP way ตอน 3 : ช่วงก่อตั้งธุรกิจ

การก่อตั้งธุรกิจ

ปี 1937

August 23 ,1937  เป็นวันที่ David กับ Bill นัดพบกัน และพวกเขาก็ได้พูดถึง Plan ที่จะทำธุรกิจของพวกเขาที่เคยพูดกันไว้ตอนที่ยังเรียนไม่จบ

 

ปี 1938

Terman คิดถึง David กับ Bill  และเขาก็ได้เตรียมตำแหน่งผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยใน Stanford ให้กับ David ซึ่ง David จะต้องทำงานวิจัยกับ Russ Varian ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์ ของ Stanford และงานที่พวกเขาจะต้องทำ คือ การ modify a vacuum tube to operate at higher frequencies. และงานนี้ทำให้ David ลาออกจาก GE. 

และ Terman ก็ได้ให้ David  ใช้ห้อง Lab ที่ Charlie Litton’s place ,Litton Engineering Laboratories , in Redwood City .

ต่อมา Bill กับ David ก็เริ่มธุรกิจPart-time ด้วยเงิน $538 โดยการทำงานนั้นจะใช้โรงรถของ Bill เป็นที่ทำงาน  และในช่วงเวลานั้นพวกเขาก็ยังติดต่อกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ Stanford สม่ำเสมอ

สำหรับ David นั้นในช่วงเช้าเขาจะต้องทำงานกับ Bill และต้องไปเรียนที่ Stanford ด้วย และในตอนเย็นก็จะต้องไปทำงานกับ Charlie Litton จนถึงตี 2 –ตี 3 ทุกวัน  และจากประสบการณ์การทำงานที่ GE ของ David นี่เอง  ทำให้พวกเขาสามารถสร้าง vacuum-tube models ที่ใช้ทดสอบทฤษฎีของ Russ Varian ได้สำเร็จ  และในตอนนั้นความสัมพันธ์ระหว่าง David กับ Charlie ก็พัฒนากันจนมั่นคงเสียแล้ว

สำหรับ Bill นั้น ร่วมมือกับ นายแพทย์คนหนึ่งใน San Francisco เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์

 

ที่มาของรายได้ระยะเริ่มแรก

ในช่วงเริ่มต้นรายได้ของพวกเขามาจากการรับจ้างประดิษฐ์ เช่น

–  การออกแบบและสร้าง variable-frequency motor ให้กับ Lick Observatory

                        –  การประดิษฐ์ signaling device เพื่อใช้กับ foul-line roll

                        –  การประดิษฐ์ controller ซึ่งจะทำให้ telescope track ได้ถูกต้อง

                        –  และงานอื่นๆอีก ซึ่งพวกเขาจะเลือกรับงานเฉพาะงานที่ตัวเองมีความชำนาญ

แต่ว่ารายได้ช่วงนี้มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในปี 1939 พวกเขาเลยมีความคิดว่า  ถ้าพวกเขามีเครื่องมือครบครัน  ก็จะทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายขึ้น ดังนั้นพวกเขาเลยเซ็นต์สัญญาก่อตั้งเป็นหุ้นส่วนกันอย่างไม่เป็นทางการขึ้น โดย Bill ได้เป็นผู้ลงเงินเพื่อทำการซื้อส่วนประกอบอื่นๆ และเครื่องมือต่างๆ และพวกเขาก็ปั่นหัวก้อย เพื่อเลือกว่าจะใช้ชื่อของใครขึ้นต้นก่อน ในครั้งนั้น Bill ชนะ   ดังนั้นบริษัทจึงตั้งชื่อว่า Hewlett-Packard

 

Product ชิ้นแรกของ HP

คือ Audio oscillator  ซึ่ง Idea ในการผลิต Product ชิ้นนี้นั้น เป็นการพัฒนาต่อจาก ตอนเรียนวิชาของ Terman โดยในตอนนั้น Bill กับ Terman   ได้ทุ่มเทพัฒนา resistance-stabilized audio oscillator  โดยอาศัยความรู้ เรื่อง negative feedback  ของ Harold Black  (Harold Black เป็น
นักวิทยาศาสตร์ของ Bell Lab) .

เมื่อ Bill สร้าง Audio oscillator  สำเร็จ ในปี 1938  Terman จึงได้เชิญ Mr. Harold Buttner 
ซึ่งเป็น วิศวกรที่จบจาก Stanford และ ตอนนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัท International Telephone and Telegraph (ITT) เมื่อ Harold ได้เห็นการทำงานของ Audio oscillator ของ Bill ก็ประทับใจ จึงได้ยื่นข้อเสนอ ขอได้สิทธิในการใช้ สิทธิบัตรสำหรับ Audio oscillator ในต่างประเทศ และจะช่วยเหลือให้ Bill ได้รับสิทธิบัตรใน USA. พร้อมทั้งมอบเงินให้ Bill อีก $500

ในเดือน พฤศจิกายน ของปี 1938  Bill และ David ก็ได้สร้าง Audio oscillator  Model 200A  แล้วก็นำไปแสดงที่การประชุมสมาคมวิศวกรวิทยุ และก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี

พวกเขาจึงตัดสินใจผลิต Audio oscillator  Model 200A เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของบริษัท และ Terman ก็ได้ช่วยส่งจดหมายไปถึงบุคคลที่น่าจะเป็นลูกค้าของพวกเขา 25 คน โดยที่พวกเขาตั้งใจว่าจะตั้งราคาขายที่ $54.40 และเมื่อพวกเขาผลิตจริง พวกเขาไม่สามารถผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ แต่โชคยังดีที่
คู่แข่งขายในราคา $400 ดังนั้นแม้พวกเราจะขายในราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถูกกว่าคู่แข่งอยู่ดี

ปี 1939

ในการส่งจดหมายไปนั้น พวกเขาไม่ได้คาดหวังจะได้รับคำสั่งซื้อ แต่ในเดือนมกราคม ปี 1939 พวกเขาก็พบกับความประหลาดใจที่มีคนส่งเช็คมาพร้อมทั้งสั่งสินค้าจำนวนหนึ่ง เมื่อพวกเขาลงมือผลิตจริง พวกเขาก็ไม่สามารถผลิตได้ตามที่ลูกค้าต้องการได้ หากใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในโรงรถ ดังนั้นเขาจึงไปขอใช้เครื่องมือของ Charlie เพื่อทำการหล่อ  และขอใช้เครื่องมือเจาะเพื่อทำการสลักชื่อบริษัทผู้สั่งทำลงในสินค้า ซึ่ง Charlie ก็ยังได้สอนกลเม็ดในการใช้เครื่องมือเจาะให้ด้วย  เมื่อเจาะเรียบร้อยแล้ว พวกเขาทำการตกแต่งด้วยการพ่นสี และใช้เตาอบที่บ้านทำการอบให้สีแห้ง

พวกเขาได้เล่าว่า “ในช่วงเวลานั้น หากพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก Charlie พวกเขาคงลำบากมาก เนื่องจากในตอนนั้น พวกเขาไม่มีเวลาและไม่มีเงิน”

และพวกเขาก็ได้รับคำสั่งซื้ออีก จาก Hawkins ซึ่งเขาทำงานที่ Walt Disney ในตำแหน่งหัวหน้าวิศวกรแผนก Studio  เดิมที Hawkins ได้วางแผนที่จะซื้อ Audio oscillator จาก General Radio Company ในราคา $400 แต่เมื่อได้เห็นการสาธิต Audio oscillator ของ Bill ที่การประชุมสมาคมวิศวกรวิทยุ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1938  Bill ก็ได้บอกเขาว่า ราคา Audio oscillator ของเขา ราคาต่ำกว่า $100 ดังนั้น ต่อมา Hawkins จึงได้ตัดสินใจซื้อ Audio oscillator จากพวกเขา  เนื่องจาก Bill ได้พัฒนา Audio oscillator Model 200B และเขาสั่งซื้อ Audio oscillator จำนวน 8 เครื่อง  ที่ราคาเครื่องละ  $ 71.50  พวกเขาเล่าว่า หากไม่ได้ยอดสั่งซื้อจาก Walt Disney พวกเขาอาจต้องออกจากธุรกิจนี้ก็ได้

แต่บุคคลที่มีผลต่อความสำเร็จของ Hewlett – Packard คือ Norm Neely ซึ่งเขาเป็นเจ้าของ
โรงงานผลิต handling radio , recording และ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ  ซึ่งเขาก็เป็นคนหนึ่งที่รู้เรื่องการประดิษฐ์ของ Bill และได้เชิญ Bill ไปพูดที่ Radio Engineers Club ที่ Los Angeles. และต่อมาเขาก็ได้ทำการค้ากับ พวกเขา ยาวนานต่อมา ถึง 15 ปี และในครั้งนั้น เขาก็ได้แนะนำ Bill ว่า การที่เขามี
ผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียวนั้น มันยากที่จะทำให้เขาประสบความสำเร็จ ดังนั้น Bill จึงตัดสินใจที่จะทำงานเต็มเวลา และทำการพัฒนาเครื่องมือที่เกี่ยวกับ audio oscillator อย่างครบวงจร ซึ่งเป็นผลให้ Bill ต้องเป็นคู่แข่งกับ General Radio Company โดยตรง

สิ้นสุดปี 1939 พวกเขาก็ทำรายได้ทั้งปีเท่ากับ $5,369 และมีกำไร $1,563

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *