Tag: MICHAEL DELL
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 6 ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2537 เดลล์เปิดตัว www.dell.com ซึ่งบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องพีซีและที่อยู่อีเมล์ที่เกี่ยวข้องสำหรับให้การสนับสนุนลูกค้า และมุ่งตรงไปที่ผู้ใช้รายใหญ่ที่ชอบความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังบริการลูกค้าให้สามารถสั่งประกอบได้ตามที่ต้องการด้วย ทฤษฎีพื้นฐานของเดลล์คือ อินเทอร์เน็ตกำลังจะเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมไปจนหมด เนื่องจากทำให้เข้าถึงลูกค้าแบบตัวต่อตัวได้ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าเดิมมาก วิธีการสั่งของแบบตัวต่อตัวที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต ทำให้เดลล์เพิ่มยอดขายได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน และพนักงานขายสามารถใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่มีค่าอื่น ๆ ได้ ระบบส่งตรงทำให้เดลล์อยู่ในฐานะได้เปรียบ และยิ่งได้เปรียบมากขึ้นเมื่อมีการซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการขาย
Read More
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 5 เติบโตอย่างมั่นคง เติบโตอย่างมั่นคง ในช่วงต้นปี 2533 เดลล์มีวิธีแนะนำสินค้าออกสู่ตลาดมากมายหลายวิธีซึ่งวิธีเหล่านี้ใช้ได้ดีขณะที่บริษัทยังเล็กอยู่ แต่เมื่อบริษัทใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น เดลล์จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนมาตรฐานสำหรับใช้ในการนำสินค้าออกสู่ตลาด ดังนั้นเดลล์จึงจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการพัฒนาสินค้าสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่มาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างขั้นตอนเฉพาะที่เหมาะสมกับเดลล์มากที่สุด กระบวนการแบบใหม่จะทำให้เกิดการใช้ภาษาและข้อตกลงแบบเดียวกันทั้งองค์กรเกี่ยวกับว่า จะพัฒนาสินค้าและแนะนำออกสู่ตลาดได้อย่างไร นอกจากนี้เดลล์ยังนำระบบการรายงานแบบคู่และการบริหารงานแบบเมตริกซ์มาใช้ ซึ่งเป็นระบบที่มีทั้งการกำกับ ตรวจสอบ และรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้ต้องมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดการแบ่งปันความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันไปทั่วทั้งบริษัทอีกด้วย โดยทั่วไปบริษัทต่าง ๆ
Read More
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 4 มองหาจุดยืน เหมือนกับบริษัทอื่น ๆ เดลล์ให้ความสนใจตัวเลขบัญชีกำไรและขาดทุนเป็นพิเศษ แต่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องกระแสเงินสดมากนัก นอกจากนี้เดลล์ยังไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจของธุรกิจนี้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ประกอบกับไม่มีระบบตรวจสอบที่ดีพอ ทำให้ใช้เงินสดไปมากขณะที่กำไรเริ่มลดน้อยลง สินค้าสำเร็จรูปและยอดลูกหนี้ก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน อย่างไรก็ตามไมเคิลไม่ปฏิเสธความจริงว่ามีปัญหา ทำให้มองเห็นต้นตอของปัญหาได้ชัดเจนและหาทางแก้ไขโดยเร็วเหมือนกับการจัดการกับโครงการโอลิมปิกและปัญหาอื่น ๆ ที่ผ่านมา เดลล์คุ้นเคยกับการทำงานภายใต้สันนิษฐานว่า บริษัทต้องเติบโตเร็วกว่าการเติบโตของตลาด และต้องทำกำไรให้ได้ 5% อย่างสม่ำเสมอ มาถึงตอนนี้เดลล์เริ่มรู้แล้วว่าลำดับความสำคัญได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยต้องทำให้การเติบโตช้าลงแต่สม่ำเสมอและมีเงินสดเหลือตลอดเวลาแทน
Read More
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 3 เรียนรู้ด้วยความยากลำบาก เรียนรู้ด้วยความยากลำบาก ปัญหาแรกที่เดลล์ต้องเผชิญในปี 2532 คือ การมีชิ้นส่วนที่เป็นวัตถุดิบมากเกินไป เนื่องจากเดลล์ชอบซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มาเก็บไว้ในคลังสินค้า เพื่อรับมือกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แทนที่จะซื้อเท่าที่ต้องการ เมื่อมีของล้นคลัง สิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือการโละออกไปให้หมดแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม ทำให้รายได้ในไตรมาสที่หนึ่งเหลือเพียง 1% ต่อหุ้นเท่านั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้เดลล์จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารสต๊อกชิ้นส่วนเป็นอันดับแรกจากที่เคยให้เป็นอันดับท้าย และหาทางสร้างระบบการสื่อสารแบบใหม่ที่รวดเร็วและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ วิกฤตครั้งต่อไปถือเป็นความผิดพลาดเนื่องจากให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากเกินไป
Read More
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 2 ช่วงก่อตั้งธุรกิจ การก่อตั้งธุรกิจ กำเนิดการส่งตรง 2 มกราคม 2527 ไมเคิลจดทะเบียนบริษัทด้วยชื่อ PC Limited ซึ่งสามารถขายได้ประมาณ 50,000-80,000 ดอลลาร์ต่อเดือนจากการขายให้คนในท้องที่ใกล้ ๆ และในปลายปีนั้นเองเขาก็จดทะเบียนบริษัทใหม่ชื่อ เดลล์ คอมพิวเตอร์ ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 ดอลลาร์ ซึ่งต่อมาในเดือนพฤษภาคมไมเคิลก็ได้ลาออกจากการเรียนเมื่อเรียนจบชั้นปีที่
Read More
Entreprenuership
ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 1 วัยเด็ก วัยเด็ก ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 3 ไมเคิลก็เริ่มมองหาประกาศนียบัตรรับรองการจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ซึ่งถ้ามีทางไหนที่จะทำให้เขาเรียนสำเร็จได้ด้วยความรวดเร็วและไม่ยากเกินไปแล้ว เขาก็พร้อมที่จะทดลอง และการแลกเปลี่ยนเวลากว่า 9 ปี ไปกับข้อสอบง่าย ๆ เพียงชุดเดียวทำให้เขาเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อตอนที่ไมเคิลอายุประมาณ 12 ปี เขาได้รับบทเรียนสำคัญบทแรกที่ทำให้เขามองเห็นประโยชน์จากการส่งตรงแบบไม่ผ่านคนกลาง โดยเปลี่ยนความสุขจากการสะสมแสตมป์ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “โอกาสทางการค้า” เขาเล็งเห็นว่านักจัดประมูลทำการประมูลก็เพื่อหวังค่าธรรมเนียม
Read More