Tag: hand foot and mouth disease
โรค มือ/เท้า/ปาก
โรค ” มือ-เท้า-และ-ปาก ” (Hand-Foot-and-Mouth Diease) นั้น จัดเป็นโรคใหม่ แต่ได้ยินกันคุ้นหูมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการระบาดที่สิงคโปร์ ส่วนในประเทศไทย ก็พบผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคนี้อยู่เสมอ ที่ว่าเป็นโรคใหม่ก็เพราะเพิ่งมีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ.2500 โดยพบการระบาดในแคนาดา อีก 2 ปีต่อมาก็มีการระบาดในอังกฤษ จึงได้ตั้งชื่อโรค ” มือ-เท้า-และ-ปาก ” ตามตำแหน่งที่พบรอยโรค โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส coxsackievirus A16 หรือ enterovirus
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
“โรคมือเท้าปาก” มาอีกแล้ว ล่าสุด ร.ร.ประชานิเวศน์ 3 ราย .: ASTV พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีที่ได้รับรายงานว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ปี 1 โรงเรียนประชานิเวศน์ สังกัดกทม. จำนวน 3 คนป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากโดยพบเป็นตุ่มใสที่มือ และในกระพุ้งแก้ม แต่มีอาการไม่มากว่า ตนได้สั่งการให้โรงเรียนทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ แต่ไม่ต้องประกาศปิดโรงเรียน ส่วนมาตรการป้องกันการระบาดได้สั่งการให้ทุกโรงเรียนในสังกัดกทม.ทำความ สะอาด เช่นเดียวกับการทำความสะอาดปีที่แล้วที่มีไข้หวัดใหญ่ 2009
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
โรคมือเท้าปาก ในอนุบาลจุฑาภรณ์ สุขุมวิท31 เคยโพสเข้ามาถามแล้วค่ะว่ามีเด็กใน รร.ลูกเป็นโรคมือเท้าปาก แต่ทางโรงเรียนก็ไม่สั่งปิดโรงเรียน อ้างว่าทางโรงเรียนทำความสะอาดเต็มที่ สะอาดสุดๆแล้ว มีเพื่อนๆใจดีแนะนำให้โทรแจ้งสาธารณสุขค่ะ ก็เลยโทรไป 1133 เค้าให้เบอร์มา พอโทรไปเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ได้อยู่ในเขตนี้ คือสุขุมวิท แล้วก็ให้เบอร์โทรมาใหม่ โทรไป ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสายค่ะ เป็นเบอร์สาธารณสุข ศูนย์ 10 ทีนี้ก็เลยไม่รู้ว่าจะโทรแจ้งทางไหนดี ตั้งแต่วันแรกที่ได้ยินว่ามีเด็กเป็น (คนละห้องกับลูก) จนเพื่อนของลูกก็ติด จนถึงวันนี้ก็ประมาณ 3 สัปดาห์ได้แล้ว ก็ยังได้ยินว่ามีเด็กเพิ่งเริ่มเป็นอีกหลายคน
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
เตือนโรคมือเท้าปากเด็ก2-5 ปีติดเชื้อนับพัน เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2552 นายพินิจ จารุสมบัติ รมว.สาธารณสุข ได้สั่งการให้นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เฝ้าระวังโรคมือเท้าปากอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ และสั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งซักประวัติ ตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียด เนื่องจากเด็กจะมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก หากติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตได้ ต้องให้วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การรักษาทันที และหากเกิดโรคต้องควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด นายพินิจกล่าวต่อว่า กระทรวงมีระบบการเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องมาตลอด การป้องกันที่ดีที่สุด ให้ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว ของเล่น แก้วน้ำ รวมทั้งห้ามใช้หลอดดูดน้ำร่วมกัน
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
โรคมือเท้าปากระบาดอุตรดิตถ์ปีนี้เพิ่มกว่า 10 เท่า วันที่ 2010-01-27 11:01:17 โดย MCOT – ภูมิภาค โรคมือเท้าปากระบาดอุตรดิตถ์ปีนี้เพิ่มกว่า 10 เท่า อุตรดิตถ์ 27 ม.ค. – สสจ.อุตรดิตถ์ ห่วงโรคมือเท้าปากระบาดสูง นำทีมคุมเข้มตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หลังพบแค่เพียงต้นปีมีเด็กป่วยแล้ว 11 ราย สูงกว่าปีก่อนกว่า 10 เท่า และยังมีทารกวัย 7
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
สธ.เตือน”โรคมือเท้าปากระบาด” พบเด็กป่วยเกือบ 5 พันราย สธ.เตือนมือ เท้า ปาก ระบาดช่วงฤดูผน แนะสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล เฝ้าระวังเข้ม เผยรอบ 8 เดือนแรกปีนี้ พบป่วยเกือบ 5,000 ราย 92% เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิต 3 ราย แนะหากพบเด็กมีไข้ มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในปาก
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
ความแตกต่างระหว่างโรคมือปากเท้าเปื่อยในคน(Hand Foot and Mouth Disease) กับ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ (Foot and Mouth Disease) พยนต์ สินสุวงค์วัฒน์ , สุวรรณี ท้วมแสง บทนำ โรค มือ ปาก เท้า เปื่อย (HFMD) และโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล (family) Picornaviridae
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
โรคมือเท้าปากในประเทศเกาหลีใต้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552 กระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้แถลงว่า แพทย์วินิจฉัยพบว่า ทารกเกาหลีใต้รายหนึ่ง อายุ 12 เดือน มีอาการสมองตายหลังจากติดเชื้อโรคมือเท้าปาก โดยสมองไม่ทำงานหลังถูกส่งไปยังห้องไอซูยี โดยก่อนหน้านี้ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลหลังเกิดอาการอาเจียน มีไข้ และมีผื่นขึ้นตามมือ รายงานระบุว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสอีวี 71 ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการโรคร้ายแรงจากสภาพมีไข้ขึ้นสูง เป็นอัมพาต และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นับเป็นเด็กเกาหลีใต้รายที่สองที่เสียชีวิตเพราะโรคมือเท้าปากจากเชื้อไวรัสอีวี 71 โดยรายก่อนหน้าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.
Read More
โรค มือ/เท้า/ปาก
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง การแพร่ติดต่อของโรค การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า อาการของโรค
Read More