Tag: GEORGE SOROS

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 14 (จบ)

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 14 บทสรุปของจอร์จ โซรอส จอร์จ โซรอส ชายผู้ทำให้ธนาคารแห่งชาติอังกฤษล้ม ทุบค่าเงินปอนด์ นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ วลีนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง? หลายคนมองเขาด้วยความทึ่ง เมื่อเทียบกับคนระดับเดียวกันแล้วเขาเด่นกว่าใครด้วยทรัพยากรที่เขามีคือ สติปัญญาระดับคอมพิวเตอร์ และพรสวรรค์ในการวิเคราะห์ แต่ในอีกมุมหนึ่ง หลายคนคิดว่าเขาไม่ได้ทำอะไรนอกจากหาเงิน ไม่สร้างสรรค์ ไม่ช่วยเหลือ และอีกหลายคนที่มองเขาอย่างเคลือบแคลงระแวงสงสัยว่า วิธีการหาเงินจำนวนมหาศาลของโซรอสมีเพียงแค่อ่านรายงานบริษัท พูดคุยกันคนนั้นคนนี้ อ่านหนังสือพิมพ์ แล้วก็คาดการณ์ไปเรื่อย
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 13

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 13 วันพุธทมิฬ ยุทธการครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้ชื่อเสียงของโซรอสขจรขจายในฐานะนักเก็งกำไรที่น่าพรั่นพรึงที่สุดคือ การเก็งกำไรจำนวนมหาศาลจากค่าเงินปอนด์เมื่อเดือนกันยายน 1992 โซรอสได้ท้าทายสถาบันหลักสองสถาบันของอังกฤษ หนึ่งคือ เงินปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสกุลเงินที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลก สองคือ ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ กลไลกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน หรือ อีอาร์เอ็ม ซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1979 โดยจุดประสงค์เพื่อการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนและนำไปสู่การสร้างระบบเงินสกุลเดียวของยุโรปในที่สุด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของยุโรปเข้มแข็งและลดอำนาจของบรรดานักเก็งกำไรค่าเงินลงได้ แต่โซรอสทำนายว่าอีอาร์เอ็มไม่อาจจะคงอำนาจอยู่ต่อไปได้ ตราบใดที่อัตราแลกเปลี่ยนยังต่างกัน นักเก็งกำไรรวมทั้งโซรอสก็พร้อมเสมอที่จะเข้าไปหากำไรกับสกุลเงินที่อ่อนตัว และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับอังกฤษในปี 1992
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 12

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 12 ทายาทคนล่าสุด กลางทศวรรษ 1980 ควันตั้มฟันด์มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์ โซรอสกำลังจะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา ถึงตอนนี้เขาพอที่จะรามือจากกองทุนได้บ้างแล้ว โซรอสหันมาทุ่มเทเวลากับการพัฒนายุโรปตะวันออกและโซเวียตเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้เวลากับควันตั้มฟันด์น้อยลง ฤดูใปไม้ร่วง ปี 1988 โซรอสตั้งใจว่าจะหาใครสักคนมารับช่วงการบริหารกองทุน รวมทั้งอำนาจตัดสินใจในการลงทุนทั้งหมดแทน การเฟ้นหาบุคคลดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย และนับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิตของเขา บุคคลที่โซรอสเลือกคือ สแตนเลย์ ดรัคเคนมิลเลอร์ ซึ่งในที่สุดโซรอสก็รับดรัคเคนมิลเลอร์เข้าร่วมงานในเดือนกันยายน
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 11

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 11 การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ตลาดกระทิงดุหรือบูลมาร์เก็ตในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ทำให้นักลงทุนพากันร่ำรวยมหาศาล แต่แน่นอนไม่มีใครเกินจอร์จ โซรอส ในปี 1986 ควันตั้มฟันด์มีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 42.1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์ เฉพาะส่วนของโซรอสเอง 200 ล้านดอลลาร์ รวมแล้วในช่วงปี 1985 ถึง 1986
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 10

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 10 เมื่อโซรอสตกเป็นข่าว เมื่อครั้งที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ จอร์จ โซรอส คิดว่า ชื่อเสียงเป็นสิ่งไม่ดีอันจะนำมาซึ่งความตกต่ำของอาชีพ เพราะชื่อเสียงหมายถึงการเป็นที่รู้จัก หมายถึงโทรศัพท์จากสื่อมวลชน และหมายถึงการหมดความสุขจากความเป็นส่วนตัว ชื่อเสียงถือว่าเป็นเครื่องประหัตถ์ประหารอาชีพนักลงทุนให้ดับสูญ แม้จะเคยเป็นข่าวมาบ้างในหน้าหนังสือต่าง ๆ แต่ทันทีที่ได้ขึ้นปกนิตยสาร อินสติติวชั่นแนล อินเวสเตอร์ ในเดือนมิถุนายน 1981 จอร์จ โซรอส ก็กลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนในวงกว้างไปโดยปริยาย
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 9

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 9 งานการกุศลของยอดนักเก็งกำไร ในช่วงแรกของการทำงานของเขา งานการกุศลยังเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากความคิดของ จอร์จ โซรอสมาก ต่อมาเขาก็ตระหนักได้ว่า เหตุการณ์ที่เปรียบเหมือนกับเส้นแบ่งเขตชีวิตของเขา ได้แก่เหตุการณ์ที่เขาหนีจาก “สังคมปิด” ที่เข้าครอบงำฮังการี ประเทศบ้านเกิดของตน นับแต่จากบ้านมา เขาได้ลิ้มรสชาติแห่งอิสรภาพ ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษและต่อมาที่สหรัฐอเมริกา เพราะฉะนั้นทำไมไม่ลองให้คนอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตมีโอกาสได้สัมผัสบ้าง? โซรอสจึงตัดสินใจว่า เขาจะใช้อำนาจทางการเงินของตนในการส่งเสริมสังคมเปิด ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถมีความเป็นอิสระ สามารถพูดถึงความคิดและดำเนินรอยตามความประสงค์ส่วนตนได้โดยอิสระ
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 8

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 8 การทำกำไรสูงสุดครั้งหนึ่งในชีวิต ในเดือนธันวาคม ปี 1984 เขาพุ่งความสนใจไปที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะประกาศใช้นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โซรอสเข้าใจว่า นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษขณะนั้น ต้องการให้ประชาชนอังกฤษแต่ละคนเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทอังกฤษ และวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือ ต้องทำให้ราคาหุ้นต่ำกว่าความเป็นจริง โซรอสขอให้ราฟาเอลติดตามบริษัท จากัวร์ และบริติซ เทเลคอม จากการศึกษาของราฟาเอลเกี่ยวกับจากัวร์ ทำให้เขามั่นใจว่าบริษัทกำลังดำเนินงานไปด้วยดีทีเดียว จากหุ้นราคา 160
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 7

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 7 วิกฤตของโซรอส ขณะที่กองทุนโซรอสดำเนินไปอย่างดีเลิศ จอร์จ โซรอส ดูเหมือนจะกำลังประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ในปี 1977 ชีวิตสมรสของเขาเริ่มแตกสลาย หนึ่งปีต่อมาเขาก็แยกทางกับภรรยา ในช่วงแรก ๆ เขาคบกับหญิงสาววัย 22 นามว่า ซูซาน เวเบอร์ ซึ่งเขาเคยพบปะในงานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นซูซานและเขาก็ได้สมรสกันในอีกห้าปีต่อมา ปี 1980 ถือเป็นปีแห่งความสำเร็จมากที่สุด
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 6

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 6 การก้าวกระโดดของกองทุนควันตั้ม หนึ่งในเกมที่โซรอสโปรดปรานมากที่สุดคือ การถือหุ้นหรือหลักทรัพย์แบบชอร์ต เซล (short sale) บทบาทของโซรอสต่อหุ้นเอวอน นับเป็นตัวอย่างที่คลาสสิคอย่างหนึ่งของการสร้างกำไรจากการทำชอร์ต เซล โดยโซรอสได้ขอยืมหุ้นจำนวน 10,000 หุ้นในราคาตลาดคือ 120 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังจากนั้นราคาหุ้นทรุดตัวลง สองปีต่อมา โซรอสจึงซื้อหุ้นคืนแต่ในราคาเพียง 20 ดอลลาร์ต่อหุ้น และส่งผลให้กองทุนของเขามีรายได้ถึง 1
Read More

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 5

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 5 เริ่มตั้งกองทุนของตนเอง ในปลายทศวรรษ 1980 จอร์จ โซรอส ได้เข้าสู่โลกการเงินที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างบทบาทความเป็นผู้นำในบริษัทมากขึ้น โซรอสจึงชักจูงเจ้านายของเขาที่อาร์นโฮลด์ แอนด์ เอส เบลคชโรเดอร์ ให้ตั้งกองทุนต่างประเทศขึ้นมาสองกองทุน เพื่อให้เขาได้เป็นผู้ดูแลกองทุนดังกล่าว กองทุนแรก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เฟิร์สต์ อีเกิ้ล ฟันด์ ตั้งขึ้นในปี 1967 และเป็นที่รู้จักกันในแวดลงวอลล์สตรีตว่า
Read More