Tag: วัฒนธรรม

AEC : ‘วิษณุ’แนะรู้วัฒนธรรม9ปท.สู่อาเซียน

AEC : ‘วิษณุ’แนะรู้วัฒนธรรม9ปท.สู่อาเซียน “ดร.วิษณุ เครืองาม” แนะแนวทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นับถอยหลังสู่ประชาคมอาเซียน ชี้ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วัฒนธรรมอีก 9 ประเทศ เตือนนักศึกษาไม่เตรียมตัวให้พร้อมระวังพลาดโอกาสทอง 6ต.ค.2555 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวในขณะที่เดินทางมาบรรยายพิเศษเรื่องการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ทุกคนต้องเตรียมตัวได้แล้ว โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย เนื่องจากอาชีพต่างๆ เริ่มต้นและมีผลผลิตมาจากมหาวิทยาลัย การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Read More

เถ้าแก่ใหม่ วัฒนธรรมเก่า

เถ้าแก่ใหม่ วัฒนธรรมเก่า วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเมื่อองค์กรผลัดใบ ได้เวลาเถ้าแก่เลือดใหม่มาบริหารงานกันต่อ จากการสำรวจผู้นำรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มารับภาระหน้าที่บริหารองค์กรต่อจากคนรุ่นก่อนหน้า พบว่ามีปัญหาในช่วงรอยต่อคล้ายกันๆ ประการหนึ่ง นั่นคือ หงุดหงิดใจกับพนักงานที่ทำงานยึดติดกับการทำงานในรูปแบบเดิมๆ รวมถึงมีพฤติกรรมบางประการที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาองค์กร หรือขัดกับทิศทางธุรกิจที่จะมุ่งไป อาทิ เงียบรอรับคำสั่งอย่างเดียว ไม่คิดริเริ่มในการปรับปรุงงาน ไม่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง แบ่งพรรคแบ่งพวก ซึ่งเป็นไปได้สูงว่ายึดติดกับรูปแบบและวิธีการบริหารของเถ้าแก่รุ่นเก่า และเป็นไปได้อีกเช่นกันที่อาจเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีที่ผ่านการเพาะบ่มจากกาลเวลา โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไขกระทั่งกลายเป็นสนิมร้าย ที่โคลงโลกนิติว่าไว้ว่า สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน นั้นอธิบายได้เห็นภาพเลยทีเดียว หากวิเคราะห์ประเด็นให้ดี จะพบว่าปัญหานี้คือ “เปลี่ยนผู้นำแต่วัฒนธรรมองค์กรยังคงเดิม” เปรียบเสมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่
Read More

วัฒนธรรมกระแดะ

วัฒนธรรมกระแดะ นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1492 เขาว่ากันว่า คนกลุ่มเดียวที่ไม่พอใจสถานภาพของตัวที่สุดคือคนชั้นกลาง ในขณะที่คนชั้นสูงพอใจที่เป็นคนชั้นสูงและอยากให้ลูกหลานได้เป็นคนชั้นสูงชั่วฟ้าดินสลาย ชาวนาไม่รู้หรือไม่สามารถเป็นอะไรอื่นได้ ก็ต้องรักษาความเป็นชาวนาของตัวไว้ และต้องส่งต่อให้ลูกหลานอย่างไม่มีทางเลือก แต่คนชั้นกลางอยากไต่เต้าให้สูงขึ้นไป จนกลายเป็นคนชั้นสูง พวกเขาจึงเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่อยากเป็นอย่างที่เขาเป็น ด้วยเหตุดังนั้นวัฒนธรรมของคนชั้นกลางในทุกสังคมจึงเป็นวัฒนธรรมกระแดะเสมอ กระแดะเป็นอะไรที่ตัวไม่ได้เป็น กระแดะใช้ชีวิตที่ไม่เข้ากับชีวิตจริงของตัว… ขอยกตัวอย่างสักเรื่อง เมื่อผมเป็นเด็ก บ้านคนชั้นกลางสมัยนั้นทุกหลังจะต้องมีห้องอยู่ห้องหนึ่ง
Read More

วัฒนธรรมการทำงานของศตวรรษที่ 21

วัฒนธรรมการทำงานของศตวรรษที่ 21 เชื่อว่า ณ เวลานี้ทุกท่านคงคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “วัฒนธรรมองค์กร” (Organization Culture) และ “วัฒนธรรมที่เน้นผลงานสูง” (High – Performance Culture) ซึ่งเป็นศัพท์ท็อปฮิตติดปากผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารประเทศจนถึงผู้บริหารองค์กร ห้างร้านต่างๆ แม้กระทั่งในวงการศึกษาที่ผู้เขียนสังกัดอยู่ เรื่องของการสร้างความสามารถในการแข่งขันก็เป็นหนึ่งในนโยบายด้านการศึกษาเช่นกัน เพราะเมื่อสังคมธุรกิจต้องเร่งสร้างความพร้อมในการแข่งขัน นั่นย่อมหมายถึงการสร้างความพร้อมของพนักงานทุกระดับให้สามารถแข่งขัน แล้วพนักงานเหล่านั้นก็คือ อดีตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สถาบันต้องรับผิดชอบในการปลุกปั่นบ่มเพาะ อบรมผู้เข้ารับการศึกษาให้มีความรู้
Read More