Tag: ประกันวินาศภัย

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (6)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (6) 11. สัญญาประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันได้เจาะจงตัวผู้รับประโยชน์ไว้ มาตรา 897 วรรค 2 บัญญัติว่า “ ถ้าได้เอาประกันไว้โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้” บทบัญญัติวรรค 2 นี้ก็เช่นเดียวกับวรรคแรกคือใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เอาประกันได้ทำสัญญาเอาประกันชีวิตตนเองไว้เท่านั้น ต่างกับวรรคแรกที่กรณีตามวรรค 2 นี้ ผู้เอาประกันได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้เป็นการแน่นอน ข้อควรสังเกตคือว่า ถึงแม้กฎหมายจะมิได้กำหนดไว้ว่าผู้รับประโยชน์จะต้องเป็นทายาทของผู้เอาประกันก็ตาม แต่เมื่ออ่านประกอบกับวรรคแรกแล้ว ทำให้เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งถึงเฉพาะผู้รับประโยชน์ที่เป็นทายาทเท่านั้นที่เป็นกรณีของมาตรา 897 นี้ ผลของกฎหมายจากการที่ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้เฉพาะเจาะจงมีว่า เฉพาะเบี้ยประกันซึ่งผู้เอาประกันได้ส่งไปแล้วเท่านั้นตกเข้ากองมรดกของผู้เอาประกันหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า
Read More

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (5)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (5) เกี่ยวกับข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันชีวิตมีข้อควรสังเกตดังนี้ 1.ที่กฎหมายกำหนดเวลาไว้ 1 ปี นั้น เฉพาะกรณีผู้เอาประกันชีวิตฆ่าตัวเองตายเท่านั้น สำหรับกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นคนฆ่าไม่มีระยะเวลากำหนดไว้ 2. ถ้าผู้เอาประกันชีวิตฆ่าตัวเองตายใน 1 ปี ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินตามสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าการกระทำอัตวินิบาตนั้นกระทำโดยต้องการให้ทายาทได้รับเงินตามสัญญาหรือไม่ 3. มีปัญหาว่าหากผู้เอาประกันชีวิตลงมือกระทำอัตวินิบาตภายใน 1 ปี แต่การมรณะเกิดขึ้นภายหลัง 1 ปี ดังนี้ ทายาทจะยังมีสิทธิได้รับชดใช้หรือไม่ เห็นว่า มาตรา 895 ตอนต้นบัญญัติว่า “
Read More

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (4)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (4) 7. หน้าที่และความรับผิดของผู้รับประกันชีวิต ผู้รับประกันชีวิตมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อคู่สัญญาต่อไปนี้ 1) ต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิตแก่ผู้เอาประกัน (มาตรา 867 ) 2) เมื่อบอกล้างสัญญา ต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ตามมาตรา 892 หรือ 895 หรือต้องคืนเบี้ยประกันตามมาตรา 893 หรือต้องใช้เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือส่งมอบกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จตามมาตรา 894 3) ต้องใช้เงินตามสัญญาตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ( มาตรา 889, มาตรา 895
Read More

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (3)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (3) 4. กรณีบอกล้างสัญญาประกันชีวิตซึ่งเป็นโมฆียกรรม ตามมาตรา 865 มาตรา 892 บัญญัติว่า “ ในกรณีบอกล้างสัญญาตามความในมาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น” ข้อสังเกต 1. กรณีบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันหรือทายาท ซึ่งแตกต่างกับการบอกล้างสัญญาประกันวินาศภัย ในกรณีหลังนี้ผู้รับประกันจะคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์เท่านั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จึงต้องใช้หลักในการบอกล้างนิติกรรม ตามมาตรา 138 มาใช้บังคับ คือให้คู่กรณีคืนกลับสู่สถานะเดิม ผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้เต็มจำนวน 2. กฎหมายกำหนดว่าให้คืนแก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น ฉะนั้นผู้รับประโยชน์จึงไม่มีสิทธิในเงินจำนวนนี้
Read More

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (2)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (2) ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ 170/2528 สามีโจทก์เอาประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต มีเงื่อนไขว่า ถ้าสามีโจทก์ถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุ จำเลยจะใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่เอาประกันในระหว่างอายุสัญญา สามีโจทก์เป็นลมล้มลงศรีษะฟาดพื้นสมองได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่ความตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ที่ตายเป็นลมหกล้มเป็นเรื่องเกิดขึ้นโดยบังเอิญปราศจากเจตนาและความคาดหมายของผู้ตาย จึงถือได้ว่าผู้ตายตายเพราะอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์สองเท่าตามสัญญา คำพิพากษาฎีกาที่ 1769/2521 ผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางไว้กับบริษัทแรกสำหรับช่วงเวลาหนึ่ง แล้วขอเลื่อนวันเดินทางไปเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง บริษัทยังไม่อนุมัติ กับได้ขอเอาประกันกับอีกบริษัทหนึ่ง แต่บริษัทนั้นก็ยังมิได้ตอบสนองรับแล้วผู้เอาประกันจึงได้เอาประกันกับบริษัทจำเลยอีก ดังนี้ ข้อความที่ผู้เอาประกันรับรองว่าไม่เคยเอาประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุ อันทำให้ถึงแก่ความตายหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บไว้กับบริษัทอื่นก่อน เป็นข้อที่จำเลยอาจบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา แต่เมื่อเอาประกันภัยครั้งแรกเป็นคนละช่วงเวลากับที่เอาประกันกับจำเลย โดยบริษัทแรกยังมิได้อนุมัติให้เลื่อนวันเดินทางและการเอาประกันครั้งที่สองบริษัทนั้นก็ยังมิได้ตอบสนองรับจึงถือไม่ได้ว่า
Read More

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (1)

ปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนบริษัทรับประกันชีวิต (1) ปกติการรับประกันภัยนั้น ตัวผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยมักจะไม่ได้ติดต่อกันเองโดยตรงแต่มีคนกลางติดต่อให้ จึงมักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆว่า ตัวแทนมีอำนาจกระทำการเพียงใด ตามปกติผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้แทนบริษัทประกันภัยนั้นไม่ได้รับอำนาจให้ตกลงทำสัญญาประกันภัยไว้ด้วย แต่เป็นนายหน้ารับคำขอทำสัญญาส่งไปยังบริษัทเท่านั้น บริษัทเป็นผู้ตัดสินใจทำคำสนองแม้จะมีอำนาจกระทำการแทนอยู่บ้าง แต่เท่าที่ได้รับมอบหมาย เช่นมีอำนาจขอรับเงินเบี้ยประกันภัยแทนบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้ย่อมจะต้อง พิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนด้วยคืออำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป แต่ตามปกติแล้วผู้แทนเหล่านี้ไม่ได้รับอำนาจให้ทำสัญญา ข้อเท็จจริงที่จะพิจารณาว่า ผู้แทนได้รับมอบอำนาจให้ทำสัญญาหรือไม่ มักจะพิจารณาได้ตามแบบพิมพ์ต่างๆที่บริษัทมอบให้ผู้แทนไป เช่น ใบรับเงิน เป็นต้น ข้อความในใบรับเงินนั้น ถ้ามีความเพียงรับเงินเบี้ยประกันภัยไว้เท่านั้นยังไม่พอว่ามีสัญญา แต่ถ้ามีข้อความแสดงว่าบริษัทตกลงหรือยินยอมรับประกันภัยตามคำเสนอของผู้ขอเอาประกันภัย หรือข้อความอื่นทำนองนั้น แสดงว่ามีสัญญาแล้ว ข้อความย่อผูกพันบริษัทเพราะเป็นใบรับตามแบบพิมพ์ของบริษัทเอง
Read More

กรมธรรม์ประกันชีวิต

กรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อผู้เสนอขอเอาประกันชีวิต กรอกแบบฟอร์มตามที่ตัวแทนเสนอให้กรอกเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนจะนำแบบฟอร์มนั้นไปยื่นต่อบริษัทผู้รับประกันเพื่อจะได้พิจารณาว่าสมควรที่จะรับประกันชีวิตตามที่ผู้เสนอขอประกัน ยื่นข้อเสนอมาหรือไม่ ในระหว่างนี้ถ้าบริษัทผู้รับประกันเห็นว่าควรจะต้องตรวจสุขภาพของผู้เสนอขอเอาประกันก่อนเพื่อประกอบการพิจารณา ตัวแทนของบริษัทก็จะนำตัวผู้เสนอขอประกันนั้นไปให้แพทย์ของบริษัทตรวจ โดยปกติผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง 30 ปี บริษัทอาจงดเว้นไม่ตรวจสุขภาพ เพราะโดยทั่วไปเปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุในขีดกำหนดนี้ไม่ค่อยมีการเจ็บป่วยมากนักเมื่อเทียบกับผู้มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นบริษัทผู้รับประกันจึงอาจงดเว้นไม่ตรวจสุขภาพให้ เพียงแต่พิจารณาข้อมูลจากแบบฟอร์มคำขอประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวก็เป็นการเพียงพอ ทั้งยังเป็นการลดความยุ่งยากต่างๆลงได้อีกมาก นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ขอเอาประกันชีวิตด้วย เมื่อบริษัทผู้รับประกันชีวิตได้พิจารณาแบบฟอร์มคำขอประกันชีวิตประกอบกับผลการตรวจสุขภาพจากแพทย์เรียบร้อยแล้ว เห็นว่าผู้เสนอขอเอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนพอที่บริษัทจะยอมรับเข้าเสี่ยงแทนผู้เสนอขอเอาประกันได้แล้ว บริษัทก็จะออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เสนอขอประกันยึดถือไว้ ตามปกติกรมธรรม์ประกันชีวิตนี้บริษัทจะออกให้ภายหลังที่ได้รับแบบฟอร์มคำขอประกันแล้วประมาณ 1 เดือนโดยเงื่อนไขว่า ผู้เสนอขอประกันได้ชำระเบี้ยประกันชีวิตงวดแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไป กรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าบริษัทแต่ละแห่งจะได้กำหนดรูปแบบไว้ นอกจากนั้นยังแตกต่างกันตามประเภทและชนิดของการประกันด้วย
Read More

ส่วนได้เสียในการประกันชีวิต

ส่วนได้เสียในการประกันชีวิต ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอไป แม้ไม่ใช่เจ้าของก็อาจเอาประกันภัยได้หากว่ามีส่วนได้เสีย ในทำนองเดียวกันสัญญาประกันชีวิตก็เดินตามหลักดังกล่าว แม้ไม่ใช่ชีวิตเรา เราก็อาจเอาประกันได้ ถ้าหากเรามีส่วนได้เสียเช่นสามีภรรยาอาจเอาประกันชีวิตของกันและกันได้ บิดา มารดา และบุตรมีส่วนได้เสียซึ่งเสียซึ่งกันและกันสามารถเอาประกันชีวิตซึ่งกันและกันได้ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อาจเอาประกันชีวิตบุคคลอื่นได้นั้นก็ต่อเมื่อตนมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับผู้นั้นมากพอสมควร ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าหากบุคคลผู้เสียชีวิตไปก็จะทำให้สูญเสียเดือดร้อน หรือตนเองต้องรับผิดบางประการ อาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ที่ตนจะเอาประกันถือความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ บางท่านมีความเห็นเจาะจงลงไปทีเดียวว่า หากความสัมพันธ์ที่ผู้เอาประกันชีวิตมีต่อชีวิตบุคคลที่ถูกเอาประกันนั้น เป็นความผูกพันในลักษณะเป็นสิทธิหน้าที่ต่อกันทางกฎหมายแล้ว ก็ถือว่าเป็นส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตบุคคลนั้นได้ สำหรับกฎหมายไทยเรา ได้ยอมรับให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียสามารถเอาประกันชีวิตได้ คือ – ตนเองย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตตนเองเสมอ – สามีภรรยา – บิดา
Read More

ประกันชีวิต

ประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง เป็นสัญญาประเภทผู้รับประกันภัยตกลงไว้ว่าจะใช้เงินจำนวนแน่นอนซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หากมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญาเมื่อสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาประกันภัย บทบัญญัติในหมวด 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ตั้งแต่มาตรา 861 ถึงมาตรา 867 จึงต้องนำมาใช้กับสัญญาประกันชีวิตด้วย 1. ลักษณะของสัญญาประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตนั้นก็คือ สัญญาซึ่งบริษัทผู้รับประกันตกลงว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ หรือผู้สืบสิทธิของเขา โยมีเงื่อนไขว่า ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้ตายภายในเวลา หรือมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาอันได้กำหนดไว้ และผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันชีวิตภายในเวลาที่กำหนด ในการประกันชีวิตตนเอง ผู้เอาประกันอาจจะระบุให้ตนเองเป็นผู้รับเงินในกรณีที่ตนมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่กำหนดไว้ หรืออาจกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับเงินในกรณีตนเองตายภายในเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์ก็ได้ เช่น
Read More

อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882)

อายุความประกันวินาศภัย (มาตรา 882) ในกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 จะนำอายุความละเมิดตามมาตรา 448 มาบังคับใช้ไม่ได้ ดูฎีกา 4479/2533, 2904/2535 ฎีกาที่ 4479/2533 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ทำละเมิด จำเลยจะยกอายุความเรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย และมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัยตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ลักษณะ 20 หมวด
Read More