Tag: การจัดการ

ช่องทางการจัดระบบการเรียนรู้ส่วนตัวในองค์กร

ช่องทางการจัดระบบการเรียนรู้ส่วนตัวในองค์กร วันที่ : 26 กุมภาพันธ์ 2551 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน ท่ามกลางโลกยุคใหม่ที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็วและไร้ขอบเขต ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเป็นจำนวนมหาศาลต่อวันและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นกระบวนการต่อเนื่องไปอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่เราหยุดนิ่งอยู่กับที่ จึงเท่ากับเป็นการหยุดยั้งกระบวนการแห่งความก้าวหน้าทั้งสิ้น “การเรียนรู้” จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูแห่งความสำเร็จของโลกยุคใหม่ บุคคล องค์กร หรือสังคมใดที่มีคุณลักษณะแห่งการเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มุ่งพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอย่อมได้รับความสำเร็จเป็นรางวัลในไม่ช้า การเป็นนักเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จได้นั้นสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องรีรอให้โอกาสมาถึงหรือรอให้องค์กรมาสนับสนุน แต่เราต้องมีเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาพร้อมทั้งไขว่คว้าโอกาสที่มาถึงรวมทั้งสร้างบุคลิกของตนขึ้นมาใหม่ นั่นคือบุคลิกแห่งการเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งสามารถสร้างให้เป็นนิสัยได้โดย “การจัดระบบการเรียนรู้ส่วนตัว” เพื่อพัฒนาตนเองให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา โดยแนวทางในการจัดระบบการเรียนรู้ส่วนตัวนั้นต้องเริ่มจาก
Read More

คุณแน่!

คุณแน่! ทุกข์ของประชาชน คนทำงาน ไล่เรียงไปถึงองค์กร ถึงระดับประเทศ รวมถึงระดับโลกนู่น คงไม่หนีวิกฤตที่ข้าวยากหมากแพง น้ำมันราคากระฉูด โลกป่วยด้วยอาการตัวร้อน ปัญหาซ้ำๆ ซ้อนๆ โยงใยขมวดเป็นปม เป็นกระจุก จำต้องหาวิธีแก้เชิงรุก แค่จัดกระบวนการทัพแบบรอรับ รอแก้อย่างเดียว …ไม่น่าจะรอดปลอดภัยในยุคนี้ สัปดาห์นี้ขออนุญาตคุยเรื่องธุรกิจหนึ่งซึ่งถูกกระทบกระเทือนอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของโลก คือ ธุรกิจสายการบิน และศึกษาวิธีแก้ปัญหาเชิงบุก แก้แบบรุก เขาทำอย่างไร อุตสาหกรรมการบินถูกกระหน่ำด้วยสองปัจจัยหลักในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยที่โยงใยกับกระบวนการก่อการร้าย ตลอดจนราคาต้นทุนที่ยั้งไม่อยู่ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ทำให้ผู้บริหารแต่ละสายการบินนั่งกุมขมับ
Read More

สุดยอดแนวคิดการจัดการแห่งศตวรรษ

สุดยอดแนวคิดการจัดการแห่งศตวรรษ มองมุมใหม่ : รศ.ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 วันนี้มีสุดยอดแนวคิดการจัดการแห่งศตวรรษ ที่บิซิเนส วีค ได้ทำการจัดอันดับมา นับว่ามีความน่าสนใจมาก จึงนำมาเรียบเรียงให้ทุกท่านพิจารณากันครับ เริ่มจากเมื่อเกือบหนึ่งศตวรรษที่แล้ว คือ ในปี 1910 ได้มีการคิดค้นไอเดียเกี่ยวกับการจัดการสายการประกอบในการผลิตรถยนต์ (Assembly Lines) ซึ่งนำมาใช้โดยเฮนรี่ ฟอร์ด สำหรับการผลิตรถยนต์สุดไฮเทคในช่วงนั้น
Read More

การจัดการสมัยเก่าในยุคใหม่

การจัดการสมัยเก่าในยุคใหม่ อนุวัฒน์ ชลไพศาล สถาบันพัฒนาการศึกษาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ anuwat@dpu.ac.th เพื่อนของผมรบเร้าให้ผมเขียนบทความตีพิมพ์ในคอลัมน์เศรษฐกิจปริทัศน์บ้าง โดยมีข้อแม้ว่าต้องเป็นบทความที่เกี่ยวกับเรื่อง “การจัดการสมัยใหม่” (Modern Management) แรกเริ่มทีเดียวผมตั้งใจจะไม่เขียน เพราะประเด็นเรื่องการจัดการสมัยใหม่หรือแม้แต่สมัยเก่าเป็นเรื่องที่ผมไม่มีความรู้เอาเสียเลย แต่เมื่อไม่เขียนก็เป็นทุกข์ เมื่อเห็นเพื่อนนั่งหน้าแห้งเขียนบทความคนเดียวอยู่เป็นเดือนทำให้คิดว่าน่าจะเขียนบทความสักชิ้นเพื่อให้เพื่อนได้พัก และแสดงความเชยอันเนื่องมาจากความไม่รู้ต่อท่านผู้อ่านบ้าง คำถามพื้นฐานของผมคือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) มีเริ่มต้นพัฒนาการอย่างไร? และมีความแตกต่างจากการจัดการสมัยเก่า (Old-fashion Management) อย่างไร? ผมขอตอบโดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ผมคิดว่า ไม่ใช่” หัวใจของการจัดการสมัยใหม่ก่อน
Read More

วิถีของความไม่รู้แก่ เมื่อผู้ใหญ่หัดเรียนรู้อย่างเด็ก

วิถีของความไม่รู้แก่ เมื่อผู้ใหญ่หัดเรียนรู้อย่างเด็ก คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังว่า ผู้เขียนโชคดีที่รู้จัก คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งท่านเป็นนักบริหารที่มีความรอบรู้เป็นที่ยกย่องของวงการธุรกิจและผู้บริหารภาครัฐของไทยเรามาหลายยุคหลายสมัย แม้ในวัยใกล้ 80 ปี คุณพารณยังเดินหลังตรง คล่องแคล่ว ว่องไว ชอบนั่งสมาธิ ออกกำลังกายเป็นประจำ สนใจศึกษาและสนทนากับบุคคลทุกวัยที่มีความรู้ ความสามารถในสาขาต่างๆ และนำความรู้นั้นไปเผยแพร่กับบุคคลรอบข้าง อันนำไปสู่ การทดลองและทดสอบใช้ความรู้นั้นๆ จนเกิดผลสัมฤทธิ์ในหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น การนำหลักทฤษฎี Constructionism (หลักความคิดที่เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดี หากเขาได้เรียนในสิ่งที่
Read More

บริหารจัดการตนเอง…พัฒนาภาวะผู้นำ

บริหารจัดการตนเอง…พัฒนาภาวะผู้นำ   วันที่ : 7 มิถุนายน 2550 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : สยามเสวนา            จอห์น เฮเดอร์ (John Heider) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Tao Of Leadership ได้ประยุกต์หลักปรัชญาเต๋ามาใช้เป็นหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำ ตอนหนึ่งในหนังสือได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า        “ การที่จะรู้ว่าใครเป็นอย่างไรนั้นต้องใช้ความฉลาด แต่การจะรู้ตนเองเป็นอย่างไรนั้นต้องใช้ปัญญา ในการจัดการชีวิตผู้อื่นนั้นต้องใช้ความเข้มแข็ง
Read More

ยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์สู้วิกฤติน้ำมัน

ยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์สู้วิกฤติน้ำมัน   จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้น และแรงกดดันสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบต้องแบกรับภาระต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการด้านธุรกิจโลจิสติกส์ จะต้องมีการดำเนินการ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เป็นรูปธรรมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นแผนงานที่สามารถดำเนินการได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว คำถามยอดฮิตในปัจจุบันก็คือ ทำอย่างไร? กับวิกฤติน้ำมัน ในการที่จะลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ และสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้ ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการควรมีการสร้างกลยุทธ์ 7 ประการคือ กลยุทธ์แรก 4 S ซึ่งประกอบด้วย การมีมาตรฐานการทำงาน (Standard) โดยมีการกำหนดมาตรฐานและวินัยที่จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น มาตรฐานการปฏิบัติงานขนส่ง การผลิต
Read More