Tag: เศรษฐกิจ

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (จบ)

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (จบ) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : เจาะลึกปิโตรเลียมไทย กับผลประโยชน์ของชาติ (จบ) มาคุยเรื่องปิโตรเลียมกับผลประโยชน์ของชาติกันอีกตอนนะครับ ประเทศไทยนำระบบสัมปทานมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจปิโตรเลียม เป็นไปตามศักยภาพเชิงพาณิชย์ของพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายในประเทศ โดยระบบสัมปทานจะเป็นระบบที่ให้สิทธิประโยชน์และจูงใจนักลงทุนมากกว่าระบบอื่นสำหรับประเทศที่มิได้มีทรัพยากรปิโตรเลียมมหาศาล ประเทศไทยได้ออกแบบและปรับปรุงระบบการจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐจากธุรกิจปิโตรเลียมให้สอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศและสถานการณ์พลังงานของประเทศในแต่ละช่วงเวลา หลายฝ่ายอาจจะเห็นว่าประเทศไทยนั้นเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งได้เสนอแนะให้ทบทวนอัตราค่าภาคหลวง แต่หากเราไปดูข้อมูลกระทรวงพลังงานจะพบว่า ค่าภาคหลวงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของรายได้ทางตรงที่รัฐเรียกเก็บจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม ดังนั้น ในการวิเคราะห์รายได้ของรัฐจำเป็นต้องดูองค์ประกอบทุกส่วนของรายได้รัฐทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าภาคหลวง (2) ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และ (3) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
Read More

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (2)

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (2) สัปดาห์ที่แล้วผมค้างไว้ที่การแบ่งปันผลประโยชน์จากธุรกิจปิโตรเลียมว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง ก็มาถึงอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ระบบอ้างอิงสัญญา (Contractual Based System) เป็นระบบที่อ้างอิงกับปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้ จะมีการแบ่งปันผลผลิตระหว่างภาครัฐและเอกชนตามที่ระบุในสัญญา โดยระบบอ้างอิงสัญญาสามารถกระทำในรูปแบบสัญญาการให้บริการ (Service Contracts) หรือสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) สัญญาการให้บริการมีลักษณะเป็นสัญญาที่รัฐให้สิทธิภาคเอกชนดำเนินการ รัฐจะจ่ายค่าบริการให้แก่เอกชนเป็นค่าบริการในการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ซึ่งปิโตรเลียมที่พบจะถือเป็นของรัฐ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งผลประโยชน์ให้แก่เอกชนในรูปแบบต่างๆ สำหรับสัญญาแบ่งปันผลผลิต รัฐจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่จะแต่งตั้งเอกชนในฐานะผู้รับเหมา (Contractor) เข้ามาลงทุนหรือรัฐอาจตกลงร่วมทุนก็ได้
Read More

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ!

พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : เจาะลึกปิโตรเลียมไทย กับผลประโยชน์ของชาติ การสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ต่อมารัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและเพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อเป็นกฎหมายหลักในการควบคุมการสำรวจธุรกิจปิโตรเลียม โดยผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะชำระผลประโยชน์ให้รัฐในรูปของค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จากการพัฒนาและการขยายตัวของธุรกิจประเภทนี้ทำให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี พ.ศ.2532 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการประกอบกิจการปิโตรเลียมขนาดเล็ก และจูงใจให้มีการลงทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4)
Read More

เศรษฐกิจ : ผลจากการอุดหนุนพลังงาน ตอน 1

เศรษฐกิจ : ผลจากการอุดหนุนพลังงาน ตอน 1 รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : ผลจากการอุดหนุนพลังงาน บทเรียนสำหรับประเทศไทย (1) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : ผลจากการอุดหนุนพลังงาน บทเรียนสำหรับประเทศไทย (1) : โดย … ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาพลังงานได้ปรับตัวสูงขึ้น
Read More

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้า ในภาคของสังคมต่อ

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้า ในภาคของสังคมต่อ โดย … ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com ผมยังคงพูดถึงอนาคตโลกในอีก 30 ปีข้างในภาคของสังคมครับ โดยคาดการณ์ว่าโลกในอนาคต กำลังขยายสู่ความเป็นเมืองเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ก่อให้เกิดเป็นเมืองอุตสาหกรรม สร้างกระแสการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมืองเป็นจำนวนมาก โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งการขยายตัวของเมืองดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของความยากจนในเขตเมือง การขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชากรเมือง ความไม่เพียงพอของการให้บริการจากหน่วยงานรัฐบาล ทั้งทางด้านการศึกษาและสวัสดิการอื่นๆ
Read More

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้าในมุมสังคม

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้าในมุมสังคม โดย … ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในบทความเมื่อครั้งก่อน ผมได้เล่าถึงทิศทางอนาคตโลกในมิติด้านเศรษฐกิจที่ครอบคลุมไปถึงอนาคตของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มที่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจเรียกกันว่า BRIICS ทิศทางการค้าการลงทุนที่ขยายตัวเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และแนวโน้มการใช้พลังงานโลกที่จะสูงขึ้น ผลักดันให้ราคาพลังงานจะต้องราคาแพงขึ้นต่อจากนี้ไป ในบทความนี้ ผมอยากจะพูดถึงทิศทางและอนาคตของสังคมโลกครับ รวมทั้งปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของสังคมโลกในอนาคตครับ ผมว่าปัจจัยด้านสังคมที่จะมีนัยทางเศรษฐกิจมากที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และการเข้าสู่โลกแห่งผู้สูงวัย โดยประชากรยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปี ค.ศ.2020
Read More

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้าในมุมการเงินการคลัง

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก30ปีข้างหน้าในมุมการเงินการคลัง ประเทศต่างๆ จะมีหนี้สาธารณะมากขึ้น เนื่องจากเป้าหมายนโยบายการคลังนั้นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ รัฐบาลประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มการดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องจัดหาแหล่งกู้เงินให้เพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จากข้อมูลแนวโน้มหนี้สาธารณะโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54 ของจีดีพีในปัจจุบันเป็นร้อยละ 98 ในปี ค.ศ. 2035 ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ประมาณ 4.6 ล้านล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 42 ของจีดีพี ภายใต้หลักการก่อหนี้สาธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 60
Read More

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าในมุมการลงทุน

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าในมุมการลงทุน โดย … ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันนี้มามองกันต่อในมิติของการลงทุนบ้างครับ ในมิติของการลงทุนระหว่างประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การลงทุนทางตรงและการซื้อขายควบรวมกิจการมีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่การไหลย้อนกลับของการลงทุนในรูปของการส่งกำไรกลับคืน (Divestment) เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ประชาชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ (Aging Society) นอกจากนี้ แนวโน้มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนมีแนวโน้มมากขึ้น
Read More

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าในมุมมองการค้า

เศรษฐกิจ : มองอนาคตโลกในอีก 30 ปีข้างหน้าในมุมมองการค้า โดย … ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เราเคยสงสัยกันไหมครับว่า ในอนาคตอีก 30-40 ปีข้างหน้า โลกของเรา ประเทศไทยของเราจะเป็นอย่างไร พอดีผมได้มีโอกาสคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและสังคมหลายท่าน และในบทความนี้ ผมจะขอลองสังเคราะห์ทิศทางอนาคตโลกนะครับ ผมว่าปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญด้านเศรษฐกิจในอนาคต คือ กลุ่ม BRIICS จะมีแนวโน้มขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
Read More