Tag: สมองเสื่อม
สุขภาพกาย
เทคนิคป้องกันสมองเสื่อม • คุณภาพชีวิต แนะทานปลา-ผัก-ผลไม้ช่วยการจำดีขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.แกรี่ มอล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกี่ยวกับอายุรศาสตร์และความจำ มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา บรรยายในงานไบโอเอเชีย 2008 ถึงประสบการณ์ในการค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ว่า สาเหตุหลักของสมองเสื่อม คือ อายุที่มากขึ้น มีประวัติครอบครัว ญาติใกล้ชิดสมองเสื่อม เคยประสบอุบัติเหตุสมองกระทบกระเทือน และมียีนสมองเสื่อม “อะโปอี 4” รวมทั้งอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดตีบ โรคพันธุกรรม หรือแม้แต่จากยาบางชนิด
Read More
สุขภาพกาย
คนไทยเสี่ยงภัยสมองเสื่อม! • คุณภาพชีวิต ภายใน 50 ปีจะป่วยเพิ่มมากกว่าล้านคน สมองของเราแต่ละคนนับเป็นอวัยวะสำคัญอันดับต้นๆ ของการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ ภาวะ “สมองเสื่อม” ซึ่งทำให้บุคคลสูญเสียความคิด ความทรงจำ และความสามารถในการทำงานและการตัดสินใจ จึงถือว่าเป็นมหันตภัยแก่ชีวิต ไม่เพียงเพราะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในความเสี่ยงต่ออันตรายและมีคุณภาพชีวิตตกต่ำ แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ดูแลและ ครอบครัวของผู้ป่วย ทั้งกาย ใจ สังคมและเศรษฐกิจ พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์ และ พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน์ จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี
Read More
สุขภาพกาย
ทำงานยันแก่เฒ่า…หนี ‘สมองเสื่อม’ • คุณภาพชีวิต ช่วยกระตุ้นประสาทให้ว่องไว ไร้โรคเบียดเบียน หลังจากศึกษาผ่านผู้ป่วยกว่า 1,320 ราย พบว่า ผู้ที่ยังคงทำงานอยู่จนอายุ 65 ปีไปแล้ว หรือมากกว่านั้นจะผลักดันโรคสมองเสื่อมให้หนีห่างออกไปได้นานถึง 6 อาทิตย์ นักวิจัยของสถาบันจิตวิทยา มหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจพบว่า ผู้ที่ยังคงทำงานอยู่จนอายุ 65 ปีไปแล้ว หรือมากกว่านั้น จะผลักดันโรคสมองเสื่อมให้หนีห่างออกไปได้ คณะนักวิจัยได้ความรู้จากการตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวน 1,320 คน เจอว่าการทำงานอยู่จนแก่จนเฒ่า
Read More
สุขภาพกาย
เรียนสูงเท่าไหร่ เสี่ยงสมองเสื่อมน้อยเท่านั้น • คุณภาพชีวิต เหตุกระตุ้น-พัฒนากระบวนการคิดอยู่เสมอ นักวิจัยเผย นอกจากจะบริหารสมองอยู่เสมอแล้ว การที่คนเรามีการศึกษาสูงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์น้อยเท่านั้น โดยทั่วไป คนที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ หรือคนเป็นปู่ย่าตายายกันแล้ว ย่อมทราบกันดีว่า อัลไซเมอร์มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้คือคนที่ไม่ค่อยได้บริหารสมองเท่าที่ควร แม้ว่างานวิจัยที่ผ่านมาจะพิสูจน์ได้ว่า ชีวิตวัยเกษียณจะหลีกเลี่ยงโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้ หากคนเรามีโอกาสได้ทำงาน ให้สมองได้คิดในหลายๆ เรื่อง แต่ไม่ใช่หมกมุ่นคิดอยู่เพียงเรื่องเดียวซ้ำไปซ้ำมา ทั้งนี้นักวิจัยได้เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม 1,320 ราย ซึ่งมีผู้ชายถึง 382 ราย พบว่า
Read More
สมอง
ปัญหาพฤติกรรมในผู้สูงอายุสมองเสื่อม ในประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า อาจมีผู้ที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 2% ซึ่งภาวะสมองเสื่อมนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาทางด้านบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป หรือปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ ปัญหาทางบุคลิกภาพ พฤติกรรมและจิตใจที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมีดังนี้ 1. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาปัญหาทางพฤติกรรมและจิตใจในผู้ป่วยสมองเสื่อม โดยพบได้ถึง 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อม เราจะพบว่าผู้ป่วยจะมีลักษณะไม่กระตือรือร้นที่จะทำอะไร จะชอบนั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ ความคิดริเริ่มใหม่ๆ จะลดลง และจะคิดแต่เรื่องตนเอง จะพูดเรื่องตัวเองโดยเฉพาะเรื่องในอดีต และจะพูดซ้ำๆ ทำให้บางครั้งลูกหลานคิดว่าความจำยังดี เพราะจำเรื่องในอดีตนานมาแล้วได้ แต่ที่จริงแล้วการสูญเสียความจำในผู้ป่วยสมองเสื่อมจะเริ่มเสียความจำใหม่ๆ ก่อน ถ้าอาการเป็นมากแล้วจึงจะมีสูญเสียความจำในอดีต
Read More
สมอง
สมองเสื่อม นายสุดสายชล หอมทอง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เมื่อพูดถึงโรคสมองเสื่อม คนส่วนมากจะนึกถึงโรคอัลไซเมอร์ก่อนอย่างอื่น แต่ความจริงสมองเสื่อมมิได้เป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของสมอง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยที่อัลไซเมอร์ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น ภาวะสมองเสื่อม(dementia) นั้นต่างจากความจำเสื่อม(forgetfulness)โดยมักมีอาการอื่นนอกจากความจำเสื่อมร่วมด้วย และมักมีผลต่อชีวิตประจำวัน อาการอื่นๆเช่น นึกคำพูดไม่ออก บวกลบเลขง่ายๆไม่ได้ ไม่สามารถทำอะไรง่ายๆที่เคยทำเป็นประจำได้ เช่น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ค่อยได้ พฤติกรรมหรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เช่นเดิมเป็นคนเรียบร้อย พูดจาไพเราะก็กลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง บางคนเคยรักความสะอาด รักสวยรักงามก็กลายเป็นคนไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง อาการของสมองเสื่อมมีสาเหตุอยู่ด้วยกันหลายประการด้วยกันคือ 1.มีอาการเสื่อมหรือตายของเนื้อสมองซึ่งส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ
Read More
สมอง
ผู้ป่วยสมองเสื่อม คนที่ถูกลืม เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมานั้น ได้มีการจัดงานวันอัลไซเมอร์โลก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า วันนี้ มีความสำคัญยังไง ที่จริงแล้ว ทุกวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันอัลไซเมอร์โลก หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยจะเตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์กระตุ้นเตือน รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โรคสมองเสื่อม คืออะไร หากจะอธิบายความหมายของคำว่า “โรคสมองเสื่อม” แบบง่าย ก็คือ การที่เรามีความผิดปกติทางด้านสมอง ซึ่งส่งผลให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ จนทำให้พฤติกรรมและบุคลิกภาพของเราเปลี่ยนแปลงไป อาทิเช่น เราอาจจะไม่รู้ตนเองกำลังทำอะไรอยู่
Read More
สมอง
สมองเสื่อม…. คืออะไร ? ภาวะสมองเสื่อม จริงๆ แล้วเป็นแค่อาการแสดงอย่างหนึ่งของโรคซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ความหมายโดยทั่วไปของสมองเสื่อม คือ การด้อยประสิทธิภาพในการทำงานของสมองทุกๆ ด้าน แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ การคำนวณ หรือการใช้ความคิดที่สลับซับซ้อน รวมถึงประสิทธิภาพทางการสื่อภาษา การแปลความหมาย จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองเสื่อม ? ก่อนที่แพทย์จะบอกว่าคุณเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จำเป็นต้องตรวจแยกโรคสมองเสื่อมเทียม ซึ่งพบได้บ่อย อันได้แก่ ภาวะที่เกิดจากความเครียด นอนไม่หลับ ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า
Read More
โรคทางสมอง
เคยหลงทาง พูดตะกุกตะกัก บ่นเรื่องเก่าๆ เสี่ยงสมองเสื่อม คุณภาพชีวิต เรื่องเด่น แพทย์ชี้….รู้สาเหตุหายขาดได้ ผู้สูงอายุมักรู้สึกว่าตนเองมีความจำบกพร่อง ทั้งที่ความจริงแล้วอาการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ นี้สามารถเกิดได้ในวัยนี้ เรียกว่าอาการหลงลืมตามวัย เช่น ลืมของทิ้งไว้แล้วจำไม่ได้ว่าวางของทิ้งที่ใด ฯลฯ แต่ถ้าอาการหลงลืมถึงขั้นภาวะสมองเสื่อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคลิกภาพและพฤติกรรมอย่างชัดเจนแล้วล่ะก็ ปัญหาที่เกิดตามมาคงเป็นหางว่าวทีเดียว และถ้าคุณไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ มารู้เท่าทันภาวะสมองเสื่อมดีกว่าค่ะ ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองโดยรวม อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างน้อยเป็นเวลาถึง 6 เดือน แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเกิดจากภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติที่สังเกตได้ คือ
Read More
สุขภาพกาย
นอนกรน ทำสมองเสื่อม คุณภาพชีวิต เหตุออกซิเจนลดลง ทำเซลล์สมองตาย ปัญหาการนอนกรนและหยุดหายใจระหว่างหลับนั้นมีความสัมพันธ์กับการหดตัวลงไปของสมองส่วนที่ใช้เก็บความจำ “ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องการหายใจผิดปกติระหว่างนอนหลับนั้นอาจนำไปสู่ความเสียหายที่สมองและมีผลต่อความจำและการใช้ความคิด” สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนกรนนั้นมักจะมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจระหว่างหลับทำให้หลับๆ ตื่นๆ อยู่บ่อยระหว่างคืน และมักทำให้มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังในเวลากลางวัน นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีปัญหาเรื่องความจำและการตั้งใจจดจ่อตามมาอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้มีผลการวิจัยออกมาว่าการนอนกรนนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจ และโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ สำหรับการวิจัยล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอนั้นทีมนักวิจัยได้ใช้เครื่องสแกนสมองคอมพิวเตอร์เอ็มอาร์ไอในการตรวจสอบลักษณะสมองของคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนกรนโดยได้มุ่งการศึกษาไปที่สมองส่วน mammillary bodies ผลการวิเคราะห์พบว่า 20 เปอร์เซ็นตของคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนกรนทั้งหมด 43 คน มีสมองส่วน mammillary bodies เล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนกรนที่ศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 66
Read More