Tag: ภาษีที่ดิน

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 (ปรับปรุง)

มีการปรับปรุงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 (COVID-19) ส่งผลให้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 จึงมีมติเห็นชอบให้ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับปีภาษี 2563 ในอัตรา 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ เท่ากับว่าเฉพาะในปี 2563
Read More

ที่ดิน : คลังปัดฝุ่นกม.ภาษีที่ดิน หวังสร้างความเป็นธรรม

ที่ดิน : คลังปัดฝุ่นกม.ภาษีที่ดิน หวังสร้างความเป็นธรรม คลังเตรียมปัดฝุ่นร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินมีความเป็นธรรม-สร้างรายได้โดยตรงให้แก่ท้องถิ่น นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินมีความเป็นธรรม ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น และลดการจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยเสนอแก้ไขใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.ปรับเพดานอัตราการจัดเก็บภาษีสำหรับพื้นที่เกษตรกรรมจาก 0.05% เป็น 0.1% ส่วนพื้นที่อื่นๆจาก 0.5% เป็น 2%
Read More

กฎหมายภาษีที่ดินและภาษีมรดกไทย : ฝันเห็นทะเลสาบกลางทะเลทราย

กฎหมายภาษีที่ดินและภาษีมรดกไทย : ฝันเห็นทะเลสาบกลางทะเลทราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ออกมาพูดถึงการจัดเก็บภาษีที่ดินกับภาษีมรดก ได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันขึ้นในสังคมไทย โดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การเก็บภาษีทั้งสองประเภท โดยหลักการแล้ว จะช่วยให้เกิดผลดีในหลายทาง อาทิ การเก็บภาษีมรดก ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น กระจายความมั่งไปสู่คนในสังคม เพราะการเก็บภาษีมรดกเป็นการเก็บจากส่วนเกินที่คนร่ำรวยครอบครองอยู่ในอัตราที่เหมาะสมจำนวนหนึ่ง นำไปสร้างประโยชน์แก่คนเป็นจำนวนมาก ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการเก็บภาษีมรดกในอัตราที่สูงมาก บรรดาผู้มั่งคั่งทั้งหลายจึงนิยมตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศลในนามของตนเอง หรือตระกูลของตน แล้วบริจาคเงินให้มูลนิธินั้นเพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณะ เป็นช่องทางที่จะทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องภาษีมรดก ตัวอย่างที่มีในปัจจุบันก็เช่น นายบิล
Read More

ความเป็นธรรมของภาษีที่ดิน

ความเป็นธรรมของภาษีที่ดิน ภาษีที่ดินได้กลับมาเป็นประเด็นในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้เหตุผลในการเสนอจัดเก็บภาษีที่ดินครั้งนี้ว่า เป้าหมายเป็นไปเพื่อความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประชาชน แต่ความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำที่ว่า จะมีความหมายอย่างใด ก็ยังไม่ที่เป็นชัดเจน การพยายามทำความเข้าใจกับเป้าหมายดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อทำให้การออกแบบระบบภาษีที่จะเกิดขึ้น สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ตรงกับความคาดหวัง ภายใต้ระบบกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินในปัจจุบัน ได้เกิดภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างถึงที่สุดในการบริหารจัดการที่ดินในสังคมไทย ซึ่งเกิดขึ้นให้เห็นใน 2 ด้านด้วยกัน คือ ในด้านแรก มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย การขาดแคลนที่ดินทำกินนี้ ปรากฏทั้งในแง่ของการไม่มีที่ดินหรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงต้องเช่าที่ดินจากผู้อื่น สำหรับทำการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ ข้อมูลจากหลายหน่วยงานยืนยันสอดคล้องกันว่า มีเกษตรกรจำนวนมากกว่า 1 ล้านครอบครัว
Read More

เปิดหลักการภาษีที่ดิน&สิ่งปลูกสร้าง 10 ประเภททรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น

เปิดหลักการภาษีที่ดิน&สิ่งปลูกสร้าง 10 ประเภททรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติตรวจพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ข้อเท็จจริง กระทรวงการคลังเสนอว่า 1.ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. ในประเด็นอัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน และการยกเว้นภาษีให้แก่เกษตรกรที่ใช้ที่ดินของตนเพื่อการเกษตรไม่เกินจำนวนที่กำหนด และได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยการจัดอบรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศและสัมมนาประชาชนแล้ว 2.ได้นำข้อคิดเห็นจากการฝึกอบรมและสัมมนามาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นใน
Read More

นายกเล็กแม่เหียะค้านรัฐเก็บภาษีที่ดินเพิ่ม

นายกเล็กแม่เหียะค้านรัฐเก็บภาษีที่ดินเพิ่ม นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายก อบต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลเตรียมจะออกกฎหมายเพิ่มภาษีที่ดิน ที่กำลังจะเอาเข้าครม. ในไม่ช้านี้ ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหลายหน่วยงานก็มีการประชุมพูดคุยกันถึงเรื่องกฎหมายเพิ่มภาษีที่ดินนี้ เพราะเท่าที่ทราบภาษีที่ จะเพิ่มนี้จะขึ้นมากกว่าเดิมหลายเปอร์เซ็นต์ หากรัฐให้กรมที่ดินเป็นผู้จัดเก็บเองคาดว่าคงไม่ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นมากนัก แต่หากรัฐผลักภาระให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บเชื่อแน่ว่าจะส่งผลกระทบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกส่วนแน่ เพราะประชาชนจะเข้าใจผิดคิดว่าท้องถิ่นเป็นผู้เพิ่มภาษีไปขูดรีดกับประชาชนเอง และส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจผู้นำท้องถิ่น ซึ่งผู้นำท้องถิ่นส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นเองหากเกิดเรื่องนี้ขึ้นก็จะกระทบต่อปัญหาฐานเสียงในพื้นที่ของผู้นำท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งผู้นำท้องถิ่นก็ต้องออกไปชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบว่าการขึ้นภาษีนี้เป็นมาอย่างไร หากประชาชนเข้าใจก็ดีไป แต่หากประชาชนในพื้นที่ไม่เข้าใจก็เป็นปัญหาใหญ่กันอีก นายธนวัฒน์เปิดเผยอีกว่า การเพิ่มภาษีที่ดินจะเป็นภาระหนักมากขึ้นแก่ประชาชน ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีที่ดินใน อบต.แม่เหียะ เองก็ยังจัดเก็บไม่ได้ 100
Read More

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีที่ดินฯ รูปแบบใหม่

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีที่ดินฯ รูปแบบใหม่ ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ dr.ekonomic@yahoo.com กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 04 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในช่วงนี้ ผมมักจะได้รับคำถามจากคนรู้จักอยู่บ่อยๆ ในเรื่องที่รัฐบาลกำลังเตรียมนำเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินรูปแบบใหม่ ที่รู้จักกันในชื่อ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” อาทิเช่น ทำไมต้องเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีแบบเดิมไม่ดีอย่างไร ภาษีแบบใหม่เป็นอย่างไร จัดเก็บอย่างไรและเท่าไร ภาษีแบบใหม่ดีและเป็นประโยชน์อย่างไร และที่สำคัญ พวกเราจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่าไร จะได้เตรียมตัวเตรียมเงินไว้ล่วงหน้า คอลัมน์มุมเอกวันนี้ จะขออาสามาช่วยตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้
Read More

รู้เรื่องภาษีที่ดิน

รู้เรื่องภาษีที่ดิน การลดหย่อน ยกเว้น หรือลดภาษีที่ดิน 1. บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนจำนวนเนื้อที่ 100 ตารางวา 1 ไร่ 5 ไร่ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 26 มกราคม และ กฎกระทรวง (ฉบับที่
Read More

การปฏิเสธวาระนโยบายเรื่องภาษีที่ดิน

การปฏิเสธวาระนโยบายเรื่องภาษีที่ดิน วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2009 เวลา 04:13 น. 1.) ภาษีที่ดินในประเทศไทย งานที่ดินในประเทศไทย ปรากฏเริ่มแรกตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงดำเนินนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจเกี่ยวกับการทำประโยชน์ในที่ดิน สมัยรัชกาลที่ 4 มีการประกาศขายฝากและจำนำที่สวน ที่นา และมีการออกตราแดง ในเขตจังหวัดกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยาอ่างทอง ลพบุรีสุพรรณบุรี) เป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้มีชื่อเป็นเจ้าของและใช้ในการเก็บภาษีที่นา สมัยรัชกาลที่ 5 มีการออกหนังสือสำคัญชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น
Read More

ร่างพรบ.ภาษีที่ดินฯ ต้องหัก 2% เข้ากองทุนธนาคารที่ดิน

ร่างพรบ.ภาษีที่ดินฯ ต้องหัก 2% เข้ากองทุนธนาคารที่ดิน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการจัดทำกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยเฉพาะการเก็บภาษีในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ ให้เสียภาษีไม่เกิน0.5%ใน3ปีแรก หากไม่ได้ทำประโยชน์อีกกำหนดให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุกๆ 3ปี แต่ไม่เกิน 2% ของฐานภาษี ทั้งนี้ยังไม่เห็นการประเมินตัวเลขของฐานภาษีที่รัฐจะเก็บได้จากที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือกลุ่มใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี การนิยามความหมายการใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมถึงแนวทางที่ชัดเจนในการนำงบประมาณจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาจัดตั้งเป็นธนาคารที่ดิน และเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างการปฏิรูปสังคมร่วมกันได้จริงนั้น ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ได้มีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
Read More