Tag: ปล่อยวาง
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา ทุกปรากฏการณ์ ล้วนผ่านเข้ามาอย่างมีความหมาย วิสัชนา ทุกปรากฏการณ์ ล้วนผ่านเข้ามาอย่างมีความหมาย ในทางพุทธศาสนา เราถือกันว่าโลกนี้ “ไม่มีความบังเอิญ” เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของเรา ล้วนถูกออกแบบมาอย่างมีความหมาย ในมิติใดมิติหนึ่งเสมอ ปัญหาก็คือ เราจะเข้าใจความหมายที่ว่านั้นหรือเปล่า ? คนบางคน กว่าจะเข้าใจความหมายที่เป็น “สารพิเศษ” ที่ถูกส่งมาพร้อมกับบางปรากฏการณ์ ก็ต้องรอให้ผ่านวันเวลาไปแล้วกว่าครึ่งชีวิต แต่คนบางคนสิ้นชีวิตไปแล้วหลายปี คนรุ่นหลังจึงมองเห็นสารพิเศษที่ถูกส่งผ่านตัวเขา เมื่อคานธีเรียนจบกฎหมายใหม่ๆ มาจากอังกฤษ เขาเดินทางไปทำงานที่แอฟริกาใต้ ระหว่างเดินทาง คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง แต่พอโดยสารไปได้เพียงครึ่งทาง
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา ความว่างที่สร้างความสุข วิสัชนา ความว่างที่สร้างความสุข นักปราชญ์ชาวเอเชียกลางคนหนึ่งเล่าว่า มีชายหนุ่มอยู่คนหนึ่ง แกเป็นคนอัตคัตความสุข พยายามแสวงหาความสุขจากวิธีการต่างๆ แต่แล้วก็ยังรู้สึกว่า ไม่ใช่ความสุขแท้ที่ตัวเองต้องการ อยู่มาวันหนึ่ง มีผู้แนะนำว่า ถ้าอยากมีความสุขก็ควรจะมีบ้านเป็นของตัวเอง เพราะในบ้านของเรานั้น เราสามารถเป็นเจ้าของทุกอย่างในบ้านโดยที่ไม่ต้องมีใครมาคอยกวนใจ ซ้ำยังมีอิสระที่จะเสกสรรค์ปั้นแต่งหรือจัดบ้านให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองอย่างไรก็ได้ เขาเชื่อตามที่มีผู้แนะนำ จึงตัดสินใจสร้างบ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง เมื่อแรกสร้างบ้านนั้น บ้านของเขาหลังใหญ่ทีเดียว พอมีบ้านแล้ว เขามีความสุขมาก เขาเริ่มจัดบ้านตามต้องการ และเริ่มหาข้าวของต่างๆ มากมาย มากองไว้ในบ้านทีละอย่างสองอย่าง จนกระทั่งวันหนึ่ง ห้องว่างๆ
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน วิสัชนา ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน …………………… ว.วชิรเมธี ๑.ใครคือผู้นำ “ผู้นำ” ในทางพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า “นายก” แปลว่า “ผู้ที่มีศักยภาพในการเป็นหัวหน้ามหาชน” หรือ “ผู้ที่มหาชนพอใจในการบทบาทการเป็นผู้นำ” และ/หรือ “ผู้ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลในการดำเนินรอยตาม” หรือ “ผู้ที่อำนวยการให้การทำงานประสบความสำเร็จและทุกคนพอใจ” กล่าวอย่างสั้นที่สุด “ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นและผู้อื่นอยากดำเนินตาม” “ภาวะผู้นำ” ตรงกับคำว่า “นายกภาวะ” (นา-ยะ-กะ-พา-วะ)
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา เคล็ดลับแห่งความสุข วิสัชนา เคล็ดลับแห่งความสุข คนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า ความ “มี” มีความสุขมากกว่าความ “ไร้” การได้ “เป็น”คนมีชื่อเสียงมีความสุขมากกว่าการเป็นคน”สามัญ” แสนธรรมดา แต่…เมื่อถึงเวลาหนึ่ง หลายคนเริ่มคิดสวนทางกันความเชื่อของคนส่วนใหญ่ เพราะเริ่มค้นพบด้วยตัวเองว่าบางทีความ “มี” นั้นไม่ใช่คำตอบที่ทำให้เราพบกับความสุขแต่อย่างใด และบางทีความ “ไร้” กลับทำให้มีความสุขยิ่งกว่า เช่นเดียวกัน ใครบางคนตะเกียกตะกายที่จะได้เป็นนั่นเป็นนี่ แต่พอได้เป็นแล้วกลับโหยหาความเป็นคนธรรมดาสามัญที่คุ้นชินมาแต่ก่อน เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้ชมสารคดีบทสัมภาษณ์ประธานาธิบดีของประเทศติมอร์ตะวันออกแล้วประทับใจมาก นั่นคือ เมื่อนักข่าวซีเอ็นเอ็นคนหนึ่งถามท่านว่า หากเสร็จสิ้นภารกิจรวมประเทศแล้วท่านจะทำอะไรต่อ ท่านตอบด้วยแววตาทอประกายว่า
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา ธรรมในงาน งานในธรรม วิสัชนา ธรรมในงาน งานในธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทำให้ดอกบัวบาน ในโลกตะวันตกอย่างหมดจดงดงาม เคยเล่าถึงตัวท่านเองในสมัยที่ยังใช้ชีวิตเป็นนักเรียนน้อยอยู่กับครูบาอาจารย์ว่า ท่านอุทิศตนเจริญจิตภาวนาแทบล้มประดาตาย เดินจงกรมจนทางเดินลึกเป็นร่อง นั่งสมาธินานจนปัสสาวะเป็นเลือด แต่อาจารย์คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงปู่กินรี จันทิโย กลับมีปฏิปทาไปคนละอย่าง หลวงปู่ดูไม่ค่อยวุ่นวายกับจิตภาวนาชนิดเอาเป็นเอาตาย หลวงปู่ปฏิบัติสบายๆ นั่งสลับเดิน ทำอย่างนั้นนิดอย่างนี้หน่อย แล้วก็เปลี่ยนอิริยาบถไปบิณฑบาต กวาดลาน เย็บผ้า ซ่อมบริขาร มองอย่างผิวเผินเหมือนหลวงปู่ไม่สู้ให้ความสำคัญกับจิตภาวนาจนหลวงพ่อชาพลอยเข้าใจไปเองว่า
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา สรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน ช่วงที่เหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย คนในประเทศทะเลาะแตกความสามัคคีกัน ผมเกิดความเบื่อหน่ายอย่างมาก ไม่รู้จะช่วยชาติบ้านเมืองได้อย่างไร เลยเลิกสนใจข่าวสารทุกชนิด ตั้งหน้าทำมาหากินสนใจแต่เรื่องปากท้องของตัวเอง การกระทำเช่นนี้เรียกว่าเป็นการ “ปล่อยวาง” หรือไม่ การปล่อยวางต่างจากการวางเฉย ไม่ใส่ใจอย่างไร? วิสัชนา วิสัชนา การปล่อยวางมี ๒ ประเภท (๑) การปล่อยวางด้วยความรู้ (๒) การปล่อยวางความเขลา การปล่อยวางด้วยความรู้เกิดขึ้น เพราะผู้ปล่อยวางนั้น ตระหนักรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตว่า ไม่อาจยึดเอาสิ่งใดมาเป็นของตนได้อย่างถาวร เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา อย่าปล่อยให้ความโง่ลอยนวล วิสัชนา อย่าปล่อยให้ความโง่ลอยนวล เรื่องการสอนอย่างตรงไปตรงมาของหลวงพ่อปัญญายังไม่จบ เพราะยังมีกรณีศึกษาให้อ้างอิงเพื่อประเทืองปัญญากันอีกหลายเรื่อง เช่น ในงานมงคลสมรสของบ่าวสาวคู่หนึ่ง เขามานิมนต์หลวงพ่อปัญญาไปเป็นประธานในการทำบุญและเมื่อถึงเวลาจะต้องสวมแหวนหมั้น แต่ทุกคนก็ยังรีรออยู่ เมื่อถามได้ความว่ากำลังรอฤกษ์ หลวงพ่อปัญญาจึงว่าไม่ต้องรอก็ได้เพราะ “…แหวนมันเป็นรูอยู่แล้ว จะสวมเวลาไหนมันก็เข้าทั้งนั้น แล้วจะหาฤกษ์อะไรนักหนาให้มันช้าไป” คนไทยกับหมอดูเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก ในบรรดาหมอดูทั้งหลาย “หมอดูพระ” นับว่ามีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างสูง พอ ๆ กับที่น่าหวั่นเกรงเป็นอย่างสูงเหมือนกัน เพราะบางทีท่านไม่ได้ดูหมอเปล่า ๆ แต่ทำอะไรบ้างนอกจากนั้นคงไม่ใช่ภารกิจของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเน้น “เกร็ดธรรมะ” มากกว่า
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา หลวงพ่อ “ไม้บรรทัด” วิสัชนา หลวงพ่อ “ไม้บรรทัด” พระธรรมโกศาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ มีศักดิ์เป็น “น้องท่าน” ของท่านพุทธทาสภิขุมหาเถระแห่งสวนโมกขพลาราม ไชยา ทั้งสองท่านเป็นแม่ทัพธรรมที่แยกกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งเป็นประหนึ่งพี่ชายในทางธรรมมุ่งเผยแผ่ “สัจธรรม” หรือ “โลกุตรธรรม” คำสอนของท่านจึงเหมาะสำหรับปัญญาชนที่มีสติปัญญาสูงและต้องการศึกษาธรรมะเชิงลึกอย่างเรื่องอัตตา อนัตตา สุญตา นิพพาน ปรมัตถธรรม ส่วนท่านปัญญานันทภิกขุมุ่งเผยแผ่ “จริยธรรม” อันเป็นธรรมะภาคปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไป ธรรมะของท่านปัญญานันทภิกขุจึงใช้ถ้อยคำง่าย
Read More
ธรรมะในชีวิต
ปุจฉา ก้าวข้ามสังคมองคุลิมาล วิสัชนา ก้าวข้ามสังคมองคุลิมาล เอ่ยชื่อ “องคุลิมาล” ชาวพุทธทุกคนคงรู้จัก เพราะท่านเป็นคนดังหรือเซเลบแถวหน้าในสมัยพุทธกาล เดิมนั้น องคุลิมาลชื่อ “อหิงสกะ” แต่พอออกจากบ้านไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยตักสิลา ถูกครู “วางยา” ให้ไปล่านิ้วมือคน จึงได้ชื่อใหม่เป็น “องคุลิมาล” แปลว่า “ผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย” เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า อหิงสกะเป็นนักเรียนประเภทเกียรตินิยมเหรียญทอง เรียนอะไรก็ได้ที่หนึ่ง เพื่อนๆ จึง “ริษยา” อาการสืบเนื่องของโรคริษยาก็คือ “เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้” เมื่อทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องหาทาง
Read More
นิทานชาดก
ประโยชน์ของสัตว์ป่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง และในที่ไม่ไกลกันนักมีรุกขเทวดาตนหนึ่งอาศัยอยู่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ในป่านั้นมีราชสีห์กับเสือ ๒ ตัวอาศัยอยู่ เพราะกลัวราชสีห์และเสือพวกชาวบ้านจึงไม่ไปทำนาใกล้ป่าและไม่คิดที่จะเข้าไปตัดต้นไม้ในป่านั้น สัตว์ทั้งสองตัวเมื่อล่าเหยื่อได้แล้วก็จะฉีกกินเนื้อปล่อยให้เหลือแต่กระดูกทิ้งไว้ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วป่า วันหนึ่ง รุกขเทวดาตนนั้นได้แวะไปปรึกษากับรุกขเทวดาโพธิสัตว์ว่า ” เพื่อนรัก เพราะอาศัยราชสีห์และเสือสองตัวนี้ ป่าจึงมีกลิ่นเหม็นไม่สะอาด เราเสนอว่าให้ขับไล่สัตว์สองตัวนี้หนีไปที่อื่นเสีย ” พระโพธิสัตว์ห้ามว่า ” อย่าเลยท่าน เดี๋ยววิมานของท่านจะถูกทำลายนะ ” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า ” เพราะการคบหามิตรใด ความปลอดภัยจะหมดไป บัณฑิตควรรักษาลาภยศและชีวิตของตน ที่มิตรนั้นเคยครอบครองมาก่อนเอาไว้
Read More