Tag: 04 ธุรกิจ

รัฐวิสาหกิจโลจิสติกส์-ได้เวลาเปลี่ยนแปลงใหญ่

รัฐวิสาหกิจโลจิสติกส์-ได้เวลาเปลี่ยนแปลงใหญ่   ความจำเป็นที่ประเทศต้องมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายโลจิสติกส์ หรือระบบการจัดส่ง รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน เป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ยิ่งในยุคน้ำมันแพงด้วยแล้ว การลงทุนเหล่านี้ย่อมมีความสำคัญมากขึ้นเป็นทวีคูณ และการปรับปรุงให้ระบบโลจิสติกส์ และขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ราคาพลังงานผันผวนได้ ลำพัง ศักยภาพทางการเงิน ของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน และโลจิสติกส์ มีขีดจำกัด ดังนั้น จึงไม่อาจหวังได้ว่ารัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะอยู่ในสถานะที่จะขยับขยายการลงทุนเองได้ การปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม หรือสภาพดังกล่าว ย่อมหมายถึง การสูญเสียโอกาสในการขยายบริการพื้นฐาน ให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ระบบโลจิสติกส์และระบบขนส่งมวลชนที่ดี ยังเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การคาดหวังว่ารัฐวิสาหกิจเหล่านี้ จะผลักดันเมกะโปรเจคที่ใช้เม็ดเงินในการลงทุนระดับหมื่นล้านแสนล้านย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
Read More

ในเศรษฐศาสตร์มีนิทาน ‘ไม่ต้องการการพัฒนา’

ในเศรษฐศาสตร์มีนิทาน “ไม่ต้องการการพัฒนา” โดย ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มติชนรายวัน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 1.คนกลุ่มหนึ่งที่คัดค้านโครงการพัฒนาใหม่ๆ ของภาครัฐอยู่เสมอ มักจะถูกมองว่าไม่รักความก้าวหน้า ไม่รักดี และไม่ต้องการการพัฒนา 2.แต่การที่คนกลุ่มนี้ปฏิเสธข้อเสนอการพัฒนาของภาครัฐ ก็อาจจะมีเหตุผลที่น่ารับฟัง และต้องยอมรับว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะคิดเห็นแตกต่างกันได้ ดังนั้น การรับฟังและเข้าใจวิธีคิดของฝ่ายที่มองต่างมุม ก็น่าจะรับฟัง เหตุใดเขาจึงไม่ยอมรับข้อเสนอโครงการของหน่วยราชการ? ไม่ยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาล? ออกมาประท้วงหน่วยงานระหว่างที่ให้กู้ยืมเช่นธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย ฯลฯ
Read More

ข้อคิด 'ชื่อแบรนด์' แบบอินเดีย

ข้อคิด “ชื่อแบรนด์” แบบอินเดียบทความ  โดย ผศ.ดร.ชวนะ ภาวกานันท์  ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6  วันที่ 02 มิถุนายน 2548  ปีที่ 29 ฉบับที่ 3693 (2893) ได้รับรู้คำว่าแบรนด์หรือตรายี่ห้อสินค้า ส่วนมากก็มักมาจากทางซีกโลกตะวันตก แต่ทางตะวันออกนั้น ยังไม่ค่อยเปิดมุมมองกันนัก เลยขอเปิดมุมมองบ้างโดยยึดเอาลองพิจารณาแบบอินเดียดู ซึ่งที่สนใจอินเดียนั้น เพราะอินเดียมีภาษามากมาย ต่างวัฒนธรรมทางความคิดก็มากมาย ดังนั้น แนวคิดของนักการตลาด
Read More

การศึกษาในความคิดของ 'บิล เกตส์'

การศึกษาในความคิดของ “บิล เกตส์” บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 18 มีนาคม 2548 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยคงได้ยินเรื่องที่นิตยสารฟอร์บส์ จัด บิล เกตส์ ให้เป็นอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลกเป็นปีที่ 12 ติดต่อกัน ในกลุ่มอภิมหาเศรษฐีซึ่งมีทรัพย์เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ นั้น มีคนไทยรวมอยู่ด้วย 3
Read More

Guanxi : สัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลยุทธ์หลักเจาะธุรกิจจีน

Guanxi” : สัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลยุทธ์หลักเจาะธุรกิจจีน คอลัมน์ แยบยลกลยุทธ์ โดย ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค ประชาชาติธุรกิจ หน้า 8 วันที่ 23 สิงหาคม 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3612 (2812) แยบยลกลยุทธ์ ในวันนี้จะกลับมาย้อนแนวคิดการจัดการแบบเอเชียกันนะครับ ซึ่งหากกล่าวถึงเอเชียของเรา ปัจจุบันคงหนีไม่พ้นประเทศ จีน ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงว่าเป็นบ่อเงินบ่อทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้ครับ เรียกว่าถนนทุกสายมุ่งสู่จีนทีเดียว
Read More

เหตุขัดแย้งเพราะ 'คำพูด'

เหตุขัดแย้งเพราะ “คำพูด” คุณเคยมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ …..”ทำไมคนนั้นเค้าไม่พูดกับเรา” หรือ “ทำไมเพื่อนที่คุยด้วยเป็นประจำ เค้าแสดงสีหน้าบึ้งตึงกับเรา หรือ “ทำไมลูกน้องถึงแสดงกิริยาก้าวร้าวกับเรา” คำตอบจะมีจากหลายหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การไม่ถูกชะตากันแบบว่าไม่รู้ทำไม เห็นหน้าคนนี้ทีไร รู้สึกไม่ชอบเอาเสียเลย หรือความรู้สึกหมั่นไส้ เพราะชอบแสดงกิริยาโอ้อวดประจบเจ้านาย วัน ๆ ไม่ยอมทำงาน หรือเห็นคนอื่นเก่งหรือดีกว่าเป็นไม่ได้ และอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญและอาจจะถูกมองข้ามไปได้ นั่นก็คือ “คำพูด” ที่คุณสื่อสารออกไป โดยที่คุณเองไม่รู้เลยว่าคำพูดเหล่านั้นจะส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคุณกับผู้ที่คุณพูดด้วย ทั้งนี้ความขัดแย้งต่าง ๆ
Read More

คุณธรรมที่มี 'คุณภาพ'

คุณธรรมที่มี “คุณภาพ” ทุนมนุษย์ : จุมพฏ สายหยุด กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ตามปกติผมเป็นคนที่ กระอักกระอ่วนกับคำว่า “คุณธรรม” เพราะเห็นว่าใช้กันเกร่อ เพื่อเอาไว้กล่าวหาคนที่ตนเองไม่ชอบหน้า ยิ่งเห็นพวกชอบอ้าง “คุณธรรม” แล้วเวลาทำงานแล้วไม่ได้ความ ไม่ทันโลก ก็ยิ่งรู้สึกว่า เป็นเพียงข้ออ้างของความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้มีคุณธรรมอะไรมากมายเสียด้วยซ้ำ ผมเชื่อว่า “คุณธรรม” ต้องคู่กับ “คุณภาพ”
Read More

ยักษ์ใหญ่ 'ซิตี้กรุ๊ป' ถึง 'ผู้ประกอบการ' รายเล็ก

ยักษ์ใหญ่ “ซิตี้กรุ๊ป” ถึง “ผู้ประกอบการ” รายเล็ก ธงชัย สันติวงษ์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 เห็นข่าวรายงานว่า “MBA Entrepreneur บูม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ” ทำให้น่าสนใจและคิดต่อไปว่า สภาพการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขสภาวะเศรษฐกิจในรอบสามสิบปี จนมาเกิดวิกฤติการเงินโลกวันนี้ ว่า มีอะไรที่ให้ข้อคิดบทเรียนในทางบริหารจัดการได้บ้าง เพราะใครๆ ต่างรู้ว่า โลกยุคใหม่ได้มี “นวัตกรรมใหม่ด้านไอที” แล้วตามมาด้วยบทเรียนที่เจ็บแสบ
Read More

‘ความเป็นธรรม’ เรื่องใหญ่ที่สุดของไทย

ความเป็นธรรม” เรื่องใหญ่ที่สุดของไทย ประเวศ วะสี กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552 1. เรื่องใหญ่ที่สุด ถ้าเราทำแต่เรื่องปลีกย่อยเป็นชิ้นๆ ส่วนๆ โดยไม่เห็นเรื่องใหญ่ที่สุด ก็จะไม่สำเร็จหรือขัดแย้งกันมากขึ้น สังคมที่ขาดความเป็นธรรมจะมีความขัดแย้งและความรุนแรง ผู้คนจะไม่รักกัน และไม่รักชาติ แล้วก็จะวิกฤติมากขึ้นเรื่อยๆ จนล่มสลาย ความเป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดสำหรับมนุษย์หรือแม้แต่สัตว์ ถ้าขาดความเป็นธรรมประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไม่ได้ หรือแม้ล่มสลาย การขาดความเป็นธรรมเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไทย 2. “ช่องว่าง” ภาพมหภาคของความไม่เป็นธรรม
Read More

คิดข้ามฟาก : คบ 'เด็ก' สร้าง 'งาน'

คิดข้ามฟาก : คบ “เด็ก” สร้าง “งาน” ประภาส ทองสุข กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2552 เมื่อพูดถึง ริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) หลายๆ คน โดยเฉพาะนักการตลาดคงรู้จักเขาเป็นอย่างดี ธุรกิจของเขา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการในหลากหลายรูปแบบกว่า 200 บริษัท ภายใต้แบรนด์เดียวกันหมด คือ
Read More