Tag: การเจ็บป่วย
โรคมะเร็ง
จุฬาฯพบดีเอ็นเอกลายพันธุ์ต้นตอมะเร็ง From Bangkokbiznews หมอวิจัยพบดีเอ็นเอที่ซ่อมแซมตัวเองอย่างรวดเร็ว ต้นตอก่อเซลล์กลายพันธุ์นำไปสู่โรคมะเร็ง แนะผักผลไม้ชะลอการซ่อมแซมดีเอ็นเอให้ช้าลง ลดเสี่ยงมะเร็ง ศ.นพ.อภิวัตน์ มุทิรางกูร หน่วยปฏิบัติการวิจัยอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ของการเกิดมะเร็ง ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษาลึกถึงระดับดีเอ็นเอ พบปัจจัยหนึ่งที่ก่อโรคมะเร็งคือ การซ่อมแซมตัวเองอย่างรวดเร็วของดีเอ็นเอที่ฉีกขาด ทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ของโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งการกลายพันธุ์ดังกล่าวนำไปสู่โรคมะเร็ง ข้อมูลดังกล่าวได้จากการเชื่อมโยงความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์และพันธุศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ของโรคมะเร็ง และนำไปสู่การคิดค้นวิธีป้องกันและรักษาในอนาคต ก่อนหน้านี้ หน่วยปฏิบัติฯได้ค้นพบไวรัสสาเหตุโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก ซึ่งนำมาสู่การตรวจรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งซ้ำได้ ส่งผลให้ ศ.นพ.อภิวัตน์ ได้รับยกย่องให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส
Read More
03 การแพทย์ & สุขภาพ
โรคไข้ง่วงหลับ (sleeping sickness หรือ trypanosomiasis) ———————————– ทุกวันนี้ชีวิตประชากรจำนวนประมาณ 55 ล้านคน ของประเทศ Zaire, Angola, Uganda, Sudan และ Cameroon ซึ่งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกากำลังถูกคุกคามด้วยแมลง tsetse สถิติที่ได้จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ทุกปีจะมีคน 66,000 คน ล้มตายด้วยโรคไข้ง่วงหลับ (sleeping sickness หรือ trypanosomiasis) ที่แมลง
Read More
โรคหัวใจและหลอดเลือด
หวั่นน้ำอัดลมไดเอ็ต ‘ร้าย’ พอกัน! พบเชื่อมโยงความเสี่ยงโรคหัวใจ แม้ยังไม่อาจชี้ขาด แต่ผลวิจัยล่าสุดพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างน้ำอัดลมไดเอ็ตกับความเสี่ยงโรคหัวใจ เอเจนซี – นักวิจัยอเมริกันเตือนน้ำอัดลมปลอดน้ำตาล อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและเบาหวานที่เพิ่มขึ้น หลังพบผู้ใหญ่ที่ดื่มน้ำอัดลมทั้งแบบปกติและไดเอ็ต มีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมตาบอลิกเพิ่มขึ้นถึง 50% กลุ่มอาการเมตาบอลิกคือ กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และเบาหวานเพิ่มขึ้น เช่น การมีไขมันรอบเอวหนาเกินไป ความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลและไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์) สูง การศึกษาก่อนหน้านี้เชื่อมโยงการดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลกับปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ แต่การศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่อยู่ในวารสารเซอร์กูเลชันฉบับออนไลน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (23) ดร.รามจันทราน วสัน
Read More
โรคมะเร็ง
นักวิจัยญี่ปุ่นเผยโทรฯ มือถือไม่มีส่วนก่อมะเร็งสมอง From Pantip.com จากการศึกษาล่าสุดของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้โทรศัพท์มือถือนั้นไม่มีผลกระทบเพิ่มอัตราเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งสมองมากขึ้นแต่อย่างใด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ในญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ป่วยมะเร็วสมอง 322 ราย และผู้ที่ไม่ได้ป่วยอีก 683 ราย พบว่า โทรศัพท์มือถือนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งสมอง รวมถึงมีหลักฐานที่มากขึ้นที่จะแสดงได้ว่าโทรศัพท์มือถือไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งสมอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแผ่รังสีของโทรศัพท์มือถือแต่ละแบบ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมองในแต่ละส่วนด้วย โดยข้อมูลการศึกษาดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ใน British Journal of Cancer แล้ว ซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากคลื่นวิทยุต่อมนุษย์นั้นได้มีการศึกษามาเป็นระยะเวลากว่า 60 ปีแล้ว โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือนั้นค่อนข้างถูกศึกษาเป็นพิเศษว่า
Read More
โรคเอดส์
โอกาสในการติดเชื้อจากแม่ถึงทารก ด้วยการเคี้ยวอาหารป้อนให้ลูก ::: ข้อมูลจาก VOA News ภาคภาษาไทย ::: การที่แม่หรือผู้เลี้ยงเด็กอ่อนเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อป้อนให้กับเด็กทารกที่ฟันยังไม่ขึ้นนั้น อาจจะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกได้ ถ้าแม่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยสหรัฐฯ ออกมายืนยันว่า การที่แม่หรือคนเลี้ยงเด็กเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก่อนที่จะป้อนให้กับเด็กทารกนั้นอาจจะเป็นการถ่ายทอดเชื้อ HIV ให้กับเด็กได้ ในการประชุมที่เมืองบอสตันเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักวิจัยรายงานว่าในสหรัฐฯ มีการติดเชื้อในกรณีแบบนี้มาแล้ว 3 ครั้งในระหว่างปี 1993
Read More
โรคมะเร็ง
ความก้าวหน้าในการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ::: ข้อมูลจาก VOA News ภาคภาษาไทย ::: นักวิจัยโรคมะเร็งรายงานความก้าวหน้าสำคัญ ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผังเชื้อพันธุ์ของโรคมะเร็งร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสู่วิธีการวินิจฉัยและบำบัดรักษาที่ดีขึ้น นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Washington เมือง St. Louis รัฐ Missouri สามารถถอดรหัส DNA จากตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อของผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งที่เสียชีวิตเนื่องจากโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวในไขกระดูก – myeloid leukemia – ชนิดร้ายแรงได้ครบชุด และสามารถติดตามร่องรอยโรคที่เธอเป็นไปจนถึงต้นตอทางพันธุกรรมของโรคนี้ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
Read More
โรคทางสมอง
เรื่อง ความหวังใหม่ในการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองฝ่อ ::: ข้อมูลโดย VOA News ภาคภาษาไทย ::: วงการแพทย์มีความหวังมากขึ้นที่จะรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองฝ่อ หลังจากผลการทดลองเบื้องต้นในยุโรปและรัสเซียพบว่า ยา “ดิมเมอร์บอน” ช่วยปรับปรุงความทรงจำของผู่ป่วย และขณะนี้กำลังมีการทดลองในสหรัฐฯ โรคสมองฝ่อหรืออัลไซเมอร์นั้นเป็นความผิดปกติแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะบั่นทอนความทรงจำ ทักษะการใช้ภาษา และในที่สุดผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็จะไม่สามารถดูแลตนเองได้ ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นตามอายุ มูลนิธิดีนในรัฐวิสคอนซินซึ่งศึกษาวิจัยการใช้ยา “ดิมเมอร์บอน” จะส่งผลระยะยาวต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ พบว่า ยาชนิดนี้ให้ผลดีกว่าที่คาดไว้ คุณหมอเลสลีย์ เทย์เลอร์
Read More
โรคมะเร็ง
เรื่อง เรื่อง นักวิจัยพบสารในอาหารสำเร็จรูป ที่อาจเป็นตัวเร่งการเติบโตของมะเร็งปอด ::: ข้อมูลโดย VOA News ภาคภาษาไทย ::: จากการศึกษาที่ใช้หนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์ในเกาหลีใต้พบสิ่งส่อแสดงว่า สารเสริมอาหารชนิดหนึ่งที่พบในอาหารสำเร็จรูปหลายอย่าง อาจเป็นตัวเร่งการเติบโตของมะเร็งที่ปอด และทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งปอดในคนที่มี่แนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติของเกาหลีใต้ในกรุงโซล ศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่ปอด และพบหลักฐานมากขึ้นว่า การได้รับสารเสริมปรุงแต่งอาหาร inorganic phosphates ที่ใส่ในเนื้อ เนย และขนมปัง หรือขนมอบต่าง ๆ เพื่อให้มีความชุ่มชื้นนั้น อาจมีส่วนสำคัญในการขยายตัวเติบโต
Read More
ยา/เซรุ่ม
เรื่อง เภสัชพันธุศาสตร์ไทยรุดหน้า From Bangkokbiznews “เภสัชพันธุศาสตร์” ก็เป็นผลพวงหนึ่งจากการถอดรหัสพันธุกรรม ที่ช่วยให้แพทย์สามารถปรับขนาดการให้ยาได้เหมาะสม รวมทั้งย่นเวลาค้นหาและพัฒนายาใหม่ เภสัชพันธุศาสตร์ หรือ Pharmacogenomics เกิดจากการผสานของเภสัชศาสตร์กับความก้าวหน้าด้านข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม ที่เน้นลงลึกถึงระดับพันธุกรรม ดีเอ็นเอจนถึงสนิปส์ ซึ่งเป็นความแตกต่างเพียง 0.1% ของรหัสพันธุกรรมมนุษย์ นอกจากจะนำไปสู่การพัฒนายาใหม่ประสิทธิภาพสูง ยาเฉพาะบุคคล ยังเป็นประตูสู่การรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติระดับพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ผลงานวิจัยด้านเภสัชพันธุศาสตร์ของไทยปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาการแพทย์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โครงการเภสัชพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ทีเซลส์) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Read More
วิทยาศาสตร์
เรื่อง เหตุใดมนุษย์เราจึงชอบทำอะไรเสี่ยงๆ แบบที่คาดไม่ถึง? ::: ข้อมูลโดย VOA News ภาคภาษาไทย ::: ทำไมคนเราจึงชอบทำอะไรเสี่ยง แบบที่คนคาดไม่ถึงอย่างเล่นพนันไพ่ยี่อิ้ด หรือกระโดดออกมาจากเครื่องบิน โดยที่บางครั้งไม่ได้เงินทองตอบแทนเลยก็มี แน่นอนว่าการทำอะไรเสี่ยงแบบนั้น ผู้ทำอาจเกิดความตื่นเต้นเร้าใจแน่ๆ แต่ช่วงของความปลาบปลื้มปิติระยะสั้นๆ ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวไม่น่าจะทำให้ผู้ที่ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ กลับมาทำอะไรเสี่ยงๆ แบบนั้นอีก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ที่นครแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และของวิทยาลัยแพทยศาสตร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่นครนิวยอร์ก นำรายงานการวิจัยฉบับใหม่ออกเผยแพร่ รายงานระบุว่า สารเคมีโดปามีนซึ่งทำให้สมองของคนรู้สึกเบิกบานนี่แหละ
Read More