Tag: กฏหมายธุรกิจ

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (5)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (5) กรณีศึกษา Napster Napster เป็นบริษัทให้บริการเพลงออนไลน์ซึ่งเป็นการให้บริการการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลระหว่างกันสร้างขึ้นโดย Shawn Fanning เทคโนโลยีของการให้บริการนี้อนุญาตให้แฟนเพลงสามารถใช้ไฟล์MP3ร่วมกัน MP3เป็นการบีบอัดเสียงให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเพื่อที่จะสร้างเสียงให้เหมือนกับเสียงเพลงต้นฉบับ Napsterเป็นบริษัทแรกที่เป็นที่นิยมของประชาชนในระบบการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลระหว่างกันแบบ peer-to-peer บนอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายแบบpeer-to-peer ไม่ได้ระบุผู้รับบริการ(Clients)และผู้ให้บริการ(Server) เพื่อที่จะติดต่อไปยังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต้องมีIP Address ซึ่งในความจริงแล้วอุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address (บางครั้งถูกเรียกว่าnode)สามารถถูกเชื่อมโยงกับระบบเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ เว็บไซต์ของNapsterจะทำการรักษารายชื่อของnodeและรายชื่อของไฟล์ข้อมูลที่มีอยู่ในnodeเหล่านั้น โดยการทำงานตามรายการคำสั่งนั้นจะถูกดำเนินการโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ไฟล์ข้อมูลที่ได้รับจากการช่วยเหลือของNapsterเหล่านี้ผู้คนจำนวนมากทำการรวบรวมเป็นอัลบั้มในรูปแบบแผ่นซีดีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุนี้บริษัทเพลงจำนวนมากจึงได้กล่าวโทษว่าทำให้ยอดขายเพลงนั้นลดลง หลังจากที่Napsterได้เปิดให้บริการในปี 1999 สิ่งเหล่านี้ทำให้Napsterเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและรายงานในปี2001พบว่าNapsterมีผู้ใช้ถึง13.6ล้านคน
Read More

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (4)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (4) การคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพลงบนอินเทอร์เน็ต การคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพลงจากอินเทอร์เน็ตเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การกระทำเช่นนี้เป็นการปฏิบัติตามปกติสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะทำการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลเพลงไปยังเครือข่าย(อัพโหลด)และคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพลงจากเครือข่ายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน(ดาวน์โหลด)จากอินเทอร์เน็ต เพลงส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ เนื่องจากจำนวนการลักลอบการเผยแพร่เพลงบนอินเทอร์เน็ตทำให้บริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เริ่มที่จะผลักดันให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท การผลักดันเช่นนี้ไม่ได้มีขึ้นเพียงแค่ในศาลแต่ยังมีในการโน้มน้าวให้ออกพระราชบัญญัติและบังคับใช้พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ US Digital Millennium เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการโน้มน้าวบังคับใช้เพราะพระราชบัญญัติได้กำหนดให้webcasterต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทบันทึกเพลงที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนั้นอยู่ ปัญหาคือผู้ฟังไม่จ่ายเงินสำหรับการฟังเพลงออนไลน์และทำให้webcasterไม่สามารถมีผลกำไรจากการเผยแพร่เพลงนั้น การใช้ข้อกำหนดนี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อสถานีวิทยุออนไลน์ อุตสาหกรรมเพลงถูกรวบรวมขึ้นเป็นองค์กรเป็นอย่างดีเพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ของตนเอง เพื่อที่จะส่งเพลงผ่านอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การที่ผู้ใช้บริการเพลงไม่สามารถเจรจาต่อรองกับเจ้าของลิขสิทธ์ทุกคนทำให้ระบบของการรวบรวมการจัดการของสิทธิได้ถูกสร้างขึ้นมาก่อนยุคของอินเทอร์เน็ต องค์กรการจัดการการรวบรวมเจรจากับผู้ใช้เช่นสถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ตหรือกลุ่มของผู้ใช้และให้สิทธิแก่การใช้ลิขสิทธิ์ของพวกเขาทำงานจากเพลงเก่าที่สะสมไว้เทียบกับค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขที่แน่นอน ในข้อตกลงเช่นใบอนุญาตถูกทำให้เป็นมาตรฐานและโดยปกติจะไม่สามารถถูกซื้อขายได้ องค์กรการจัดการการรวบรวมแจกจ่ายค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ไปยังสมาชิกผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ องค์กรการจัดการการรวบรวมถูกจัดตั้งขึ้นบนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับดินแดนเพื่อเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกและกลุ่มคนระดับประเทศที่มีการรวมตัวกันในระดับระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาจากการแสดงความคิดซึ่งกันและกันถูกสรุประหว่างสมาคมแห่งชาติหลาย ๆ สมาคมบนหลักเกณฑ์สำคัญซึ่งเฉพาะสมาคมแห่งชาติถูกให้สิทธิที่จะจัดการไม่เพียงแต่เพลงเก่าที่สะสมไว้ของชาติตนแต่ยังรวมถึงการเพลงต่างประเทศที่สะสมไว้ของสมาคมอื่น ในความสัมพันธ์กับการส่งข้อมูลเพลงแบบดิจิตอลบริษัทและองค์กรการจัดการการรวบรวมใช้ การจัดการสิทธิแบบดิจิตอลเพื่อบังคับให้ผู้ใช้ยินยอมกับข้อตกลงของใบอนุญาต สิทธิในการจัดการข้อมูลถูกคุ้มครองโดยสัญญาอินเทอร์เน็ตระหว่างชาติที่กล่าวมาข้างต้น
Read More

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (3)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (3) ประเด็นเรื่องการเข้ารหัส HTML และการออกแบบเว็บ HTML เป็นศัพท์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ HTML หมายถึงภาษามาตรฐานที่มีรูปแบบเป็นตัวหนังสือซึ่งมีWorld Wide Web เป็นพื้นฐาน เอกสารHTMLเป็นไฟล์ข้อมูลตัวอักษรซึ่งประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนของข้อความภายในซึ่งจะถูกแปลความเพื่อที่จะแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และส่วนที่สองคือส่วนของ มาร์คอัพหรือแท็กซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสเพื่อใช้ควบคุมตัวหนังสือหรือการเขียนหรือการวาดเกี่ยวกับรูปภาพต่าง ๆ หรือการแสดงเสียงบนคอมพิวเตอร์ซึ่งจะถูกซ่อนไม่ให้ผู้ใช้เห็นข้อมูลส่วนนี้ แท็กต่างที่ต่างกันก็ปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันไปรวมถึงแท็กที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นโดยใช้ชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์(URL) เอกสารเหล่านี้จะถูกเก็บในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับ World Wide Web ก็ได้ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารเหล่านี้โดยการคลิกบนลิงค์ที่ปรากฏบนหน้าจอ HTMLยอมให้ผู้ใช้พิมพ์และส่งข้อมูลผ่านอีเมล์และทำการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตหรือคัดลอกข้อมูลไปยังเอกสารรูปแบบอื่นได้ เบราว์เซอร์เป็นโปรแกรมโปรแกรมหนึ่งที่ให้ผู้ใช้สามารถทำการค้นหาเว็บและสามารถดูเอกสารส่วนที่เป็นโค้ดHTMLได้ โดยที่เบราว์เซอร์จะทำการแปลแท็กHTMLและทำเป็นรูปแบบข้อความภายในเว็บเพจเพื่อที่จะใช้สำหรับแสดงผลบนหน้าจอ
Read More

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (2)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (2) ประเด็นเรื่องการเชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงในธรรมเนียมของกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ถูกทำขึ้นในระดับสากลเพื่อที่จะปรับให้เข้ากับความเป็นจริงของอินเทอร์เน็ต การเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ถูกต้องนั้นคือสาระสำคัญในการถกเถียง การทำสัญญาพิเศษในบางกรณีก่อให้เกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมายขึ้นอย่างหลากหลาย ประเด็นหนึ่งที่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตขึ้นนั้นคือการเชื่อมโยงเว็บ การเชื่อมโยงเว็บเกิดขึ้นเมื่อเว็บไซต์หนึ่งมีการอ้างอิงไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้คลิกที่ลิงค์อ้างอิงและดูรายละเอียดเนื้อหาในเว็บไซต์ การเชื่อมโยงปกติจากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกหน้าโฮมเพจหนึ่งของเว็บไซต์อื่นถือว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปัญหาจะเกิดขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า “deep linking” deep linking คือการเชื่อมต่อหน้าภายในของเว็บไซต์ซึ่งอยู่ลึกกว่าหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์โดยไม่ผ่านหน้าหลักหรือหน้าแรกของโฮมเพจ นักกฎหมายบางท่านอ้างเหตุผลว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในข้อมูลของเว็บไซต์เพราะ เว็บไซต์ที่ใช้การเชื่อมโยงต่อหน้าเว็บไซต์ภายในของเว็บไซต์อื่นอาจจะสร้างตราข้อมูลลำดับรองของเวบไซต์หลักที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยการใช้ลิงก์ ลิงค์บนเว็บไซต์ Framing ถือว่าเป็นการเชื่อมต่อหน้าภายในของเว็บไซต์อื่นเช่นกันเมื่อผู้ใช้เห็นรายละเอียดของเว็บไซต์ต้นฉบับซึ่งอาจจะมีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ถูกวางอยู่ในเว็บไซต์อื่น หรือในชื่อเรียกที่อยู่ของเว็บไซต์ที่แตกต่างกันและอาจจะเป็นไปได้กับเครื่องหมายและการโฆษณาที่แตกต่างกัน การทำการเชื่อมโยงหน้าภายในเว็บไซต์อื่นถือเป็นเรื่องปกติของเว็บไซต์ข่าว สหภาพยุโรปเป็นองค์กรแรกที่พยายามคุ้มครองฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์จากเว็บไซต์ผู้รวบรวมข่าว กฎหมายการคุ้มครองฐานข้อมูลได้รับการร้องขอหลายครั้ง กฎหมายนี้ไม่เพียงแต่คุ้มครองฐานข้อมูลซึ่งเป็นต้นฉบับในการเลือกและกำหนดรายละเอียด แต่ยังรวมถึงฐานข้อมูลซึ่งกำหนดเนื้อหาของการให้ ในสหรัฐอเมริกาไม่มีการใช้กฎหมายแบบนี้ อย่างไรก็ตามหลักการทั่วไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาถูกใช้โดยเจ้าของฐานข้อมูลเพื่อต่อสู้กับการเชื่อมโยงหน้าภายในของเว็บไซต์อื่นซึ่งมีบ่อยครั้งที่ไม่ประสบความสำเร็จ
Read More

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (1)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (1) บทนำ ตาม Berne Convention ซึ่งเป็น อนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ที่สำคัญที่สุด ได้ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ครอบคลุมทั้ง วรรณกรรม และงานศิลป์ รวมทั้งรูปแบบของงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่พบบนอินเทอร์เน็ต เช่น งานเขียน ข้อความทางวิทยาศาสตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานดนตรี งานศิลปะ ภาพวาด ภาพเขียน สิทธิ์ดังกล่าวยังคุ้มครองถึงงานที่มีผู้อื่นได้เพิ่มคุณค่าในการแสดงงานวรรณกรรมและศิลปะสู่สาธารณชน เช่น นักแสดง นักร้อง
Read More

E-COMMERCE กับกฏหมาย (8)

E-COMMERCE กับกฏหมาย (8) ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การเข้ารหัสของข้อมูล (Cryptography) โดยใช้ Public Key Infrastructures (PKI) และหลักการทำงานของลายมือชื่อดิจิตอล PKI เป็นการเข้ารหัสของข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ลายมือชื่อดิจิตอลได้นำหลักการทำงานของ PKI มาใช้ ถ้าช่องทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลนั้นปลอดภัย การเข้ารหัสข้อมูลคงไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงช่องทางในการส่งข้อมูลไม่ได้มีความปลอดภัย 100% แม้แต่ในการส่งจดหมายโดยทั่วไป หรือการส่งนำเงินสดไปทางจดหมายถือว่าไม่มีความปลอดภัยเลย เพราะช่องทางในการส่งข้อมูลเป็นช่องทางสาธารณะ เช่นเดียวระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเปิด (Open Environment)
Read More

E-COMMERCE กับกฏหมาย (7)

E-COMMERCE กับกฏหมาย (7) ความปลอดภัยในการเจรจาการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ท จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดสำหรับการค้าทางอินเตอร์เน็ทคือ การขาดความน่าเชื่อถือในความปลอดภัยในการเจรจาทางการค้า แม้ว่าสื่ออินเตอร์เน็ทจะมีความก้าวหน้ามาก ผู้ทำสัญญาสามารถมองเห็นและได้ยินกันและกันผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในหลายสัญญาเกี่ยวกับผู้บริโภคจะถูกจำกัดอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า ข้อตกลง web-wrap หรือ click – wrap คือเมื่อผู้บริโภคเข้าไปในเว็บของผู้ขาย ทำการดูสินค้า และถ้าหากผู้ซื้อต้องการจะซื้อ ผู้ซื้อจะต้องคลิกไอคอนเพื่อยอมรับเงื่อนไขและสัญญา ซึ่งจากนั้นจะนำไปสู่แบบฟอร์มการสั่งซื้อ ที่ผู้ซื้อต้องทำการกรอกข้อมูลที่มีทั้งส่วนตัวและการเงิน หลายๆกรณีที่ผู้ซื้อต้องทำการกรอกหมายเลขบัตรเครดิตหรือเดบิตด้วย เพราะมันกลายเป็นวิธีสามัญสำหรับการค้าทางอินเตอร์เน็ตไปแล้ว ซึ่งมีเรื่องที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยเกิดขึ้นในลักษณะสัญญาแบบนี้ กล่าวคือ สำหรับผู้ขายแล้วย่อมเป็นห่วงว่าผู้ซื้อมีความสนใจในการซื้อสินค้าจริงหรือไม่ แล้วผู้ซื้อจำกรอกข้อมูลตามความเป็นจริงรึเปล่า เพื่อมิให้การจ่ายเงินจากผู้บริโภคจะเป็นอันยกเลิก
Read More

E-COMMERCE กับกฏหมาย (6)

E-COMMERCE กับกฏหมาย (6) เรื่องเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจศาล ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการค้าทางอินเตอร์เน็ทคือ การกำหนดว่าจะใช้กฎหมายใด และศาลใดเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี เนื่องมาจากการเจรจาการค้าบนอินเตอร์เน็ทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลที่แตกต่างกัน และอยู่ภายใต้กฎหมายที่ต่างกันด้วย จึงเป็นสิ่งสามัญธรรมดาสำหรับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่จะเลือกกฎหมายอังกฤษมาใช้ปฏิบัติในสัญญา แต่ก็มิได้หมายว่าศาลอังกฤษจะเป็นศาลที่จะรับพิจารณาคดี ต้องนำกฎอันซับซ้อนของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมาใช้ด้วย ….. (ประโยคต่อไปนี้ เพื่อนเค้าไม่ได้แปลมาค่ะ ดิฉันจะแปลเพิ่มเติมนะคะ ) มีประเด็นบางอย่างที่สำคัญมาก ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้ว ในยุโรป กฎพิ้นฐานของขอบเขตแห่งอำนาจรัฐนั้นภูมิลำเนาซึ่งจำเลยอยู่ในขณะนั้นหรือที่ตั้งของทรัพย์สินของจำเลยในประเทศที่กระบวนการทางกฎหมายเริ่มต้นขึ้น โดยลักษณะทั่วไปของ e-commerce กฎพิ้นฐานข้อนี้มีอิทธิพลมากที่สุด และทำให้มีความรู้สึกสะกิดใจเล็กน้อยในการฟ้องบริษัทในประเทศของตัวเองซึ่งเป็นประเทศที่มิใช่ภูมิลำเนาที่จำเลยอยู่ในขณะนั้นหรือไม่ได้เป็นสถานที่ตั้งทรัพย์สินของจำเลย เพราะสถานการณ์จะต่างกัน หมายความว่าถ้าประเทศที่มีการฟ้องเกิดขึ้นนั้น
Read More

E-COMMERCE กับกฏหมาย (5)

E-COMMERCE กับกฏหมาย (5) การวางหลักเกี่ยวกับสัญญาและกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิ ผู้บริโภคมีสิทธิของตนที่ดำรงอยู่อย่างอิสระและแน่นอน ไม่ว่าผู้ค้าทางอินเตอร์เน็ทจะเห็นชอบที่จะระบุถึงสิทธินั้นในสัญญาหรือไม่ก็ตาม เนื่องมาจากเป็นความต้องการของผู้มีอำนาจสาธารณะ(ความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานสาธารณะ เช่น องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค)ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากการวางข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมที่ได้แพร่กระจายอยู่อย่างเงียบๆ (จากการทำข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมซึ่งแพร่กระจายอย่างกว้างขวางมากทีเดียว) โดยจุดประสงค์ของข้อสัญญาและเงื่อนไขที่กฎหมายมองว่าไม่เป็นธรรมนั้น คือ เพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบจากการขายสินค้าที่บกพร่องหรือราคาไม่เป็นธรรม หรือให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือผิดเกี่ยวกับสินค้าที่จะขาย เว็บไซต์จำนวนมากยังคงมีข้อสัญญาและเงื่อนไขอันไม่เป็นธรรมอยู่ แม้ว่าในความเป็นจริงนั้น ในหลายๆประเทศ การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่ง คือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามนั่นเอง สาเหตุที่ข้อสัญญาและเงื่อนไขเหล่านั้นยังคงถูกเขียนไว้ เพราะความหวังอันน้อยนิดที่คาดว่าผู้บริโภคจะไม่รู้ไม่ได้ใส่ใจถึงสิทธิทั้งหลายของตน ในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ข้อสัญญาจะคัดลอกต่อๆกันจากผู้ค้าทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่จะตามมา ตัวอย่างของข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมที่พบจากเว็บไซท์ thaigems.com หนึ่งในบริษัทธุรกิจ
Read More

E-COMMERCE กับกฏหมาย (4)

E-COMMERCE กับกฏหมาย (4) การเสนอและการตอบรับ มันเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักธุรกิจที่ทำการค้าทางอินเตอร์เน็ทที่จะต้องทราบถึงวิธีการทำคำเสนอบนอินเตอร์เน็ท เพราะหากว่าคำเสนอถูกตอบรับแล้ว ผู้ทำคำเสนอจะต้องผูกพันตามกฎหมายที่จะปฏิบัติตามคำเสนอนั้น ยิ่งวิธีทำการค้าทางอินเตอร์เน็ทนี้นั้นทำให้เกิดความสับสนมากขึ้นอีก เพราะการทำธุรกิจทางอินเตอร์เน็ทนี้สามารถทำให้เสนอสินค้าให้กับทุกคนได้ทั่วโลกผ่านหน้าเว็บ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าผู้ค้าทางอินเตอร์เน็ทจะไม่สามารถจัดสินค้าหรือบริการได้หมดเพราะได้รับคำสั่งจำนวนมากผ่านอินเตอร์เน็ทนี้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเป็นการทำลายชื่อเสียงของธุรกิจเท่านั้น แต่เป็นการสร้างปัญหาทางกฎหมายด้วย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินตามมา หนทางที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คือ ไม่ผูกมัดข้อเสนอ แต่ให้ทำตามวิธีการที่กฎหมายเรียกว่า “การเชิญเพื่อเจรจา” หมายความว่า สินค้าที่ผู้ขายทำการโฆษณาบนหน้าเว็บจะส่งให้กับผู้สั่งเฉพาะเมื่อผู้ขายได้ทำการยืนยันกับผู้ซื้อแล้วเท่านั้นว่า ผู้ขายจะขายสินค้านั้น และอาจยังต้องการการยืนยันกลับจากผู้ซื้อด้วยอีกว่าผู้ซื้อต้องการดำเนินการต่อไปหากผู้ขายได้ทำการบยืนยันส่งสินค้าแล้ว ซึ่งวิธีการนี้เป็นข้อเสียเปรียบที่ว่าจะต้องเพิ่มระยะเวลาในการทำสัญญาอีกสองสามวัน ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตามก็เป็นการสร้างมั่นใจให้กับผู้ขายว่าจะสามารถทำตามใบสั่งได้ และในขณะเดียวกันจะได้ตรวจสอบได้ด้วยว่าผู้ซื้อต้องการซื้อจริง เพื่อให้สัญญาผูกมัดคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย คำเสนอต้องถูกยอมรับ โดยปกติคำเสนอจะยังไม่ถูกรับจนเมื่อคำตอบรับได้ถูกส่งไปให้ผู้เสนอแล้ว
Read More