SQ เชาวน์แห่งจิต เพื่อธุรกิจและการจัดการ

SQ เชาวน์แห่งจิต เพื่อธุรกิจและการจัดการ
คอลัมน์ บทความ โดย ผศ.ดร.ชวนะ ภวกานันท์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 03 มีนาคม 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3667 (2867)

SQ (spiritual intelligence quotient) เป็นหน่วยการวัดเชาวน์ปัญญาที่ละไว้ฐานเข้าใจ SQ คือเชาวน์แห่งจิตสำนึก/วิญญาณ เรียกสั้นๆ ว่า “เชาวน์จิต” เกิดขึ้นในปี 1990 โดย ไมเคิล เพอซิง เกอร์ นักจิตประสาทสนใจการทำงานของสมองแบบรวม

ในปี 1997 วี เอส รามาชันดรัน และคณะแห่ง ม.แคลิฟอร์เนีย และเทอเรนซ์ เดียร์คอน นักมนุษยวิทยา เขียนหนังสือชื่อ THE SYMBOLIC SPECIES มองความสัมพันธ์ระหว่างสมอง อารมณ์ และจินตนาการ ได้ศึกษาสัญลักษณ์เชิงสังคม โดยใช้ทฤษฎีลัทธิเต๋า (ลัทธิความว่างเปล่า) มาอธิบาย

ด้านอิสราเอลมีนักคิดชื่อ เอบราแฮม เฮชเชล ได้ศึกษาและสรุปว่าก่อนจะศึกษาคนอื่นต้อง ศึกษาตนเองก่อน ประยุกต์ได้กับการจัดการและธุรกิจคือ ต้องรู้เราก่อนรู้เขา และวางกลยุทธ์ชนะตัวเราก่อน

ดานาห์ โซฮาร์ (Danah Zohar) นักจิตวิทยาใช้แนวคิดนี้ร่วมกับ Ian Marshall เขียนหนังสือเรื่อง SQ ระบุว่า SQ คือวิถีทางสร้างผู้นำพันธุ์แนวหน้าซึ่งอบรมและใช้สอนกัน ขณะนี้ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

ดร.ไทโกะ แห่ง ม.ฟิลิปปินส์ ได้ประยุกต์ ว่า การเรียนรู้ของคนในยุคใหม่เข้าสู่ยุคที่ 3 (third literacy)

ยุคแรกมนุษย์เรียนรู้จากหนังสือพิมพ์

ยุคที่ 2 เรียนรู้จากอิเล็กทรอนิกส์

ยุคที่ 3 เรียนรู้จากเครื่องคอมพิวเตอร์

และยุคที่ 4 เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อต่อสู้กับข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งขึ้นจากอินเทอร์เน็ต และคนที่ติดเว็บไซต์มีผลต่อการรับสารทำให้ได้ความรู้ที่ไม่กระจ่างเป็นผลจากการขาดความเข้าใจใน SQ

เหตุนี้ประโยชน์ของ SQ สามารถนำมาพัฒนาความเป็นผู้นำและคนไทยได้ด้วยการสร้าง peak performance หมายถึงการสร้างความสามารถสูงสุด ทำธุรกิจและจัดการอย่างไรให้เป็นกำไรและชื่อเสียง ประยุกต์กลยุทธ์ธุรกิจให้ได้

เป็นการทำตลาดอัจฉริยะ (marketing intelligence) ใช้วิเคราะห์เต๋า และให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้โดยทำการตลาดดักหน้า เพราะ SQ เห็นว่า

IQ ใช้ดูว่าคนเราจะใช้ปัญญารับมือในภาวะกดดันได้อย่างไร ทั้งการจัดการและธุรกิจ

EQ คือ อุเบกษา การค้นหาสมมติฐานของปัญหาและหาทางแก้ไขให้ได้ทั้งการจัดการและธุรกิจ

SQ คือ การรู้จักแก้ปัญหาอย่างฉลาด ปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ และดักหน้าการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น basic assumption ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของ SQ จะมีดังนี้

– คนเราเกิดมาเพื่ออะไร

– อะไรคือความหมาย หรือคุณค่าแห่งชีวิตเรา

– เราควรจะทำอย่างไรเมื่อล้มเหลว พ่ายแพ้ ดวงคนเรามีขึ้น-ลงเหมือนเหรียญสองด้าน ต้องรู้จุดผิดพลาด

– เราแน่ใจได้หรือว่าเพียง IQ หรือ EQ จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้

คนไทยเรามักรักสนุก ไม่ชอบเรียนรู้ คิดสั้นเฉพาะหน้า ไม่ชอบอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ หรือเชื่อในตำราเดิมๆ แล้วบอกว่าคลาสสิก ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา SQ ของคนไทยโดยเฉพาะทางธุรกิจและการจัดการ

องค์ประกอบของความฉลาดที่ SQ นำมาประยุกต์ได้จะให้ข้อคิดของความฉลาดที่แท้อย่างดี

1.รู้จักใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจะเป็นสิ่งแสดงภูมิปัญญา เป็นนักสื่อสารที่ดีจะต้องให้ความสนใจสื่อสารการตลาดและภาษาในการสื่อสารการตลาด

2.รู้จักเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์

3.รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ซ้ำซากกับผู้อื่น

4.การเคลื่อนไหวร่างกายคือค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ

5.ความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการใช้ MQ (moral intelligence quotient) คือสำนึกในจริยธรรมทางการทำธุรกิจในระบบคิด real concept การสร้าง SQ ได้ต้องหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ทางการคิด

1.เห็นสิ่งใดต้องคิดว่าไม่ใช่ของเรา ไม่มี เป็นไปไม่ได้ ต้องเลิกคิด

2.องค์กร ทีมงาน อำนาจ ผลกำไร ไม่ใช่ของเรา แต่ต้องให้เขาสร้างผลกำไรร่วมกับเรา

3.ต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ด้วยสมองแบบ 360 องศา ยกกำลัง 2 คิดวนแบบก้นหอย

4.เปลี่ยนแง่มุมในการวางแผนชีวิตธุรกิจแบบเดิมๆ ที่ดูความสามารถและอาชีพเป็นหลัก หรือกำไรชั่วคราว

5.รู้จักคิดแบบผสมผสานทั้งการตลาดและเทคโนโลยีกับความคิดใหม่

ดังนั้น ลักษณะผู้มี SQ ที่ดีต้องมีดังนี้

1.rethink เลิกหลงความรู้ทุกอย่างที่มี ต้องเรียนรู้ใหม่ๆ เสมอ ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลง จงเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลง หัดขี้สงสัย คนเรามักยึดติดในอาชีพทำให้สูญเสียโอกาสหรือยึดติดความคิดจากสาขาที่จบมา

2.retest หมั่นตรวจสอบคุณภาพวิสัยทัศน์ของตนเองดูว่าเป็นคน active หรือ passive ทางอารมณ์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสภาพแวดล้อมของครอบครัว การตรวจสอบนี้เพื่อให้รู้จักเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส รู้จักคิดในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลายให้เกิดประโยชน์ (form utility) ทั้งในด้านเวลา สถานที่ที่เปลี่ยนไปจะเกิดประโยชน์อะไรได้บ้าง แทนที่จะให้ต้นแบบทางความคิด (platform) เดิมๆ ในการคิดตามหลักการคิดแบบ 6 ซิกม่า จงควบคุมชะตาชีวิตของตนเองอย่าให้คู่แข่งคุมชะตาเรา ต้องจริงใจอย่าแข่งกับใครถ้าไม่ได้เปรียบ วิเคราะห์หาข้อบกพร่องเสมอด้วยการหาจุดที่ไม่ขายสินค้า/ บริการเราได้ และจงใช้กลยุทธ์ศัตรูทำลายศัตรูโดยใช้หลักของ 6 ซิกม่า ซึ่งได้มีการแบ่งประเภทของคนไว้ดังนี้

1.พวก champion คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมอบหมายงานแก่ลูกน้อง ถ้าทางการจัดการ ถ้าธุรกิจต้องสร้างสินค้า ธุรกิจแบบครองตลาด

2.ทีมสายดำ พวกวางนโยบายรับผิดชอบในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าหรือทางจัดการให้ลูกน้องพอใจ

3.พี่เลี้ยงทีมสายดำ พวกที่สอน ทบทวน แก้ปัญหาให้คนในองค์กรควรตั้งให้มีคณะกรรมการศักดิ์ศรีแห่งบริษัท (pride committee) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาองค์กรแก้ปัญหาทั้งภายในและการตลาด เพราะกรรมการนี้เป็นคนที่มีประสบการณ์มากหรือนักวิชาการ

4.tangible asset แปลงจากสิ่งที่มีรูปร่างให้ไม่มีรูปร่างคือ สู่จิตของคน อารมณ์คนในการจัดการและธุรกิจ

5.สร้างมูลค่าเพิ่มให้ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นฝ่ายที่หากำไรให้องค์กรด้วยการพิจารณาคัดเลือกคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน หรือในทางธุรกิจสร้างลูกค้าที่มีอำนาจซื้อสูงและต่อเนื่อง หรือสร้างลูกค้าจากกิเลสลูกค้า

6.เพิ่มคุณค่าทุนมนุษย์ให้สูงสุด ทั้งพนักงานในองค์การและลูกค้าเอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือ การก่อหวอดเรื่อง SQ หรือเชาวน์แห่งจิต เพื่อประยุกต์กับธุรกิจและการจัดการให้อีกแง่คิดที่ลองนำไปใช้ประโยชน์ทางปฏิบัติกันอีกครั้ง

หลังก่อหวอดนำเข้ามาในประเทศไทยคนแรกออกอากาศทางยูบีซีและช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และใช้บรรยายในสถาบันพระปกเกล้า องค์กรภาครัฐ และเอกชนหลายแห่ง

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *