McDonald ตอน 2

McDonald ตอน 2 ก่อนการก่อตั้งธุรกิจ

ก่อนการก่อตั้งธุรกิจ
ปี 1919
• เรย์มีอายุ 17 ปี
• เรย์สามารถทำงานขายริบบิ้น และเล่นดนตรี จนมีรายได้มากกว่าของพ่อเสียอีก แต่งานขายริบบิ้นก็เริ่มถึงจุดตัน เขาจึงเลิกงานขายเมื่อฤดูร้อนปี 1919
• เรย์ได้งานใหม่เป็นการเล่นดนตรีที่ทะเลสาบเพา-เพา ในมิชิแกน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น เรย์เล่นดนตรีในสถานเต้นรำที่เรียกกันว่า “ริมน้ำ” เขาดึงลูกค้าได้จากโรงแรมหลายแห่งแถวๆนั้น ตอนบ่ายแก่ๆ เขาจะขึ้นไปโชว์ตัวบนดาดฟ้าเรือหมดทั้งวง และเรือจะแล่นเรียบฝั่งไปเรื่อยๆ
• และที่นี่เองที่ทำให้เขาพบรักกับเอทเธิล ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของกิจการโรงแรมฝั่งตรงข้าม
• ต่อมาเรย์ได้งานเป็นคนจดราคาที่ตลาดค้าหุ้น นิวยอร์ค เคิร์บ ในชิคาโก ซึ่งเดี๋ยวนี้กลายเป็นตลาดค้าหุ้นอเมริกัน บริษัทที่จ้างเรย์มีชื่อว่าวูสเตอร์ – โธมัส งานของเขาคืออ่านเทปโทรเลข และแปลรหัสในนั้นออกมาเป็นตัวเลข และนำไปเขียนบนกระดานดำ ให้คนที่ติดต่อกับบริษัทของเราเป็นประจำตรวจสอบพิจารณา

ปี 1920
• พ่อของเรย์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการในเอดีที อันเป็นสาขาของเวสต์เทิร์น ยูเนียน และถูกย้ายไปอยู่นิวยอร์ค แต่เรย์ไม่อยากย้ายตามครอบครัวไปอยู่นิวยอร์ค เนื่องจากไม่อยากจาก
เอทเธิลไป แต่พอดีที่เขาก็ได้งานที่วูสเตอร์ – โธมัส สาขานิวยอร์คในแผนกแคชเชียร์
• แต่แล้ววันหนึ่ง เรย์ไปทำงานตามปกติ แต่ปรากฎว่าสำนักงานถูกปิด และมีประกาศของ
นายอำเภอว่าบริษัทนี้ล้มละลาย ดังนั้นเรย์จึงตัดสินใจจากครอบครัวไป และบอกแม่ว่าจะไม่กลับมาอีก หลังจากที่เรย์จากไปพ่อได้ทำงานต่อไปจนได้เลื่อนตำแหน่ง และกลับไปอยู่ที่ชิคาโกตามเดิม

ปี 1922
• เรย์เป็นเซลส์แมนขายถ้วยกระดาษ ยี่ห้อ ลิลี่ เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และกำลังตีตลาด
• เรย์และเอทเธิลได้แต่งงานกัน
• ถ้วยกระดาษไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ง่ายๆ เมื่อเอาตัวอย่างไปตีตลาดตามท้องถนน เจ้าของ
ร้านอาหารมักจะปฏิเสธ และบอกว่าใช้แก้วคิดแล้วถูกกว่า
• ดังนั้นเรย์จึงมุ่งไปที่ร้านขายน้ำหวานโซดา ซึ่งต้องการความรวดเร็ว และความสะอาด และจุดนี้เองเป็นจุดขายที่สำคัญของเรย์ สิ่งที่ยากคือเขาต้องสามารถเอาชนะความล้าสมัยของลูกค้าให้ได้
• เรย์ทำงานขายถ้วยกระดาษ ไปพร้อมๆ กับการเล่นเปียโนตอน 6 โมงเย็น ที่สถานีวิทยุดับบลิว จี อี เอส ในโอ๊คแลนด์ สตูดิโอ อยู่ที่โรงแรมโอ๊ค ปาร์ค อาร์มส ห่างจากแฟลตที่เขาพักไม่กี่ช่วงตึก เรย์ต้องเล่นตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม และพักจากนั้นเริ่มเล่นอีกครั้งตอน 4 ทุ่มถึงตีสอง เรย์มีเวลาพักผ่อนไม่เท่าไร พอ 7 โมงเช้าก็ต้องออกไปเร่ขายสินค้า
• งานขายถ้วยของเรย์เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาได้เรียนรู้วิธีวางแผนการทำงาน และการทำตามแผนการนั้น เรย์พบว่าลูกค้าจะพอใจให้เราเข้าหาเขาโดยตรงถึงตัว พวกเขาจะซื้อ หากจี้ตรงจุด และทำให้เขาสั่งสินค้า โดยไม่ต้องเสียเวลาหว่านล้อมอีก
• หลักการของเรย์ คือ ต้องช่วยเหลือลูกค้า และถ้าการขายของเรย์ไม่ได้ช่วยให้กิจการของเขากระเตื้องขึ้นมาได้ เรย์จะรู้สึกว่ายังไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง

ปี 1925
• อาชีพเซลส์แมนของเรย์เริ่มฟูเฟื่องขึ้นเรื่อยๆ จานมีเงินเดือนสูงขึ้น และรวมกับค่าจ้างจากเล่นเปียโน
• เรย์ทราบจากหนังสือพิมพ์ว่าธุรกิจที่ฟลอริดากำลังรุ่ง เขาจึงตัดสินใจลางาน 5 เดือนเพื่อเดินทางไปที่นั่นพร้อมกับเอทเธิลและน้องสาวของเธอ
• ที่ฟลอริดาเรย์ได้งานเป็นนายหน้าขายที่ดินในฟอร์ด เลาเดอร์เดล ติดถนนลาส โอลาส
บูเลอวาด งานของเรย์คือหาลูกค้า แล้วพาไปดูที่ดิน พอไปถึงที่นั่นจะมีคนพาไปชมที่ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่ เรย์หาลูกค้าจากรายชื่อนักท่องเที่ยวที่มาชิคาโก ที่หอการค้าไมอามี
• แต่ธุรกิจนี้ก็รุ่งเรืองได้ไม่นาน เนื่องจากหนังสือพิมพ์ได้แต่แผ่ความจริงว่าเป็นการหลอกขายที่ดินที่อยู่ในน้ำ ดังนั้นไม่มีลูกค้ามาอีก และธุรกิจที่ดินล้มละลายในที่สุด
• จากนั้นเขาได้งานเล่นเปียโนที่ไนท์คลับหรูหราชื่อเดอะไซเลนท์ ไนท์ ที่ปาล์มไอแลนด์ ที่นี่เขามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 110 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ เจ้าของสถานที่ที่นี่เป็นนักค้าเหล้าเถื่อน และคืนหนึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรก็เข้าจับกุมรวมทั้งเรย์ด้วย
• หลังจากเหตุการณ์นั้นเอทเธิลจึงไม่สบายใจ และปรึกษากันว่าจะกลับชิคาโก โดยให้เอทเธิล
กลับรถไฟไปก่อน และเรย์จะตามไปจนกว่าวงจะหาคนใหม่มาเล่นแทนได้

ปี 1927
• เรย์ กลับมาเป็นเซลส์ขายถ้วยกระดาษ กับบริษัทแซนิแทรี คัพ แอนด์ เซอร์วิส คอปอเรชั่น
อีกครั้ง

ปี 1930
• ตลาดหุ้นล้มละลาย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
• พ่อของเรย์ เสียชีวิตด้วยอาการโลหิตคั่งในสมอง
• เรย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย
• เรย์ มักจะมองหาช่องทางการขายใหม่ๆ เพื่อสร้างยอดขายให้กับตัวเองเสมอ เช่นเรย์เคยเข้าไปเสนอขายถ้วยกระดาษให้กับร้านวอลกรีน ซึ่งเป็นร้านที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าใน
ตอนกลางวัน ทำให้เรย์คิดว่าถ้าร้านนี้ใช้ถ้วยกระดาษจะสามารถทำให้ทางร้านขายเบียร์ และ
น้ำหวานชนิดที่ลูกค้าสามารถซื้อกลับบ้านได้ โดยที่ไม่ต้องมาออกันจนล้นร้านอย่างนี้ ในที่สุดเขาก็ขายได้ และสามารถสร้างยอดขายให้ร้านได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้เรย์ยังมองหากลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงงานใหญ่ๆ ที่ทำเป็นกึ่งอุตสาหกรรมอาหารด้วย
• เรย์ยึดหลักการในการปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า ซึ่งทำให้ลูกค้าเชื่อใจเขา
• เรย์ จะแนะนำสิ่งดีดี และความคิดใหม่ๆ ที่ได้พบเห็นจากที่ต่างๆ ให้กับลูกค้าเสมอ
• เรย์ จะแนะนำเซลส์ของเขาว่า
– สิ่งแรกที่คุณจะขาย คือ ตัวคุณเอง ถ้าคุณทำได้ คุณก็จะขายถ้วยกระดาษได้ไม่ยาก
– ควรใช้เงินอย่างฉลาด และสะสมไว้สำหรับยามจำเป็น
• เรย์ นำเครื่องมัลติมิกเซอร์มาเสนอที่บริษัท ทำให้บริษัทได้เป็นตัวแทนจำหน่างเครื่องมัลติมิก-เซอร์แต่เพียงผู้เดียว แต่ทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้นเรย์จึงสนใจที่จะขอมาทำเอง และลาออกจากการเป็นเซลส์ขายถ้วยกระดาษ
• เรย์จึงเข้าไปเจรจาที่บริษัทอีกครั้ง ผลก็คือทางบริษัทแซนิแทรี่ คัพ ยอมให้เรย์เป็นคนทำสัญญากับมัลติมิกเซอร์ แต่ทางบริษัทจะต้องได้ 60% จากบริษัทใหม่ของเรย์ ซึ่งทางบริษัทจะออกทุน 6,000 ดอลลาร์ ในจำนวนเงินทั้งหมด 100,000 ดอลลาร์

ปี 1938
• บริษัทใหม่ของเรย์ชื่อ ปริ้นส์ คาสเซิล เซลส์ มีสำนักงานเล็กๆ ที่อาคารลาซาล–เวคเกอร์
ในชิคาโก
• การที่บริษัทแซนิแทรี่มีหุ้นอยู่ 60% ทำให้เขาสามารถจำกัดเงินเดือนของเรย์ได้ และทำให้เขาอยู่แค่ระดับเท่าตอนที่ลาออก ดังนั้นเรย์จึงคิดต้องการหุ้นคืน จึงเข้าไปเจรจา ทางบริษัทบอกตัวเลขมาว่า 60,000 ดอลลาร์ และต้องการเป็นเงินสด
• เรย์จ่ายก่อน 12,000 ดอลลาร์เป็นเงินสด และต้องจ่ายให้ครบภายใน 5 ปีบวกดอกเบี้ย จากนั้นเรย์จึงบ้านไปจำนองในราคา 100,000 ดอลลาร์
• เคล็ดลับของเรย์คือ พักผ่อนอย่างเต็มที่ทุกนาทีที่อำนวย คือนอนอย่างเต็มที่ เท่าๆ กับที่ทำงานอย่างที่เช่นกัน

สงครามโลกครั้งที่ 2
• 7 ธันวาคม 1941 ประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
• ธุรกิจมัลติมิกเซอร์หยุดชะงัก เนื่องจากในช่วงสงครามไม่มีทองแดงที่จะมาทำตัวมอเตอร์มัลติมิกเซอร์
• เรย์ จึงทำสัญญากับแฮรี่ บี. เบิร์ท ขายสินค้าประเภทนมผงไขมันต่ำ และถ้วยกระดาษขนาดสิบหกออนซ์ สำหรับใส่เครื่องดื่มที่เรียกว่า มอลท์-อะ-เพลนตี้
• หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธุรกิจขายเครื่องมัลติมิกเซอร์ กลับดียิ่งกว่าเดิม
• เรย์ยังคงเดินทางวนเวียนเร่ขาย และสาธิตเครื่องไปในภัตตาคาร และร้านเครื่องดื่ม เฉลี่ยต่อปีเขาขายได้ประมาณ 5,000 เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1978-1949 เขาสามารถขายได้มากถึง 8,000 เครื่องต่อปี

ปี 1950
• บริษัทผู้ผลิตลดการผลิตลง
• เรย์ จึงต้องหาสินค้าใหม่มาขายคือ โต๊ะ และม้านั่งพับได้ เขาเรียกมันว่า โฟล-อะ-นุค แต่ธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอด
• หลังจากนั้นไม่นาน เรย์จึงคิดถึงเรื่องราวของพี่น้องแมคโดนัลด์ และกิจการของพวกเขา ที่ต้องใช้เครื่องมัลติมิกเซอร์ถึงแปดเครื่อง ขายมิลค์เชคกันอย่างมโหฬารที่แซน เบอร์นาร์ดิโน ซึ่งเป็นเมืองเงียบๆ ในเวลานั้น และยังอยู่ในแถบทะเลทราย เรื่องนี้จึงทำให้เรย์แปลกใจมาก

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *