Intel ตอน 3 (จบ)

Intel ตอน 3 : หลักการบริหารงาน

ถึงแม้ว่ามัวร์กับนอยส์ ยังคงอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของอินเทล แอนดรูว์ โกรฟก็นับเป็นพลังผลักดันเบื้องหลังการขยายตัวอย่างเข้มแข็งของบริษัท ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธาน และประธานฝ่ายปฏิบัติการในปี 1979 โกรฟ ซึ่งได้รับฉายาว่า “นายพลปรัสเซีย” เป็นคนทำงานจริงจัง และพูดตรงมาก คนในบริษัทรู้กันว่าเขาจะจดรายชื่อคนงานที่มาทำงานหลัง 8 โมงเช้าและในปี 1981 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำบริษัทต้องเผชิญกับปัญหาความยากลำบากนานัปการ เขาก็มี “วิธีแก้ปัญหา 125 %”  ออกมาช่วยค้ำจุนบริษัท พนักงานระดับมืออาชีพทุกคนจะถูกบังคับให้มาทำงานตรงเวลา โดยบริษัทไม่จ่ายเงินเพิ่มเป็นเวลา 54 สัปดาห์ แต่โกรฟไม่ใช่แค่หัวหน้าคนงานเท่านั้น เขายังเป็นผู้จัดทรงประสิทธิผล ผู้ซึ่งคิดหาวิธีการจัดระบบบริษัทด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ที่เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยความขะมักเขม้น เขาพัฒนาแนวทางบริหารแบบ “มุ่งผลงาน”

                ในทัศนะของเขานั้น ผลงานไม่ได้อยู่ทีวิศวกร และคนงานของโรงงานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นจากพนักงานระดับเสมียน และผู้บริหารทุกคนด้วยเช่นกัน ที่อินเทลนั้นพนักงานทุกคนไม่ใช่จะมีความรับผิดชอบต่อเจ้านายของตนเองเท่านั้น แต่ยังต้องรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงานอีกด้วย นอกจากนี้อินเทล ยังพยายามจะนำเอาวิธีการบริหารงานเป็นทีมเข้ามาปลูกฝังในบริษัท แม้แต่พนักงานอาวุโสมากที่สุด ก็ยังทำงานในฉากกั้นแบบเปิดแทนที่จะอยู่ในห้อง การออกแบบสำนักงานจะเน้นวัตถุประสงค์หลักๆ อีกประการหนึ่งของโกรฟ นั่นก็คือ การทำลายกำแพงขวางกั้นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้บริหารกับพนักงานทั้งยังส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวให้ดีขึ้นอีกด้วย

                และตามแนวทางคล้ายคลึงกันนี้เอง โกรฟยังสนับสนุนให้ผู้บริหารได้พบปะกับพนักงาน โดยตรงเพื่อได้รับทราบข้อมูลสำคัญ สร้างสำนึกการมีวัฒนธรรมบริหารร่วมกัน  ในปี 1995 ตอนที่อินเทลทำยอดขายได้ 16.2 พันล้านดอลลาร์ และมีกำไร 4.9 พันล้านดอลลาร์นั้น การทำนายอย่างห้าวหาญของนอยส์กับมัวร์ เมื่อประมาณ 25 ปีก่อนหน้านี้ ก็ดูจะเป็นการประเมินน้อยกว่าความเป็นจริงมาก มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกอร์ดอน มัวร์ ประเมินจากหุ้นอินเทลเป็นส่วนใหญ่ สูงกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์

                ภายใต้การนำของโกรฟ อินเทลยังบ้าคลั่งกับการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ เพราะการที่จะรักษาฐานะอยู่แถวหน้าของการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ บริษัทจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหมือนคนที่วิ่งจ็อคกิ้งบนเส้นทางลาดขึ้น อินเทลต้องวิ่งให้เร็วกว่าเดิม เพื่อรักษาตำแหน่งของตนและอาจต้องเร็วยิ่งขึ้นเพื่อล้ำหน้าคู่แข่ง อย่างเช่นในการพัฒนา ชิพรุ่นใหม่ๆ ออกมาตามลำดับ 386 ,486 และ เพนเทียม

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *