Intel ตอน 1
|Intel ตอน 1 : ช่วงเริ่มต้น
เริ่มต้น
กอร์ดอน มัวร์เติบโตในเมืองเล็กๆแถวชายฝั่งทะเลด้านใต้ของซานฟรานซิลโก บิดาของเขาเป็นผู้ช่วยนายอำเภอ ส่วนมารดาก็บริหารร้านแห่งหนึ่ง เขาออกจากเมืองนั้นเพื่อไปเรียนต่อจนจบปริญญาเอกทางเคมีและฟิสิกข์ จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ในปี 1954 ภายหลังร่วมงานกับห้องแล็บฟิสิกข์ประยุกต์ของสถาบัน จอห์น ฮอพกิ้นส์ ได้ 2 ปี ปี 1956 มัวร์ก็เดินทางกลับแคลิฟอร์เนีย รับงานตำแหน่งนักเคมีวิจัยประจำช็อคลีย์ เซมิคอนดัคเตอร์ เพื่อนร่วมงานที่นี่คนหนึ่งของเขาชื่อ โรเบิร์ต นอยส์ ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยกรินเนลล์ และยังมีปริญญาเอกด้านวิศวกรรมจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสทท์
ที่ช็อคลีย์ เซมิคอนดัคเตอร์ ควรจะเป็นสถานที่ทำงานที่สร้างความตื่นเต้นให้แก่เขาได้ เพราะเป็นกลุ่มบริษัทวิจัยเงินทุนหนา ทั้งที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของวิลเลี่ยม ช็อคลีย์ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจากบทบาทสำคัญด้านประดิษฐ์คิดค้นทรานซิสเตอร์ ในปี 1956 ทรานซิสเตอร์จะแทนที่ท่อสูญญากาศในอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งความสั่นสะเทือนผ่าน “เซมิคอนดัคเตอร์”ที่ทำจากซิลิคอนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นบางเป็นผลึกใสสองแผ่นประกบอยู่ด้วยกัน อันเป็นเทคโนโลยีที่ปูทางไปสู่เครื่องรับวิทยุขนาดเล็กลง และปรากฏการณ์ค้นพบแปลกใหม่ในวงการวิทยาศาสตร์นี้ ในที่สุดแล้วก็จะปูทางไปสู่การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต่อไป
ช่วงระหว่างปี 1956-1957 นักวิทยาศาสตร์ของช็อคลีย์ เซมิคอนดัคเตอร์ กำลังขะมักเขม้นทดลองความเป็นไปได้ต่างๆ นอกเหนือจากทานซิสเตอร์ มีการตรวจสอบประสิทธิผลของการใช้ทรานซิสเตอร์ เพื่อสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กลง แต่ภายใต้การตั้งกฎเกณฑ์แบบเผด็จการของช็อคลีย์ สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์นั้น ทั้งนอยส์.มัวร์และคนอื่นๆ อีกประมาณ 6 คน ก็ไม่ชอบใจวิธีการบริหารของช็อคลีย์ จึงของความช่วยเหลือจาก อาเธอร์ ร็อค นายธนาคารนักลงทุนซึ่งมีสำนักงานอยู่ในซานฟรานซิสโก เขาจึงช่วยเหลือคนทั้งหมด โดยได้ติดต่อกับ แฟร์ไชค์ คาเมร่า และอินสทูรเมนส์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทขนาดใหญ่ของนิวยอร์ก ซึ่งตกลงจะเปิดบริษัทสาขาใหม่ขึ้นมารองรับการวิจัยเซมิคอนดัคเตอร์โดยเฉพาะ
ตอนที่แฟร์ไชค์ เซมิคอนดัคเตอร์เปิดดำเนินการในปี 1957 ที่เมืองเมาเท็นวิวรัฐแคลิฟอร์เนียนั้น นอยส์ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการแผนก มัวร์เป็นผู้จัดการด้านวิศวกรรม บริษัทนี้เป็นบริษัทวิจัยด้านเซมิคอนดัคเตอร์แห่งที่ 2 ในเขตที่ต่อมารู้จักกันในชื่อของซิลิคอน วัลเลย์
นอยส์เป็นนักประดิษฐ์สมองเปรื่อง ปี 1959 เขาทดลองแผงวงจรอินทิเกรด ได้เป็นผลสำเร็จ ไม่นานักแผงวงจรอินทิเกรดของแฟร์ไชด์ เซมิคอนดัคเตอร์ ก็สามารถเข้าไปแทนที่สวิชช์ชิ่งแปรพลังงานกลไฟฟ้า ที่ทำให้คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรกลอื่นๆ สามารถทำงานได้ กอร์ดอน มัวร์อนุมานว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มแรกของการย่อส่วนอย่างขนานใหญ่ เขาเห็นความเป็นไปได้มากมายไม่สิ้นสุดรออยู่ข้างหน้า เพราะถ้าหากวงจรทรานซิลเตอร์สามารถผลิตให้บรรจุอยู่ในชิพซิลิคอนเพียงอันเดียวได้ ก็ย่อมมีหนทางที่จะเพิ่มศักยภาพชิพเพียงชิ้นเดียวนี้ให้มากขึ้นเป็นสองเท่าได้ด้วยเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นก็เพิ่มเข้าไปอีกเรื่อยๆ
ปี 1965 มัวร์ทำนายว่า กำลังของชิพคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ 12 เดือนและการคาดการณ์ทำนองนี้ขยายไปเป็น 18 เดือนในเวลาต่อมา จนเป็นที่รู้จักกันในฐานะ “กฎของมัวร์” ซึ่งก็ถูกต้องตรงกับการประยุกต์เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในช่วงปีต่อๆมาของอินเทล ระหว่างที่กอร์ดอน มัวร์ยังประเมินศักยภาพความเป็นไปได้ของชิพซิลิคอนในปี 1963 อยู่นั้น เขาก็พบคนๆหนึ่งซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนความเป็นไปได้เหล่านี้ ให้กลายเป็นความจริงที่อินเทล
คนๆนั้นคือแอนดรูว์ โกรฟ หรือชื่อในภาษาฮังการีว่า Andras Grof โกรฟคนนี้หนีออกจากฮังการีบ้านเกิดตอนอายุได้ 20 ปี หลังจากการปฏิวัติในปี 1956 ประสบความล้มเหลว จากนั้นก็เข้าศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ซิตี้คอลเลจของนิวยอร์กสามารถจบปริญญาตรีภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี พร้อมกับทำงานเป็นบริกรไปด้วย และเมื่อต่อมาเขาจบปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์กลีย์แล้ว โกรฟก็เข้าเป็นผู้ช่วยของมัวร์ที่แฟร์ไชด์ ตั้งแต่ปี 1963 สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้จัดการองค์กร ทำงานแข็งขันคนหนึ่งอย่างรวดเร็ว
เมื่อถึงปี 1967 แฟร์ไชด์ เซมิคอนดัคเตอร์ เติบโตเป็นบริษัทสาขา ทำยอดขาย 130 ล้านดอลลาร์ และมีพนักงาน 15,000 คน ทว่าบริษัทก็ยังเป็นส่วนเล็กๆของธุรกิจในเครือขนาดใหญ่ของแฟร์ไชด์ ซึ่งเน้นด้านการบินโดยเฉพาะ ผลที่ตามาภายหลังนอยส์กับมัวร์ได้รับการส่งเสริมให้ไปรับงานวิจัย และเทคโนโลยีสาขาใหม่ๆ ทั้งคู่ก็อัดอั้นตันใจที่ต้องตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหารสำนักงานใหญ่ บริษัทแม่ในกรุงนิวยอร์ก ทว่านอยส์และมัวร์ต่างต้องการเงินทุน และแรงสนับสนุนจากแฟร์ไชด์ เพื่อวิจัยค้นคว้าศักยภาพหน่วยความจำของเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งในขณะนั้นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เก็บอยู่ในวงแหวนแม่เหล็ก ทั้งนอยส์และมัวร์เชื่อว่า ตนสามารถแทนที่วงแหวนแม่เหล็กขนาดใหญ่ด้วยชิพขนาดเล็กได้ แต่การที่บริษัทแม่ไม่สนับสนุนจริงจัง สร้างความอัดอั้นให้แก่คนทั้งคู่
ตอนที่มัวร์แวะไปเยี่ยมนอยส์ที่บ้าน ช่วงจังหวะที่ทำให้ทั้งคู่กลายเป็นเศรษฐีพันล้าน เป็นสิ่งที่ทั้งคู่จดจำได้อย่างแม่นยำ ตอนนั้นนอยส์กำลังตัดหญ้าบนสนามหน้าบ้าน แต่เขาหยุดเครื่องเพื่อ สนทนา ทั้งคู่พูดถึงระบบการบริหารขององค์กรขนาดใหญ่ของแฟร์ไชด์ และปรึกษาหารือกันว่า จะตั้งบริษัทขึ้นมาผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ที่สามารถเก็บหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เอาไว้ได้ ทั้งคู่หันไปขอความช่วยเหลือจากอาเธอร์ ร็อคอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนอยส์และมัวร์ต่างนำเงินเก็บของตนเองคนละ 250,000 ดอลลาร์มาลงขัน ส่วนร็อคลงทุนเพิ่ม 2.5 ล้านดอลลาร์และกรินเนลล์คอลเลจ ที่ซึ่งนอยส์เป็นศิษย์เก่าที่ขยันขันแข็ง ร่วมลงทุนด้วยเป็นเงิน 300,000 ดอลลาร์
อินเทลจึงได้ฤกษ์เปิดตัวเมื่อ 18 กรกฎาคม ปี 1968 ตอนนั้นตั้งชื่อบริษัทกันว่า เอ็น เอ็ม อิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งมาจาก นอยส์และมัวร์ นั่นเอง) ร็อคเป็นประธานกรรมการบริหาร นอยส์เป็นประธานและผู้บริหารสูงสุด ส่วนมัวร์เป็นรองผู้บริหารสูงสุด เปิดโรงงานที่เมืองเมาเท็น วิว รัฐแคลิฟอร์เนีย ห่างจากแฟร์ไชด์ เซมิคอนดัคเตอร์ และมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดไปเพียงแค่ไม่เท่าไหร่
ที่บริษัทใหม่แห่งนี้ มีพนักงานประมาณ 12 คน จากแฟร์ไชด์ รวมทั้งแอนดรูว์ โกรฟ ด้วยมาร่วมงาน ทั้งหมดมุ่งจะเจาะตลาดส่วนย่อย แต่แล้วในที่สุดก็กลายเป็นสร้างอุตสาหกรรมใหม่ทั้งระบบขึ้นมา แม้ว่าเซมิคอนดัคเตอร์สามารถนำไปใช้สำหรับเก็บหน่วยความจำได้ แต่บริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ทำนายว่า การทำแบบนั้นจะต้องใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้วงแหวนแม่เหล็กถึง 10 เท่า ผลก็คือ มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งเห็นโอกาสทางการค้า ที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้ขึ้นมา
อินเทล (บริษัทได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่ ภายหลังก่อตั้งได้เพียงไม่นาน)ตั้งใจจะเปลี่ยนสภาพธุรกิจที่ดำเนินอยู่ โดยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง พร้อมกันนั้นก็บรรจุทรานซิสเตอร์ใส่ไว้ในชิพอันเล็กๆ อันเดียวให้ได้มากขึ้น ภายในช่วงเวลาเพียงสองสามปี ชิพหน่วยความจำจะมีราคาถูกลง และเป็นที่น่าปรารถนามากกว่าวงแหวนแม่เหล็ก ถ้าหากกฎขอมัวร์ถูกต้อง หนึ่งในการตัดสินใจช่วงแรกๆ ที่ทีมผู้บริหารต้องทำก็คือ สิ่งที่พวกเขาเรียกกันว่า “ระดับของความยาก” กล่าวคือ ถ้าหากบริษัทอินเทลสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทำได้ง่ายมาก บริษัทอื่นก็สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย แต่ถ้าบริษัทพยายามจะผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากเกินไป ทรัพยากรของบริษัทเองอาจหมดเสียก่อนการวิจัยจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาทั้งสองแง่แล้ว บริษัทจึงเลือกเดินทางสายกลางและทำนายว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า บริษัทใหม่ของตนเองจะมีรายรับต่อปีเป็นเงิน 25 ล้านดอลลาร์ อินเทล อินเทลยังต้องไปอีกไกล ในขวบปีแรกของการก่อตั้งธุรกิจ บริษัทรายงานรายรับทั้งหมดเพียงน้อยนิดแค่ 2,672 ดอลลาร์เท่านั้น
ภายหลังเริ่มต้นผิดพลาดสองสามครั้ง บรรดานักวิทยาศาสตร์ของอินเทลก็เริ่มทุ่มเทความสนใจไปที่การผลิตเซมิคอนดัคเตอร์แบบมีทัล-ออกไซด์ ใช้ซิลิคอนเป็นสารกึ่งตัวนำ (MOS) ขึ้นมาในปี 1969 และในปี 1970 อินเทลจึงเปิดตัวชิพคอมพิวเตอร์รุ่น 1103 อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จงานแรกของบริษัท ชิพรุ่นนี้ประกอบด้วยหน่วยความจำ 1K หรือ1,000 ไบท์ ของหน่วยความจำแรมแบบพลวัตร (DRAM) ต่อมาก็ผลิตชิพ EPROM ทำให้ตลาดดีแรมของอินเทลเติบโตสุดขีด ยอดขายของบริษัทพุ่งสูงถึง 9.43 ล้านดอลลาร์ในปี 1971 และปีเดียวกันนั่นเอง อินเทลก็ขยายฐานการเงินของบริษัท จากการเสนอขายหุ้นเบื้องต้น นำเงินให้แก่บริษัทถึง 6.8 ล้านดอลลาร์