‘Howard’ ต้นแบบพัฒนาอัจฉริยะ

‘Howard’ ต้นแบบพัฒนาอัจฉริยะ

สำหรับการเข้าสู่วงการผู้เชี่ยวชาญด้านสมองของ “หนูดี” นั้นเกิดจากการมีโอกาสอยู่ในวงการการศึกษามานาน เพราะที่บ้านทำธุรกิจโรงเรียน ประกอบกับเมื่อครั้งที่เรียนอยู่ในไทยจะไม่ชอบการเรียน เพราะเป็นการเรียนที่เครียดมาก และต้องติวหนังสือตลอด ซึ่งเธอมองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วิถี่ ไม่ใช่คำตอบของชีวิต ถึงได้คะแนนดี แต่ไม่มีความสุข

เมื่อมีโอกาสเข้าวงการการศึกษาคิดว่า “ทำยังไงเด็กถึงจะฉลาดและสมองดีโดยไม่ต้องเสียความสงบในใจ และความสุขในชีวิต ก็มาค้นพบว่าสมองมีส่วนสำคัญ ถ้ารู้จักใช้สมองไม่ว่าจะเรียน ทำงานสาขาใด ก็จะทำได้เต็มที่ แต่ที่สอนส่วนใหญ่เป็นการเรียนด้านผ่าตัดสมอง”

ซึ่ง “หนูดี” ได้มีโอกาสค้นพบคำตอบในเรื่องนี้ขณะกำลังจะศึกษาปริญญาโท ได้พบนักทฤษฎีผู้หนึ่งชื่อ Howard Gradner ซึ่งคิดค้นทฤษฎี Multiple intelligences หรือทฤษฎีพหุปัญญา หรืออัจฉริยภาพหลายประการ ในหนังสือที่ชื่อว่า Frames of Mind เป็นหนังสือที่นักศึกษา และนักธุรกิจด้านการพัฒนาสมองอ่านเพื่อเปลี่ยนวิธีการมองอัจฉริยภาพของคน

จากเดิมที่คนจะบอกว่าอัจฉริยภาพของคนมีแค่ภาษากับการคำนวณ แต่ Howard Gradner บอกว่าไม่ถูกต้อง งานวิจัยของเขาชี้ ว่าอัจฉริยภาพของคนมีเรื่องดนตรี, ร่างกาย, การเข้าใจตนเอง, การเข้าใจผู้อื่น, ด้านพื้นที่สัมพันธ์, ภาษาและคณิตศาสตร์, เข้าใจธรรมชาติ และการมองไกลกว่าตัวเอง

ซึ่งทฤษฎีของเขาถือเป็นทฤษฎีที่ตรงกับ “หนูดี” เพราะคนเรียนเก่งยังสามารถทำอย่างอื่นได้อีก อย่าง “หนูดี” เรียนเก่ง แต่ยังเป็นนักเต้นบัลเลย์ ครูสอนยิงธนู ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะคนเก่งไม่ควรจะเก่งทุกอย่าง ซึ่งตรงนี้ทฤษฎีเก่าตอบไม่ได้ ซึ่งพบว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกที่สอนโปรแกรมประสาทวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ และการศึกษา หรือ My Brand Education โดยได้ Howard Gradner เป็นเจ้าของหลักสูตร

แม้ว่าทฤษฎีนี้จะมีการตื่นตัวมานานถึง 10 ปีแล้ว แต่มีการเอาโปรแกรมนี้มาใช้เมื่อ 5 ปีก่อน เนื่องจากต้องแยกหลักสูตรออกจากมหาวิทยาลัยแพทย์ เพื่อเอามาสอนในมหาวิทยาลัยการศึกษา เพราะการจะเอาไปพัฒนาคนจะต้องให้นักการศึกษาเอาไปใช้

สำหรับปัจจุบันที่ “หนูดี” เลือกเข้ามาตั้งบริษัทในไทยนั้น เนื่องจากทฤษฎีนี้ประเทศจีนนำเอาไปใช้ทั้งประเทศประมาณ 90% ส่วนในไทยเอาไปใช้ในโรงเรียนแต่ไม่มีการใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ จึงเกิดความคิดที่จะเอาทฤษฎีนี้มาใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ และต้องการนำความรู้ในวงการสมองจากมหาวิทยาลัยเข้ามาเผยแพร่ในไทย

และยังอยากเป็นตัวเชื่อมระหว่างวงการสมองอันดับ 1 ของโลกกับคนไทย เพราะ “หนูดี” สามารถเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจากต่างประเทศเข้ามาในไทยได้ และในอนาคตจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตื่นตัว และพัฒนาศักยภาพวงการอัจฉริยภาพให้กับคนไทยได้

สำหรับหลักสูตรนี้ยังไม่มีการเปิดสอนในไทย แต่ “หนูดี” มีความคิดที่จะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเปิดหลักสูตรนี้ ซึ่งอาจจะเป็นประมาณกลางปีหน้า ส่วนในต่างประเทศก็มีอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นอกจากนี้จะขยายไปยังออกซ์ฟอร์ด , นิวยอร์ก ยูนิเวอร์ซิตี้ และเคมบริดจ์

ตลาดยังไม่รู้จัก-อาชีพนี้ยังขาดแคลน

กระแสการพัฒนาสมองเพื่อก้าวสู่การเป็นอัจฉริยบุคคล เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่งคนไทยรู้จักน้อยมาก และยังไม่เคยมีการทำวิจัยอย่างจริงจัง พร้อมทั้งยังเป็นการรู้ในเชิงตื้นไม่ใช่เชิงลึก ซึ่ง “หนูดี” เชื่อว่าการเข้าไปเอาข้อมูลปฐมภูมิจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเข้ามาในไทยได้ จะเป็นการพัฒนางานตรงนี้ให้กับคนไทย เพราะงานวิจัยที่จะเอาเข้ามาเป็นงานที่ใหม่

ส่วนการขยายตัวสู่อาชีพอื่นนั้น เชื่อว่าทำได้ ทั้งในสายธุรกิจเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท, การศึกษาเพื่อเป็นที่ปรึกษากับนักการศึกษา หรือจิตวิทยาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคคลทั่วไป

สำหรับรายได้ของผู้ที่ทำงานด้านนี้ถือว่าอยู่ในระดับสูง และมีผู้ทำอยู่น้อย ซึ่งคาดว่ารายได้จากการทำอาชีพนี้ในต่างประเทศถึงปีละ 5-10 ล้านบาท เพราะคนที่จะทำได้ต้องมีพื้นฐานการศึกษาที่ดี ซึ่งถ้า “หนูดี” ไม่จบทางด้านนี้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งคงจะไม่กล้าเข้าสู่วงการนี้

แต่การจะจบจากมหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ดได้ต้องใช้ทุนในการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่อปีไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง “หนูดี” ยอมรับการเป็นคนเรียนดี และรู้จักใช้สมองอย่างถูกวิธีทำให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนี้โดยได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบการศึกษา

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *