GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 6

GEORGE SOROS & QUANTUM FUND ตอน 6 การก้าวกระโดดของกองทุนควันตั้ม

หนึ่งในเกมที่โซรอสโปรดปรานมากที่สุดคือ การถือหุ้นหรือหลักทรัพย์แบบชอร์ต เซล (short sale) บทบาทของโซรอสต่อหุ้นเอวอน นับเป็นตัวอย่างที่คลาสสิคอย่างหนึ่งของการสร้างกำไรจากการทำชอร์ต เซล โดยโซรอสได้ขอยืมหุ้นจำนวน 10,000 หุ้นในราคาตลาดคือ 120 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังจากนั้นราคาหุ้นทรุดตัวลง สองปีต่อมา โซรอสจึงซื้อหุ้นคืนแต่ในราคาเพียง 20 ดอลลาร์ต่อหุ้น และส่งผลให้กองทุนของเขามีรายได้ถึง 1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งโซรอสประสบความสำเร็จด้วยการติดตามแนวโน้มวัฒนธรรม กล่าวคือ ก่อนหน้าที่รายได้ของเอวอนจะเริ่มลดลง เขาสังเกตเห็นว่าประชากรเริ่มสูงวัยมากขึ้น ส่อเค้าให้เห็นว่ายอดขายของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจะน้อยลงอย่างมาก
นับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 1969 จนถึงเดือนธันวาคมปี 1974 มูลค่าหุ้นของกองทุนของทั้งสองมีค่าสูงขึ้นเกือบสามเท่า โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.1 ล้านดอลลาร์เป็น 18 ล้านดอลลาร์ และตลอดช่วงปีเหล่านั้นสถิติของมันเป็นไปในเชิงบวกโดยตลอด ในปี 1978 กองทุนของเขาสามารถทำผลตอบแทนได้ถึง 55.1 เปอร์เซ็นต์ขณะที่สินทรัพย์ของกองทุนเพิ่มขึ้นเป็น 103 ล้านดอลลาร์ และปีถัดมาเพิ่มขึ้นเป็น 59.1 เปอร์เซ็นต์ สินทรัพย์กองทุนเพิ่มเป็น 178 ล้านดอลลาร์
ในปี 1979 โซรอสทำการเปลี่ยนชื่อกองทุนของตนใหม่ โดยใช่ชื่อว่าควันตั้มฟันด์ หรือกองทุนควันตั้ม เพื่อเป็นเกียรติแก่ไฮเซนเบิร์กผู้ตั้งกฏเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในด้านกลศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบบของระดับอะตอมและนิวเคลียส หลักการดังกล่าวเชื่อว่า เราไม่สามารถคาดคะเนพฤติกรรมของอนุภาคอะตอมย่อยในกลศาสตร์ อันเป็นความคิดที่ตรงกันกับความเชื่อของโซรอสเกี่ยวกับตลาดหุ้น ซึ่งเขาเชื่อว่าอยู่ในภาวะที่ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถทำเงินได้โดยไม่สนใจสิ่งที่ชัดเจน แต่เดิมพันกับสิ่งที่ไม่อยู่ในความคาดหวังแทน
ในปี 1980 หรือ 10 ปีหลังจากการเริ่มตั้งกองทุนโซรอส นับเป็นปีที่น่าอัศจรรย์สำหรับกองทุนดังกล่าว เพราะมูลค่าหุ้นของกองทุนมีค่าเพิ่มขึ้น 102.6 เปอร์เซ็นต์ หรือ 381 ล้านดอลลาร์ และในตอนสิ้นปี 1980 โซรอสมีทรัพย์สินส่วนตัวทั้งสิ้นคิดเป็นมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *