Category: โรคหัวใจและหลอดเลือด

โภชนาการ : แนะบริโภคน้ำมันถูกวิธี

โภชนาการ : แนะบริโภคน้ำมันถูกวิธี ปัจจุบันพบว่าแนวโน้มการเกิดตะกรันในหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดแข็งและเปราะเพิ่มขึ้น เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเช่น พฤติกรรมในการบริโภค การออกแรงขยับเขยื้อนน้อยลง รวมไปถึงการไม่ได้ออกกำลัง การใช้ชีวิตที่รุมเร้าด้วยความไม่แน่นอนทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ห่างไกลศาสนาขาดที่พึ่งทางใจดังนั้นคนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสที่จะเกิดตะกรันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งและเปราะได้ทั้งสิ้น อาการเริ่มแรกของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บแขนซ้ายหรือกราม อึดอัดหายใจไม่ออก อ่อนเพลียและเหงื่อออกง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ขณะการออกกำลังกาย สามารถตรวจพบโดยการทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินบนสายพานพร้อมบันทึกคลื่นหัวใจ สำหรับปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมการเกิดตะกรันในหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีทั้งปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น เพศ อายุ และ พันธุกรรม เช่นการมีอายุมากขึ้น
Read More

สุขภาพ : วิธีรอดชีวิตจากหัวใจวายเมื่ออยู่ลำพัง

สุขภาพ : วิธีรอดชีวิตจากหัวใจวายเมื่ออยู่ลำพัง โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ ท่านที่เป็นโรคหัวใจอาจมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นหากเตรียมตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หลายคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจควรได้รับการรับการบำบัดและรับยาที่ครบถ้วน ข้อมูลที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้จะพอเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่อยู่ลำพังหรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ขั้นเตรียมตัว 1.ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเท่านั้น ในปัจจุบันมีจดหมายเวียนที่ส่งต่อถึงกันเกี่ยวกับการรักษา ที่เรียกว่า การไอแบบกู้ชีวิต หรือ Cough CPR (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR) เป็นการปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตคนที่หัวใจหยุดเต้น และหยุดหายใจเฉียบพลัน โดยวิธีคือการไอแบบ CPR ทันที คือ ให้ไอถี่ๆ
Read More

สุขภาพ : ‘โรคหัวใจ’ ในยุคเร่งรีบ!!

สุขภาพ : ‘โรคหัวใจ’ ในยุคเร่งรีบ!! ในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา ปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่กลายเป็นปัญหาระดับโลก เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนวัยทำงาน วัย 40 ปีขึ้นไป อย่าง “โรคหัวใจขาดเลือด” ที่มีสาเหตุหลักๆ มาจากการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ เครียด เลือกรับประทานอาหารที่เน้นความสะดวกแต่ไม่มีประโยชน์ และไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตัวเอง ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าเป็น และมักมาพบแพทย์ต่อเมื่อเกิด โรคแทรกซ้อนแล้ว เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง “โรคหัวใจขาดเลือด” เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด
Read More

สุขภาพ : กินไขมันสูงเสี่ยงอ้วนไม่พอ…ยังเสี่ยงโง่ด้วย

สุขภาพ : กินไขมันสูงเสี่ยงอ้วนไม่พอ…ยังเสี่ยงโง่ด้วย สกว.-นักวิจัยพบความเสี่ยงกินอาหารไขมันสูง ไม่ใช่แค่อ้วน หรือเบาหวาน แต่ยังเสี่ยงกระทบต่อการใช้สมองเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าต้องกินไขมันมากแค่ไหน หรือนานแค่ไหนจึงจะส่งผลเสียดังกล่าว รศ.ดร.ทพญ.สิริพร ฉัตรทิพากร อาจารย์ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าหน่วยวิจัยสรีรวิทยาระบบประสาท ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา ทั้งนี้ โรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลินในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคที่มีชื่อว่า “โรคเบาหวานชนิดที่ 2” ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันเพิ่มมากขึ้นจากโรคอ้วนนั้นจะมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน
Read More

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 3)

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 3) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (dietary supplement) ดังที่กล่าวในตอนที่แล้ว ว่าส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ไม่มีหลักฐานยืนยันประสิทธิภาพหรือความปลอดภัย เฉกเช่น ยาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ ยาแผนปัจจุบันต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการของอย.แต่ละประเทศ หลายขั้นตอนและใช้เงินทุนมหาศาล ดังที่บริษัทยากล่าวอ้างอยู่เนือง ๆ เวลาออกยาใหม่ที่แพงมหาศาล มีกระบวนการทั้งทางหลอดทดลอง การศึกษาในสัตว์และในมนุษย์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ไม่ใช่การกล่าวอ้างลอยๆอย่างอาหารเสริมว่าใช้รักษาโรคนั้น โรคนี้ได้ ยาแผนปัจจุบันหลังจากผ่านการศึกษาในสัตว์ทดลองแล้วการศึกษาในมนุษย์ต้องมีกลุ่มผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพอที่ได้ยารักษา และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ไม่มีตัวยาจริง) โดยที่ทั้งผู้ป่วยและผู้รักษาก็ไม่ทราบว่าใครได้ยาจริง จากนั้นติดตามผลการรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
Read More

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 2)

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 2) คุณพิชิต (นามสมมุติ) อายุ 69 ปี ถูกหามมาที่ห้องฉุกเฉิน โดยมีอาการอัมพาตซีกขวา พูดไม่ได้ ไม่สามารถฟังเข้าใจคำพูด (global aphasia) ซึ่งบ่งบอกถึงความผิดปกติของเส้นเลือดใหญ่คู่ หน้าทางด้านซ้ายของสมอง และยืนยันด้วยภาพคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) คุณพิชิตเคยมีอาการอัมพฤกษ์มาก่อนเมื่อประมาณ 2 ปีกว่าที่แล้ว และได้รับการรักษาทั้งอัมพฤกษ์ รวมทั้งควบคุมปัจจัยที่ ทำให้เส้นเลือดตีบ ได้แก่
Read More

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 1)

สุขภาพ : หัวใจคุณทำด้วยอะไร…….. (ตอนที่ 1) เช่นเคยครับ หัวข้อบทความสุขภาพมักจะหวานแหวว แต่เนื้อเรื่องจะเข้มข้นเสมอ และเกี่ยวพันกับชีวิต ความเจ็บป่วย ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาที่ญาติพี่น้อง คุณพ่อ คุณแม่ คนในครอบครัวต้องรับภาระ ซึ่งในภาระนั้น มีอยู่หลายส่วนที่เกิดจากการได้รับยา หรือได้รับการรักษาเกินจริง ถึงกับต้องกู้หนี้ ยืมสิน ดังที่เคยมีการสำรวจในประเทศไทยว่า เงินทองที่หาได้ทั้งชีวิตจะสูญสิ้นไปในช่วง 6 เดือนสุดท้ายที่มีการเจ็บป่วย การทำงานของหมอทั่วไป ไม่ได้มีแต่เพียงตรวจคนไข้โดยตรง แต่บ่อยครั้งที่ญาติของผู้ป่วยต้องการปรึกษาความเห็น คำแนะนำ โดยส่วนมากจะมีสรุปการรักษาของคุณหมอเจ้าของไข้
Read More

กองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีโรคสมองและโรคหัวใจ

กองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีโรคสมองและโรคหัวใจ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานคณะกรรมการการแพทย์ จึงได้มีมติให้แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (2) และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผ่าตัดสมอง ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ดังนี้ ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองหรือสมอง ยกเว้น การเจาะรูกะโหลกศีรษะ (Burr Hole Operation)
Read More

ติด ‘เค็ม’ ระวังโรคหัวใจถามหา!!

ติด ‘เค็ม’ ระวังโรคหัวใจถามหา!! • อาหาร แนะอาหารควรเลี่ยง จำกัด “โซเดียม” หลายคนที่เป็นโรคหัวใจแบบไม่เป็นมากมายถึงต้องนอนรักษาโรงพยาบาล แต่ก็ไม่หายขาดเรียกว่าเป็นโรคคู่ชีวิต คนที่เป็นโรคประจำตัวแบบนี้ควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ โดยเฉพาะคนที่อ้วนต้องพยายามลดน้ำหนักตัวให้ลงอยู่ในระดับปกติ งดอาหารประเภทที่มีรสเค็มไม่ว่าจะเค็มด้วยเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือซอส จำกัดการออกกำลังกายให้เหลือแต่น้อย เพื่อสงวนออกซิเจนให้มีเพียงพอใช้ไปได้ตลอด บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งยาให้รับประทาน เพื่อช่วยให้กำลังแก่กล้ามเนื้อหัวใจ หากมีอาการบวมก็จะสั่งยา ซึ่งจะขับโซเดียมและน้ำให้มากขึ้นและอาจจะต้องรับประทานอาหารที่จำกัดเกลือ จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ด้วย ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ และอาหารทะเล ถ้าลดเกลือมากๆ อาจจะเกิดขาดอาหาร
Read More

ชี้“คนอ้วนโรคหัวใจ”ไม่ควรลดความอ้วน

ชี้“คนอ้วนโรคหัวใจ”ไม่ควรลดความอ้วน • คุณภาพชีวิต ความอ้วนจะช่วยให้มีอายุยืนยาวขึ้น นักวิจัยพบข้อสรุปสวนกระแสวงการแพทย์ ชี้คนอ้วนที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรลดความอ้วน เพราะความอ้วนจะช่วยให้มีอายุยืนยาวขึ้น ข้อมูลบ่งว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนมีแนวโน้มจะมีอายุยืนกว่าคนผอมที่มีปัญหาโรคหัวใจในระดับความรุนแรงเท่ากัน ซึ่งขัดแย้งกับคำแนะนำทั่วไปที่ขอให้ผู้ป่วยโรคหัวใจรีบลดน้ำหนักตัวโดยเร็ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทบทวนผลการศึกษาหลายชิ้น และพบว่าสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจแล้ว โรคอ้วนมีผลดีต่อสุขภาพ ผลการศึกษาในจำนวนนี้ เช่น ข้อมูลของผู้ป่วย 8,000 รายในสหรัฐ ซึ่งบ่งบอกว่าอัตราการเสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวของคนเหล่านี้ลดลงต่ำกว่าดัชนีมวลกายที่ 30 ดัชนีมวลกาย ซึ่งคิดจากน้ำหนักตัวกับส่วนสูง จัดให้คนที่ได้คะแนนต่ำกว่า 25 เป็นพวก “ปกติ” ขณะที่พวก 25
Read More