Category: โรคทางสมอง

สุขภาพ : อัลไซเมอร์ …. เมื่อการขี้ลืมไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล็กๆ

สุขภาพ : อัลไซเมอร์ …. เมื่อการขี้ลืมไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล็กๆ อัลไซเมอร์ (Alzheimer) จัดว่าเป็นโรคอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้น มักพบในคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นหนึ่งของโรคที่พบบ่อยในกลุ่มโรคผิดปกติของสมอง “Dementia” ซึ่งมีการถดถอยหน้าที่ของสมอง จำเหตุการณ์และช่วงเวลาได้ไม่แน่นอน ความจำเสื่อม มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างแปลกๆ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม อารมณ์จะไม่สม่ำเสมอ เป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้และรักษาไม่หายขาด เพียงชะลออาการของโรคได้เท่านั้น จึงทำให้โรคอัลไซเมอร์แตกต่าง และรุนแรงกว่าอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ปัจจัยเสี่ยงของ “อัลไซเมอร์” มีอะไรบ้าง
Read More

สุขภาพ : สารพัดโรคร้าย ที่นักดื่มต้องระวัง

สุขภาพ : สารพัดโรคร้าย ที่นักดื่มต้องระวัง สุรา สิ่งบันเทิงใจของนักดื่มทั้งหลาย มีงานเลี้ยงที่ไหน เทศกาลอะไร พระเอกของงานที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ สุรา และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการหมักผัก ผลไม้ หรือเมล็ดพืชชนิดต่างๆ แล้วแต่งกลิ่น ในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่างกัน เช่น เหล้ามีแอลกอฮอล์ 40 % ไวน์มีแอลกอฮอล์ 12 % และเบียร์มีแอลกอฮอล์ 5 % โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดประสาท
Read More

สุขภาพ : 8 วิธีบริหารสมองให้สดชื่น

สุขภาพ : 8 วิธีบริหารสมองให้สดชื่น 1. ประสานงานสมอง การเขียนเลข 8 ในอากาศด้วยมือทั้ง 2 ข้างๆ ละ 5 ครั้ง โดยเริ่มจากด้านซ้ายของเลขก่อน แล้วเขียนวนไปให้เป็นเลข 8 วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอ่าน และการทำความเข้าใจดีขึ้นและทำให้สมองด้านซ้ายและด้านขวาประสานงานกัน 2. น้ำเปล่าหล่อเลี้ยงสมอง วางขวดน้ำไว้ใกล้ๆ โต๊ะของคุณเป็นประจำ และคอยจิบทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายของคุณตื่นตัวตลอดเวลา และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับสารหรือข้อมูลได้ดี เพราะน้ำจะช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมองและระบบประสาท
Read More

สุขภาพ : 9 ปัจจัยเสี่ยง ‘หลอดเลือดสมอง’

สุขภาพ : 9 ปัจจัยเสี่ยง ‘หลอดเลือดสมอง’ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง พบได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ทางระบบประสาท ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่อาจเป็นได้ทั้งหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการที่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด หรือมีการอุดตันของหลอดเลือดสมองจากการที่มีลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือดที่มีความเปราะบางกว่าปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลายไป ส่วนมากผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระบบประสาทเกิดขึ้นทันทีทันใดเมื่อมีการอุดตันหรือมีการแตก ของหลอดเลือดสมอง เราจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้ 1. ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือด ที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า
Read More

สุขภาพ : ดูรูปสาวนุ่งผ้าน้อยชิ้นบ่อย ทำสมองชายชินชา

สุขภาพ : ดูรูปสาวนุ่งผ้าน้อยชิ้นบ่อย ทำสมองชายชินชา นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันที่อเมริกา พบว่า การได้เห็นรูปผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยบ่อยๆ ทำให้สมองผู้ชายบางคนชินชา มองเห็นแล้วรู้สึกเหมือนกับเห็นเป็นสิ่งของธรรมดาไป พวกเขาได้ศึกษากับผู้ชาย โดยให้ดูรูปสาวในชุดอาบน้ำบิกินี พร้อมกับใช้เครื่องตรวจสแกนสมองไปด้วยพบว่าในผู้ชายบางคนจะมีสมองส่วนที่แสดงปฏิกิริยาต่อสิ่งของเท่านั้นที่ตื่น กับผู้ชายคนที่รู้กันว่าเป็นคนเจ้าชู้ ส่วนของสมองซึ่งเคยแสดงความตื่นเต้นเมื่อได้เห็นรูปมาก่อน แต่คราวนี้กลับนิ่งเฉย ศาสตราจารย์ซูซาน ฟิสก์ อธิบายผลการศึกษาแสดงว่า ผู้ชายบางคนไม่รู้สึกเมื่อเห็นภาพผู้หญิงรูปร่างยวนสวาทเป็นมนุษย์ปุถุชน “ดิฉันไม่ได้พูดว่า พวกเขาเห็นเธอเป็นสิ่งของ เขาก็ยังรู้อยู่ว่าเธอเป็นมนุษย์อยู่ดี” หนังสือพิมพ์รายวันฉบับยักษ์เดอะ เทเลกราฟ ของอังกฤษ รายงานต่อไปว่า อาจารย์ซูซานกล่าวว่า “เครื่องตรวจสแกนสมองแสดงให้เห็นว่า
Read More

กองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีโรคสมองและโรคหัวใจ

กองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีโรคสมองและโรคหัวใจ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานคณะกรรมการการแพทย์ จึงได้มีมติให้แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (2) และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการผ่าตัดสมอง ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ดังนี้ ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองหรือสมอง ยกเว้น การเจาะรูกะโหลกศีรษะ (Burr Hole Operation)
Read More

โภชนาการบำบัด ‘เด็กออทิสติก’

โภชนาการบำบัด ‘เด็กออทิสติก’ • อาหาร แนะอาหารจากธรรมชาติ..ช่วยปรับสมดุลร่างกาย นพ.ต่อศักดิ์ ทิพย์ไพโรจน์ แพทย์ประจำศูนย์ดูแลสุขภาพองค์รวมตรัยยา โรงพยาบาลปิยะเวท ระบุว่า เด็กไทยที่มีอาการออทิสติกเพิ่มขึ้น สาเหตุมักเกิดจากเด็กในครรภ์หรือเด็กเล็ก ซึ่งได้รับการระมัดระวังในเรื่องของสุขอนามัยมากเกินไปจนขาดภูมิต้านทาน รวมทั้งการได้รับวัคซีนต่างๆ ตลอดจนการรับประทานอาหาร มีการสะสมของโลหะหนักมากเกินไป อาทิ ปลาทะเลซึ่งมีปรอทมาก หรือของเล่นเด็กที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของคนเมือง ทำให้เด็กยุคใหม่มีอาการภูมิแพ้ และหอบหืดเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งความผิดปกติของยีน ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาเด็กในกลุ่มนี้ ด้วยการวัดความเสียหายของระดับพันธุกรรมและไขมัน รวมทั้งภาวะระบบภูมิต้านทาน วิธีนี้ต้องรักษาควบคู่กับโภชนาบำบัด คือ การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลต่อร่างกาย
Read More

ไมเกรน (migraine) คืออะไร ?

ไมเกรน (migraine) คืออะไร ? • คุณภาพชีวิต พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าชาย ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง อาการปวดเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง อาการปวดไมเกรน จะแย่ลงถ้ามีการเคลื่อนไหว ขณะปวดมักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วครู่ ชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย อาการนำมักเป็นอยู่ประมาณ
Read More

อัลไซเมอร์ กับการดูแลตัวเอง

อัลไซเมอร์ กับการดูแลตัวเอง • คุณภาพชีวิต เน้นดูแลสุขภาพให้ดี เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงไปสู่โรคหลอดเลือด ระหว่างเรากับอัลไซเมอร์ เริ่มต้นจากคำว่าอัลไซเมอร์รักษาไม่ได้ เป็นแล้วมีแต่เสื่อมถอย ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้หายขาด อย่างไรก็ตาม มียาใหม่ๆ และเวชภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น แผ่นแปะ ที่ช่วยชะลออาการ ทำให้ความเสื่อมของสมองช้าลงได้ (ประมาณ 2 ปี) ฟังแล้วน่ากลัวไม่น้อย หากคุณมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป นั่นหมายความว่าคุณคือกลุ่มเสี่ยง จำเป็นต้องอ่านบทความนี้อย่างตั้งใจ ทำอย่างไรจึงจะรักษาระยะห่างระหว่างตัวเรากับอัลไซเมอร์ได้ พ.อ.ดร.นพ.โยธิน
Read More

พาร์กินสัน…โรคสั่นของคนสูงวัย

พาร์กินสัน…โรคสั่นของคนสูงวัย • คุณภาพชีวิต แนะผู้ป่วยออกกำลัง-ดูแลใกล้ชิด ช่วยกำลังใจดีขึ้น โรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคพาร์กินสัน ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, โมฮัมเหม็ด อาลี, ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ยัสเซอร์ อาราฟัต, ดัดลีย์ มัวร์, จอนนี่ แคช
Read More