Category: Critical Thinking
Critical Thinking
Critical Thinking การคิดอย่างมีวิจารณญาณ Post Today – หลังจากที่คุณครูได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแนวคิดและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) … ซึ่งการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นเพียงแค่หนึ่งในกระบวนการความคิดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความฉลาด และเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาเพียงด้านเดียว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ที่คุณครูอยากจะให้คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ พิจารณาแยกแยะสิ่งถูกหรือไม่ ผิดหรือไม่อย่างไรโดยใช้วิจารณญาณ ใช้เหตุผลอย่างเหมาะสมในการตัดสินหรือแก้ไขปัญหา หากคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณแก่ลูกควบคู่กันไป ก็จะทำให้ลูกเกิดการพัฒนาของสมองซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อมๆ กันค่ะ การฝึกให้ลูกใช้สมองทั้งสองข้างไปพร้อมๆ กัน จะเป็นการทำให้สมองของเด็กๆ
Read More
Critical Thinking
เรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณ โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ กระแส ความคิดที่จะรื้อฟื้น และให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมอยู่ไม่ น้อย อีกทั้งเป็นนโยบายแรกๆ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ที่จะให้ความสำเร็จกับการสอนวิชา ประวัติศาสตร์ แม้ไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะทำเป็นรูปธรรมอย่างไร นอกจาก นี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา วุฒิสภา ได้จัดเสวนาเรื่องวิชาประวัติศาสตร์กับการศึกษา ซึ่งผู้ร่วมเสวนาได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนประวัติศาสตร์ไว้ หลากหลาย ทั้งเห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญทำให้รู้จักตนเองเพื่อ จะได้อยู่กับปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีความสุข และเห็นว่าการเรียนประวัติศาสตร์ไม่สามารถเรียนเนื้อหาที่มีอยู่ทั้งหมด เพราะไม่อาจยกเลิกวิชาอื่นแล้วขยายเวลาเรียนวิชาประวัติศาสตร์ได้ ดังนั้นควรเน้นแค่การฉายหนังตัวอย่าง และควรสอนวิธีเรียนเพื่อให้เด็กได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ที่
Read More
Critical Thinking
ความหมายของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading) การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หรือ การอ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ การอ่านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ หมายถึงการอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณมาใช้ในการรับสารจากการอ่าน ทั้งนี้เพื่อประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูงที่ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล ตัวอย่างความหมายของ “การคิดอย่างมีวิจารณญาณ” ที่มีผู้ให้คำนิยามไว้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือการคิดอย่างมีเหตุผล ไตร่ตรอง เพื่อการตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อและสิ่งใดควรทำ (Norris &
Read More
Critical Thinking
ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คำว่า “การคิดวิจารณญาณ” มีผู้ใช้ชื่อภาษาไทยที่แตกต่างกันออกไป เช่นการคิดวิจารณญาณ (กันยา สุวรรณแสง, 2540; นิพนธ์ วงษ์เกษม, 2534 และกองวิจัยทางการศึกษา, 2541) และประเมินอย่างมีระบบมีเหตุผล เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมหรือการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ (ชูชีพ อ่อนโคกสูง, 2522 และสุณีย์ ธีรดากร, 2525) การคิดวิพากษ์วิจารณ์ (จารุวรรณา ภัทรนาวิน, 2532) เป็นต้น เนื่องจากการคิดวิจารณญาณเป็นกระบวนการทางสมองที่มีความซับซ้อน
Read More
Critical Thinking
พฤติกรรมของบุคคลที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นพฤติกรรมภายในสมองที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงแต่ก็สามารถจะเล็งเห็นได้ว่าเกิดพฤติกรรมภายในขึ้น จากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ บุคคลต่างๆ อธิบายพฤติกรรมการแสดงออกของการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ เอนนิส (Ennis, 1985, pp.144-146) ได้กล่าวถึง พฤติกรรมของบุคคลที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ว่ามี 3 ด้านดังนี้ คือ 1. ด้านการแสดงออก 1.1 พูด เขียน หรือการสื่อความหมายความเข้าใจโดยมีความหมายชัดเจน 1.2 กำหนดประเด็นปัญหาที่แน่นอน 1.3 พิจารณาสถานการณ์รวมทั้งหมด 1.4 แสวงหาเหตุผลและให้เหตุผล 1.5
Read More
Critical Thinking
เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (6) 6. เทคนิคกระบวนการคิดของสมอง 6 กระบวน (6 Motions) การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีการประยุกต์ทฤษฎีและหลักการสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติออกแบบ คือ กระบวน 6 M โดยยึดหลักการคือ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2545) 6.1 การรู้คิดของสมองซีกซ้ายและขวา (Neo – cortex) กระบวนการคิดและเรียนรู้ รวมทั้งจินตนาการเป็นผลของการคิดเฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเจริญรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงอายุ
Read More
Critical Thinking
เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (5) 5. การสืบสวน การสืบสวน เป็นการค้นหาความจริงโดยอาศัยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการจะพัฒนาความสามารถในการใช้สติปัญญาของผู้เรียนได้มาก เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง 5.1 สำหรับคุณค่าของวิธีการดังกล่าวอาจสรุปได้ ดังนี้ 5.1.1 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนเพราะเขาจะต้องกำกับการเรียนการสอนด้วยตนเอง ดังนั้นบทบาทของผู้เรียนจึงเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉง 5.1.2 การเรียนโดยการเน้นที่ปัญหาจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนในแง่ที่ว่าฝึกให้เขาเป็นผู้รู้จักลักษณะวิธีการแก้ปัญหา 5.1.3 เป็นการเรียนที่จะฝึกทักษะและความสามารถในการตัดสินใจ 5.1.4 บทบาทของผู้สอนเปลี่ยนจากผู้บอกมาเป็นผู้ถาม ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นมากขึ้น 5.1.5 เป็นการยอมรับเจตคติของผู้เรียนแต่ละคนโดยเฉพาะในเรื่องค่านิยมและ เจตคติของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาค่านิยมและเจตคติไปในด้านที่ดีด้วย 5.2 องค์ประกอบของการสืบสวน
Read More
Critical Thinking
เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (4) 4. การตั้งประเด็นคำถาม การถามคำถามเป็นทักษะที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการสอนที่ช่วยพัฒนา การคิดของผู้เรียนอย่างมีระบบและขั้นตอน การถามคำถามที่ดีสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพิ่มความมั่นใจให้บรรลุความสำเร็จรวมทั้งสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น (Eggen and Kaychak, 1996, p.40) การใช้คำถาม คำถามเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้มาก การใช้คำถามอย่างมีความหมายของครู จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ เพราะคำถามจะทำให้เด็กคิด เชื่อมโยงความรู้เก่าสู่ความรู้ใหม่ ให้ความสนใจต่อสิ่งที่กำลังเรียนรู้มากขึ้น ถ้าคำถาม ดีจะช่วยให้เด็กเรียนอย่างมีเหตุผล ค้นคว้าหาความรู้และขยายความคิดกว้างขวางยิ่งขึ้นคำถามที่ดีควรเป็นคำถามที่เด็กต้องค้นหาคำตอบ มิใช่ให้เพียงแต่ตอบรับว่าใช่หรือไม่ คำถามมีหลายประเภทคำถามที่ครูใช้ควรเป็นคำถามปลายเปิด นั่นคือ คำถามที่ผู้เรียนต้องคิดค้นหาคำตอบ มีหลายคำตอบ
Read More
Critical Thinking
เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (3) 3. การระดมพลังสมองคือ การเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา หรือเสนอความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มโดยวิธีคิดแบบปัจจุบันทันด่วน เท่าที่ความคิดของสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะคิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีแต่เสนอขึ้นมาเท่านั้น คำเสนอจะถูกบันทึกไว้ (บนกระดานดำ) เพื่อประเมินผลหรือตามมติภายหลัง ควรใช้เมื่อสมาชิกในกลุ่มรู้จักกันดี มีความรู้ในปัญหานั้นแล้วพอสมควร และบรรยากาศของกลุ่มเอื้ออำนวยให้ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงอก เกรงใจ 3.1 ประโยชน์ของการระดมพลังสมอง 3.1.1 ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องคอยไตร่ตรองไม่มีข้อ จำกัดหรือการกีดกันใด ๆ ทั้งสิ้น 3.1.2 ได้รับความเห็นหลาย ๆ
Read More
Critical Thinking
เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2) 2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) เป็นวิธีการเรียนที่ใช้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านองค์ความรู้ จิตใจและสังคม ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลในกลุ่มผู้เรียน เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตน ตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มผู้เรียน ซาลวิน (Slavin, 1990) 2.1 ลักษณะสำคัญของการเรียนแบบร่วมมือ จอนห์สัน และ จอนห์สัน (Johnson and Johnson, 1997) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการเรียนแบบร่วมมือที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จมีอยู่ 5 ประการ คือ 2.1.1
Read More