Category: ทักษะการพูด

พูดจากใจ ต้องไม่อ่อนซ้อม

พูดจากใจ ต้องไม่อ่อนซ้อม วันที่ : 6 พฤศจิกายน 2550 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : งานวันนี้ ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ถ้าเราต้องการพูดเพื่อจูงใจผู้ฟังให้เกิดการคล้อยตาม วิธีสื่อสารที่มีพลังมากที่สุด คือ การสื่อสารโดยไม่ต้องมีบทพูด ทว่า..การสื่อสารโดยไม่มีบทพูดนั้น ถ้ามิใช่นักพูดอาชีพ หรือผู้พูดที่สูงด้วยประสบการณ์แล้ว ย่อมเรียกว่าเป็น “งานยาก” หากไม่มีการเตรียมพร้อม หรือ ซักซ้อม มาเป็นอย่างดี การเตรียมพร้อมก่อนการพูดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ความพร้อมของเราจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า การพูดจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด สิ่งที่ควรทำนั้น
Read More

พูดอย่างไรให้คนอื่นคิดตามเรา

พูดอย่างไรให้คนอื่นคิดตามเรา การจะทำให้ใครสักคนหนึ่งเชื่อในสิ่งที่เราพูด นอกจากสิ่งนั้นจะต้องมีเหตุมีผลที่น่าเชื่อถือในทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคนิคในเชิงจิตวิทยาก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ศิลปะในการพูดคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน จะพูดอย่างไรเพื่อจูงใจคนให้คล้อยตาม และเปลี่ยนความคิดของผู้ฟังให้มองตัวเองต่างไปจากเดิม วันนี้เรามีเทคนิคการพูดเพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตามมาแนะนำ คนเรามีแนวโน้มที่จะ “เป็น” หรือ “ทำ” อย่างในคนอื่นมองเรา เมื่อเราคิดว่าคนอื่นมองเราอย่างไร เราก็จะคิดว่าเราเป็นอย่างนั้น และพยายามทำตัวให้เป็นไปตามนั้น เพื่อรักษาภาพลักษณ์ในสายตาของเราเอาไว้ ไม่ว่าเราจะเชื่อว่ามันเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม เช่นในการทดลองของศาสตราจารย์ รีด ม็องตากูร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์เบย์เลอร์ ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดื่มโค้ก และเป๊บซี่ แล้วบอกว่าน้ำอัดลมยี่ห้อไหนรสชาติดีกว่ากัน เมื่อวัดคลื่นสมองของผู้เข้าร่วมการทดลองพบว่าส่วนใหญ่คิดว่าเป๊ปซี่รสชาติดีกว่า แต่คำตอบของคนส่วนใหญ่กลับออกมาว่าเป็นโค้กที่มีรสชาติดีกว่า ซึ่งเป็นเพราะยี่ห้อโค้กมีชื่อเสียงมากกว่า
Read More

การพูดนำเสนอข้อมูล

การพูดนำเสนอข้อมูล คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้นำเสนอ • มีการเตรียมพร้อม • มีความเชื่อมั่นในตนเอง • มีความเป็นกันเอง • มีความกระตือรือร้น • มีอารมณ์ขัน ข้อควรระมัดระวังต้องไม่ใช่เรื่องหยาบคาย ลามก อนาจาร , ตัวอย่างสั้น ๆ , อย่าให้เรื่องขำขันทำให้ผู้ฟังเสื่อมศรัทธาผู้นำเสนอ อย่านำเรื่องชนชาติศาสนาหรือชนกลุ่มน้อยมาเป็นเรื่องตลก , ถ้าคิดว่าเรื่องที่จะพูด ผู้ฟังไม่ขำ อย่าพูดดีกว่า • มีไหวพริบปฏิภาณ •
Read More

การพูดให้สนุก

การพูดให้สนุก การพูดให้สนุก นั้นมีสิ่งที่ควรสังเกตในการพูดดังนี้ 1. รู้พื้นฐานของผู้ฟัง หากผู้ฟังนั้นเป็นเพื่อนหรือคนในกลุ่มก็ไม่เท่าไหร่ เพราะพื้นฐานของคนพูดกับคนฟังนั้น ใกล้เคียงกัน แต่หากต้องไปพูดกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ แล้วต้องการให้เขาสนุกสนานด้วยแล้ว ก็ต้องจำเป็นต้องรู้พื้นฐานเขาก่อนว่าเขาอยู่ในกลุ่มคนใด อย่างเช่น กำลังคุยกับคนทางด้านหนังสือพิมพ์ กลับไปคุยตลกต่อว่าหนังสือพิมพ์เข้า ถ้าไม่ใช่หนังสือพิมพ์ของเขาก็แล้วไป แต่หากคุยเล่นตลกกันหนังสือพิมพ์ของเขาอาจจะมีเรื่องเกิดขึ้นได้… หรือ แม้นแต่พฤติกรรมของกลุ่มคน บางกลุ่มชอบคุยเล่นในรูปแบบใต้สะดือ แต่บางกลุ่มจะต้องคุยอย่างเรียบร้อย หรือบางกลุ่มรับไม่ได้กับการพูดเสียงดังเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพูดเลยทีเดียว… 2. เลือกเรื่องที่จะพูดเพื่อให้เหมาะกับผู้ฟัง ผู้ฟังจะแบ่งออกง่ายๆ ก็จะเป็นหญิงและชาย และแบ่งย่อยออกไปเป็นกลุ่มของอายุ ซึ่งแต่ละกลุ่ม
Read More

ความเชื่อเกี่ยวกับอารมณ์ขัน

ความเชื่อเกี่ยวกับอารมณ์ขัน เชื่อกันว่าอารมณ์ขันขึ้นอยู่กับนิสัยของคนบางคน คนที่เกิดมามีอารมณ์ขันจะพูดอะไร ทำอะไรก็มีอารมณ์ขันแฝงอยู่ด้วยเสมอ ดาวตลกบางคนพอเห็นเราก็หัวเราะแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้แสดงอะไรตลก ๆ ให้เราดูเลย ส่วนคนที่ไม่มีอารมณ์ขัน จะพยายามสร้างอารมณ์ขันขึ้นมานั้นยากมาก เป็นการฝืนความรู้สึกเหลือเกิน แต่เราจะปฏิเสธความจริงข้อหนึ่งไม่ได้ คือ มนุษย์ทุกคนต่างก็มีอารมณ์ขันด้วยกันทั้งนั้นไม่มากก็น้อย ทุกคนจะหัวเราะหรือไม่ก็ยิ้ม เมื่อเห็นใครแกล้งเขียนป้ายข้อความประหลาด ๆ แอบแขวนไว้ที่หูกางเกงด้านหลังของใครสักคน ทุกคนจะหัวเราะเมื่อเห็นใครสักคนเหยียบเปลือกกล้วยหอมลื่นหกล้ม และทุกคนจะชอบใจ เมื่อเห็นใครแกล้งทำให้คนบ้าจี้ตกใจและพูดอะไร ๆ ชอบกล ๆ ออกมา คนที่ขรึมที่สุดก็จะมีอารมณ์ขัน
Read More

การพูดในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ

การพูดในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ จุดมุ่งหมาย โอกาสที่จะต้องกล่าวคำปราศรัย หรือพูดต่อที่ชุมนุมชน มีมากมายเหลือเกิน ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการพูด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ตราบใดที่ยังอยู่กับสังคม ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้หลักทั่วไปของการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ แล้วเลือกเตรียมสุนทรพจน์สักแบบหนึ่งมากล่าวในที่ประชุม โดยสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่าจะกล่าวในโอกาสอะไร ผู้ฟังในห้องประชุมเป็นใคร และตนเองกล่าวในฐานะอะไร จะเป็นเรื่องจริงหรือเลียนแบบ โดยสมมุติสถานการณ์แปลก ๆ ขึ้นก็ได้ แต่ต้องสมเหตุสมผล ถ้าเป็นเรื่องทีเล่นทีจริงต้องระวัง อย่าให้ผู้ใดเสียหายโดยไม่จำเป็น ในการกล่าวรายงานหรือแถลงเป็นทางการ อาจมีต้นร่างมาอ่านเพื่อไม่ให้ผิดพลาดตกหล่น แต่ผู้พูดจะต้องรักษาบุคลิกภาพในการพูดให้เหมาะสม ไม่ก้มหน้าดูบทตลอดเวลา
Read More

การพูดแบบเล่าเรื่อง

การพูดแบบเล่าเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นการถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ ความรู้สึก ความต้องการ และเจตนารมณ์ต่าง ๆ ของผู้เล่า เพื่อให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดปฏิกริยาต่าง ๆ เป็นการตอบสนองที่มีสัมฤทธิผลตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้เล่า วัตถุประสงค์ของการพูดแบบเล่าเรื่อง ๑. เพื่อให้ความรู้ โดยผู้เล่าเป็นผู้ให้ความรู้ มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องที่เล่า สามารถ อธิบายหลักเกณฑ์หรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ได้ ๒. เพื่อให้เกิดจินตนาการแก่ผู้ฟัง โดยผู้เล่าต้องใช้คำพูดและเสียงประกอบให้ผู้ฟังใช้ ความคิด สร้างจินตนาการและนึกเห็นภาพราวกับสัมผัสด้วยตนเอง ๓. เพื่อให้ความบันเทิง
Read More

การพูดบรรยายหรือการอธิบาย

การบรรยายหรือการอธิบาย ในบางครั้งอาจได้รับเชิญให้ไปบรรยายในที่ต่าง ๆ การพูดแบบนี้ต้องใช้การอธิบายเพื่อชี้แจง หรือให้ความรู้ วิธีการอธิบายอาจทำได้หลายแบบ เช่น การซักถาม การยกตัวอย่าง หรือ การเปรียบเทียบ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการบรรยายหรืออธิบาย การบรรยายหรือการอธิบายมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ให้ข้อมูลข่าวสาร โดยการบอกเล่าและชี้แจง ๒. ให้ความรู้และสาระ โดยการอธิบายหรือชี้แจง ๓. สร้างความเข้าใจ โดยการยกตัวอย่างและตีความ ๔. แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และเจตคติ โดยการเสนอความคิดแก่ผู้ฟัง
Read More

ปฏิภาณไหวพริบ

ปฏิภาณไหวพริบ ในขณะที่ผู้พูดกำลังจะพูด หรือดำเนินการพูดอยู่ อาจมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในการสัมมนา การพูดกับฝูงชน การอภิปราย หรือการตอบข้อสงสัยหลังการพูด ปัญหาที่ ไม่คาดคิดต่าง ๆ นี้ ผู้พูดจะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบเพื่อแก้ไขให้การพูดเป็นไปด้วยดี เช่น ๑. เมื่อผู้ฟังแสดงความไม่พอใจหรือไม่เป็นมิตรกับผู้พูด จงยิ้ม เพราะการยิ้มแสดงถึงความรัก ความชอบ ความเป็นมิตร ผู้ฟังก็จะมีไมตรีตอบผู้พูด ๒. เมื่อผู้ฟังหรือคู่สนทนาโต้เถียงกับท่าน จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียง เพราะจะเป็นผลให้เกิดโทษและทำลายอำนาจบังคับตนเอง ควรรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ใช้ความสุขุมรอบคอบ ประนีประนอม
Read More

น้ำเสียงที่ดีคือย่างไร

น้ำเสียงที่ดีคือย่างไร มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า “ธรรมชาติของเสียง เราปรับปรุงไม่ได้ แต่บุคลิกของเสียงเราปรับปรุงได้” น้ำเสียงของคนเราเกิดจาก หลอดลม ลำคอ โพรงจมูก ลิ้น เหงือก ฟัน ริมฝีปากและอวัยวะอื่น ๆ ประกอบ แต่ละคนก็จะมีลักษณะของน้ำเสียงไปคนละแบบ การจะหาคนที่มีน้ำเสียงเหมือนกันนั้นยากมากพอ ๆ กับการหาคนที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน นักร้องอาจจะเลียนเสียงกันได้ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวและถึงแม้จะเหมือนกันก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าภูมิใจอะไร นักพูดที่ดีจะต้องพยายามเป็นตัวของตัวเอง อย่าเลียนเสียง และลีลาของใคร พยายามพูดให้เป็นแบบธรรมชาติ แต่ต้องพูดดังกว่าเดิม เพราะมีผู้ฟังจำนวนมาก วิธีปรับปรุงน้ำเสียง
Read More