Category: พลังงาน
พลังงาน
พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (จบ) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : เจาะลึกปิโตรเลียมไทย กับผลประโยชน์ของชาติ (จบ) มาคุยเรื่องปิโตรเลียมกับผลประโยชน์ของชาติกันอีกตอนนะครับ ประเทศไทยนำระบบสัมปทานมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจปิโตรเลียม เป็นไปตามศักยภาพเชิงพาณิชย์ของพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายในประเทศ โดยระบบสัมปทานจะเป็นระบบที่ให้สิทธิประโยชน์และจูงใจนักลงทุนมากกว่าระบบอื่นสำหรับประเทศที่มิได้มีทรัพยากรปิโตรเลียมมหาศาล ประเทศไทยได้ออกแบบและปรับปรุงระบบการจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐจากธุรกิจปิโตรเลียมให้สอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศและสถานการณ์พลังงานของประเทศในแต่ละช่วงเวลา หลายฝ่ายอาจจะเห็นว่าประเทศไทยนั้นเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งได้เสนอแนะให้ทบทวนอัตราค่าภาคหลวง แต่หากเราไปดูข้อมูลกระทรวงพลังงานจะพบว่า ค่าภาคหลวงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของรายได้ทางตรงที่รัฐเรียกเก็บจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม ดังนั้น ในการวิเคราะห์รายได้ของรัฐจำเป็นต้องดูองค์ประกอบทุกส่วนของรายได้รัฐทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าภาคหลวง (2) ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และ (3) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
Read More
พลังงาน
พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! (2) สัปดาห์ที่แล้วผมค้างไว้ที่การแบ่งปันผลประโยชน์จากธุรกิจปิโตรเลียมว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง ก็มาถึงอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ระบบอ้างอิงสัญญา (Contractual Based System) เป็นระบบที่อ้างอิงกับปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้ จะมีการแบ่งปันผลผลิตระหว่างภาครัฐและเอกชนตามที่ระบุในสัญญา โดยระบบอ้างอิงสัญญาสามารถกระทำในรูปแบบสัญญาการให้บริการ (Service Contracts) หรือสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) สัญญาการให้บริการมีลักษณะเป็นสัญญาที่รัฐให้สิทธิภาคเอกชนดำเนินการ รัฐจะจ่ายค่าบริการให้แก่เอกชนเป็นค่าบริการในการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ซึ่งปิโตรเลียมที่พบจะถือเป็นของรัฐ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งผลประโยชน์ให้แก่เอกชนในรูปแบบต่างๆ สำหรับสัญญาแบ่งปันผลผลิต รัฐจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่จะแต่งตั้งเอกชนในฐานะผู้รับเหมา (Contractor) เข้ามาลงทุนหรือรัฐอาจตกลงร่วมทุนก็ได้
Read More
พลังงาน
พลังงาน : ‘ปิโตรเลียมไทย’ผลประโยชน์ของชาติ! รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : เจาะลึกปิโตรเลียมไทย กับผลประโยชน์ของชาติ การสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ต่อมารัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและเพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อเป็นกฎหมายหลักในการควบคุมการสำรวจธุรกิจปิโตรเลียม โดยผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะชำระผลประโยชน์ให้รัฐในรูปของค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จากการพัฒนาและการขยายตัวของธุรกิจประเภทนี้ทำให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี พ.ศ.2532 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการประกอบกิจการปิโตรเลียมขนาดเล็ก และจูงใจให้มีการลงทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2532 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4)
Read More
พลังงาน
พลังงาน : จีนซิวโรงกำจัดขยะ-โรงไฟฟ้าหนองแขม ซีแอนด์จี จากจีน มั่นใจผุดโรงกำจัดขยะและโรงไฟฟ้าที่หนองแขม มูลค่า 900 ล้านบาท ไม่เกินกลางปีหน้า มั่นใจคุมเข้มมาตรฐานมลพิษ ด้วยเทคโนโลยีจากยุโรป มีธนาคารโลกการันตี ยันไม่กระทบอาชีพคัดแยกขยะ เป็นเพียงแค่ผู้กำจัดขยะ แต่มีรายได้เสริมจากการขายไฟฟ้าเพิ่ม หากสำเร็จพร้อมเดินหน้าอีก 6 เมืองใหญ่ทั่วไทย นายหนิง เหอ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า
Read More
ASEAN Economic Community
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี (จบ) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (จบ) มาถึงตอนสุดท้ายของพลังงานไทยกับเออีซีแล้วครับ ก็มาคุยกันต่อถึงผลเสียต่อภาคอุตสาหกรรมไทยนะครับ ผมเห็นว่า 1.นโยบายภาครัฐอาจให้ความสำคัญต่อการผลิต/การใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทางเลือกอื่นของประเทศเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลงหรือเปลี่ยนไป เนื่องจากคิดว่ายังสามารถนำเข้าพลังงานราคาถูกกว่าจากแหล่งพลังงานที่มีความเชื่อมโยงกันมาใช้ในประเทศได้ 2.แรงขับในการเร่งการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตพลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือกอื่นเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาจลดลงเนื่องจากพลังงานดังกล่าวยังมีต้นทุนที่แพง 3.การเตรียมพร้อมในการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือกอื่นในภาคอุตสาหกรรมอาจลดลงเนื่องจากต้นทุนจากการใช้พลังงานนำเข้าที่ได้จากธรรมชาติ มีราคาถูกกว่า 4.การโยกย้ายโรงงาน/การขยายโรงงานอุตสาหกรรมหรือการขยายกำลังการผลิตไปยังพื้นที่ที่ใกล้แหล่งพลังงานดังกล่าวอาจทำให้ต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ/ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพื่อการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากระยะทางที่ไกลขึ้น โดยสรุปแล้ว ผมมีข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายภาครัฐว่า รัฐบาลควรยังคงสนับสนุนนโยบายพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียนต่อไป เนื่องจากแม้การเชื่อมโยงพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านจะสร้างความมั่นคงด้านซัพพลายพลังงานให้ก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ยัง ไม่สามารถมั่นใจได้ตลอดไปเนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระทบเข้ามาทำให้ประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถซัพพลายพลังงานให้ได้ตลอดเวลา
Read More
ASEAN Economic Community
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี ตอน 2 รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (2) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (2) : โดย … ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน
Read More
ASEAN Economic Community
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : ความท้าทายแห่งอนาคต ด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (จบ) : โดย … ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
Read More
พลังงาน
พลังงาน : “เคบีเอส” ทุ่ม 1.5พันล้านตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล “เคบีเอส” ทุ่ม 1.5 พันล้านบาท ขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวล วอนรัฐดันราคารับซื้อไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลเพิ่มเป็น 2-3 บาทต่อหน่วย ส่งเสริมโรงงานน้ำตาลและโรงสีข้าว ช่วยลดปริมาณรับซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบทรุด 19 เซ็นต์ต่อปอนด์ ยังไม่ได้รับผลกระทบ เหตุเซ็นสัญญาขายล่วงหน้าปี 2556 ที่ 25-26 เซ็นต์ต่อปอนด์ไปแล้วกว่าครึ่งของยอดขายทั้งหมดที่ 2.8 ล้านตัน นายถกล ถวิลเติมทรัพย์
Read More
ASEAN Economic Community
พลังงาน : ผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินมัณฑะเลย์ กฟผ.อินเตอร์ฯ ผนึกราชบุรีโฮลดิ้ง และพรีไซซเพาเวอร์ ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หลังการพัฒนาพื้นที่ทวายไม่ชัดเจน เตรียมเดินทางเจรจาพันธมิตรท้องถิ่น มั่นใจได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ เชื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตหลังเปิดรับเออีซี แหล่งข่าวจากบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ โดยการชักชวนจากบริษัท พรีไซซ เพาเวอร์ โปรดิวเซอร์ จำกัด ซึ่งมีพันธมิตรดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าในเมียนมาร์ ให้เข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
Read More
พลังงาน
พลังงาน : จัดโซนนิ่งโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ส.อ.ท.จี้”อารักษ์”จัดโซนนิ่งตั้งโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใหม่ ให้เน้นเฉพาะพื้นที่ไม่ทำประโยชน์ภาคอีสานแทน ลดความขัดแย้งการแย่งพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมดันโซลาร์เซลล์บนหลังคาช่วย เจ้ากระทรวงพลังงานระบุ ปีหน้ารื้อแผนพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ทั้งหมด ตัดส่วนที่ไม่ทำจริงทิ้ง และจะดึงนักลงทุนจีนมาตั้งโรงงานผลิตแผงช่วยลดต้นทุน นายอาณัติ ประภาสวัสดิ์ รองประธานกลุ่มพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี(2555-2564) โดยวางเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์ม 2 พันเมกะวัตต์ จากปัจจุบันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วประมาณ 200 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ มองว่า
Read More