AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ
AQ (Adversity Quotient) คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ
ความฉลาดเมื่อเผชิญปัญหา
AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ
ใครที่สามารถจัดการได้ดีจะเป็นผู้นำและเป็นผู้ชนะหรือเป็นเจ้าของกิจการในโลกของปัจจุบันและอนาคต
ใครที่มี AQ ดีจะสามารถ เปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส (Dr. Paul G stolt )
ใครที่ไม่สามารถควบคุม AQ ได้ จะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิต
ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) คือ
ความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้าน ความยาก ลำบาก ทางกาย ความอดกลั้น
ทางด้านจิตใจ และ จิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน
ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหาอุปสรรคในชีวิต
อันเป็นกลไกของสมอง ซึ่งเกิดจาก ใยประสาทต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น ฝึกฝนขึ้น
ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหา ปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โต ซับซ้อนก็ได้
อาจสรุป ว่า AQ คือ “ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ”ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ดังนี้
ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ความพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์และนำตัวเองเข้าไปแก้สถานการณ์
วิธีคิดหรือวิธีมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า มีจุดจบของปัญหา และปัญหา ทุก ๆปัญหาต้องมีทางออก ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง
ความสามารถที่จะอดทนและทนทานต่อปัญหาต่าง ๆ ได้
the AQ theory of Stoltz กล่าวว่า
คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่ไม่พ่ายแพ้ต่ออุปสรรค แต่กลับทำประโยชน์ให้เกิดจากอุปสรรคนั้นๆ
เทคนิคการสร้าง AQ
AQ คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา / อุปสรรค
เป็น กลไกลของสมอง เกิดจากการได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝน
การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
การสัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
เมื่อ เข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ช่วยธุรกิจของพ่อแม่ หรือหรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่นเพื่อฝึกหาประสบการณ์ตามที่ ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
หลักการสร้าง AQ
มองปัญหาเป็นโอกาส CORE
1. CONTROL ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
2. Ownerships’ ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
3. REACH คิดว่าปัญหาทุกประเภท มีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
4. ENDURANCE มีความทนทาน อดทน ต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดีไม่วู่วาม
สรุปการเพิ่ม AQ
มีสติ ตลอดเวลา ใช้สติปัญญาในการแก้ไข
คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
มองโลกในแง่ดี
เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
A.Q. หรือ adversity quotient เป็นศักยภาพที่บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไข อย่างไม่หยุดหย่อน ด้วยพลังจิตใจที่จะพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สตอลต์ (Paul G.Stoltz, Ph.D.) เป็นผู้เสนอแนวความคิด และ แนวทางพัฒนา สามารถเผชิญ กับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้าน เอคิว ( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคล เมื่อเผชิญปัญหาโดยเทียบเคียงกับนักไต่เขาไว้ 3 แบบคือ
1.ผู้ยอมหยุดเดินทางเมื่อเผชิญปัญหา (Quitters) มีลักษณะ
ปฏิเสธความท้าทายอย่างสิ้นเชิง
ไม่คำนึงถึงศักยภาพที่ตนมีอยู่ที่จะจัดการกับปัญหาได้
พยายามหลบหลีกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกวิถีทาง
ไม่มีความทะเยอทะยาน ขาดแรงจูงใจ
เป็นตัวถ่วงในองค์กร
2.ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ (Campers) มีลักษณะ
วิ่งไปข้างหน้าบ้างและแล้วก็หยุดลง
หาพื้นที่ราบซึ่งจะได้พบกับปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อย
ถอยห่างจากการเรียนรู้ สิ่งน่าตื่นเต้น การเติบโต และความสำเร็จที่สูงขึ้นไป
ทำในระดับเพียงพอที่จะไม่เป็นที่สังเกตได้ ได้แก่พยายามไม่ทำให้โดดเด่นเกินหน้าใคร
3.ผู้ที่รุกไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง (Climbers) มีลักษณะ
อุทิศตนเองเพื่อมุ่งไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
ไม่เคยรู้สึกพอใจ ณ จุดปัจจุบันเสียทีเดียว
สร้างสิ่งใหม่ๆให้ตนเองและองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และสร้างวินัยแก่ตนเอง
สนุกกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
ความเข้าใจแนวความคิดด้านเอคิว( A.Q. )ทำ ให้เข้าใจถึงวิธีที่บุคคลตอบสนองต่ออุปสรรคหรือสิ่งท้าทายตลอดทุกแง่มุม ของชีวิต ด้วยวิธีการค้นหาว่า ตนเอง ณ จุด ใดของงานนั้นๆ จากนั้นจึงวัดและพัฒนางานนั้นให้ดีขึ้นตลอด บันไดในการ กำหนดเป้าหมาย และการไปให้ถึงได้แก่
ขั้นที่หนึ่ง คือ การจินตนาการความเป็นไปได้ที่ดีกว่าที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Dream the Dream)
ขั้นที่สอง คือ แปลงสิ่งที่จินตนาการให้เป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (Making the Dream the Vision)
ขั้นที่สาม คือ การคงสภาพวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนนั้นจนกว่าจะดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย (Sustaining the Vision)
อย่าลืมว่าหัวใจของเอคิว( AQ. )คือ ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ท้อถอย ดังเช่น โธมัส อัลวา เอดิสัน ใช้เวลาถึง 20 ปี ทำการทดลองผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ ที่เบาทนทาน ด้วยการทดลอง ห้าหมื่นกว่าครั้ง มีผู้สงสัยว่าเขาอดทนทำเช่นนั้นได้อย่างไร เขาตอบว่า การทดลองทั้งห้าหมื่นครั้งทำให้เขาเรียนรู้ความล้มเหลวตั้งห้าหมื่นกว่าแบบ เป็นเหตุให้เขาประสบความสำเร็จดังกล่าวได้
มิได้หมายความว่า คนที่มีเอคิว( AQ. ) ดี ซึ่งเปรียบได้กับคนที่พยายามไต่เขาต่อไปไม่หยุดหย่อน จะไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อน จะไม่รู้สึก ลังเลใจ ที่จะทำต่อไป จะไม่รู้สึกเหงา แต่เป็นเพราะเขารู้จักที่จะให้กำลังใจตนเองสู้ต่อไป เติมพลังให้ตนเอง ตลอดเวลาที่ทำให้ เขาแตกต่างจากคนอื่นและกัดฟันสู้อยู่ไม่ถอย สิ่งที่เขาต้องการ มิใช่ส่วนแบ่งการตลาด ของสินค้าที่บริษัทเขาผลิตอยู่ มิใช่ต้องการ เงินเดือน ขั้นพิเศษเป็นผลตอบแทน เพราะนั่นเป็นเพียงผลพลอยได้ สิ่งที่เขาต้องการแท้ที่จริงคือ เป้าหมายของงานที่ดีขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน
มาถึงตอนนี้คงจะเห็นได้แล้วว่าเอคิว (A.Q.) นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโลกอย่างใด และหากเด็กได้รับการพัฒนา ความคิดดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคมอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ถึงให้ความสำคัญต่อสิ่งนี้อย่างมาก นอกจากนี้
ได้มีการศึกษาถึง อานิสงค์แห่งการคงไว้ซึ่งเอคิว( AQ. )ใน 3 ลักษณะคือ
ทำให้บุคคลนั้นมีความคล่องตัวอยู่เสมอ ไม่เหี่ยวเฉา การฝึกสมองอยู่ตลอดเวลาทำให้เซลล์สมองพัฒนาการเชื่อมโยงเซลล์ประสาท ตลอดเวลาทำให้มีความคิดความจำที่ดีอยู่ตลอด
เป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ มาติน เซลิกมาน ( Martin Seligman ) ได้ศึกษาตัวแทนประกันชีวิตเป็นเวลา 5 ปี พบว่าผู้มองโลกในแง่ดี มีผลงานขายประกันสูงกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายถึง ร้อยละ 88
งานวิจัยด้านระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกัน (Psycho- Neuroimmunology) พบว่า วิธีการตอบสนองต่ออุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางตรงกับ สุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ที่มีจิตใจต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บป่วยดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด จะพบว่าแผลผ่าตัดฟื้นหายเร็วขึ้น มีอายุที่ยืนยาวกว่า
บางท่านว่า AQ ย่อมาจาก Advancement Intelligence Quotient ซึ่งน่าจะแปลว่าความฉลาดทางการรักความก้าวหน้า ซึ่งเป็นแรงสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้นั้นทำงานอย่างจริงจังทุ่มเทเพื่อความ ก้าวหน้า AQ จึง เปรียบได้กับแบตเตอรี่รถยนต์ ในรถยนต์ราคาแพงถ้าแบตเตอรี่ดีก็มีประโยชน์สารพัดอย่าง แต่หากแบตเตอรี่อ่อนมาก รถราคาแพงนั้นก็เกือบเป็นรถยนต์ที่ไร้ค่า AQ จึงเปรียบได้กับพลังหรือกำลังใจในการต่อสู้อุปสรรคของตนนั่นเอง มีผู้แบ่งคนออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ (Sammapan, 2006)
กลุ่ม E (AQ=Zero) คือ กลุ่มที่ไม่รู้จักขวนขวายหรือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นพวกที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นเป็นนิจ
กลุ่ม D (AQ=Very Low) พวกที่มีความรู้ เข้าใจชีวิต แต่ไม่อยากต่อสู้
กลุ่ม C (AQ=Low) พวกที่พอเริ่มต่อสู้ชีวิตก็ยอมแพ้เสียแล้ว พวกนี้มีความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้ มีการวางแผนแต่พอประสบปัญหาก็จะหยุดทันที
กลุ่ม B (AQ=Medium) พวกที่ยินดีต่อสู้ชีวิต แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ตนพึงพอใจก็จะหยุด คนกลุ่มนี้จะเป็นลูกจ้างที่ดี
กลุ่ม A (AQ=High) พวกที่ชอบต่อสู้กับอุปสรรค สามารถแก้ปัญหา ขจัดสิ่งกีดขวาง เอาชนะอุปสรรค และสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้
ควรเริ่มจากมองปัญหาให้เป็นโอกาสก่อน คุณสามารถทำได้
-ควบคุมทุกสถานการณ์ให้ได้ ด้วยทัศนคติที่ว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้
-มีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ ด้วยทัศนคติที่ว่า คุณจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
-มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม มีสติในการแก้ปัญหา คนที่มี AQ ดี จะเป็นคนที่มีใจสู้ มีความมานะพยายาม อดทน ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เรียกว่าเป็นพวก “กัดไม่ปล่อย” ก็น่าจะได้ จึงมักจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำอยู่เสมอ ถ้าแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบกับนักไต่เขา ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งยวดกว่าจะถึงยอดเขา
-กลุ่มแรก คือประเภทถอดใจตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม แค่เพียงเห็นความสูงของภูเขา และระยะทางอันยาวไกล ก็พาลล้มเลิกความคิดที่จะปีนเสียแล้ว
-กลุ่ม ที่สอง ประเภทเอาสนุกเข้าว่า ตราบใดที่ยังรู้สึกสนุกอยู่ก็ยังไปต่อได้เรื่อยๆ แต่พอลำบากหนักๆ เข้า ทำให้หมดสนุก ก็จะเลิกล้มความตั้งใจเสียดื้อๆ
-กลุ่ม สุดท้าย คือ นักไต่เขาตัวจริง ที่สู้ไม่ถอย จะลำบากตรากตรำแค่ไหนก็ไม่หวั่น ยินดีที่จะทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขาให้ได้ ที่แหละ คือ พวกที่มี AQ สูงจริงๆ
คงไม่ต้องบอกว่า AQ มีความสำคัญในการทำงานมากแค่ไหน หากองค์กร หรือใครจะพัฒนา AQ ในที่ทำงานให้สูงก็มีหลักง่ายๆ ด้วยการ
-กำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด
-สร้าง แรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
-มอบอำนาจให้ทีมงาน ให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
-สร้าง บรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้าจะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย
-พัฒนา ความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้
-เมื่อ เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม
-เฉลิม ฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
ก็จบลงไปแล้วสำหรับ AQ ที่เอามาแบ่งปันไว้ ในพื้นที่เรียนรู้แห่งนี้นะครับ
ได้แต่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่นะครับ
ตัวผมเอง ตอนแรกก็มีปัญหาเหมือนกันครับ
ระหว่างที่กำลังเครียดๆ แต่ต้องจัดการตัวเอง ผมก็เตรียมข้อมูลเรื่อง AQ ไปด้วย
อ่านไปอ่านมา รู้สึกว่าปัญหามันเล็กลงเรื่อยๆ ไปซะอย่างงั้นเลย
ฮ่าๆๆๆ ขอให้ท่านผู้อ่านผ่านพ้นปัญหาไปได้ด้วย AQ ที่สร้างเองนะครับ