AEC : ที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตอนจบ
AEC : ที่มาที่ไปกว่าจะมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตอนจบ
ด้วยความสำเร็จครั้งสำคัญในการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนเมื่อปีพ.ศ. 2536 จวบจนกระทั่งปีพ.ศ. 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้เห็นชอบให้มีการจัด จ้างบริษัท McKinsey ทำการศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competitiveness Study) ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอแนะให้อาเซียนเร่งรัดการรวมกลุ่มในสาขาอุตสาหกรรม/บริการที่มีศักยภาพของ อาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านสินค้าอุปโภค/บริโภค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีการค้าระหว่างกันในอาเซียนสูงสุด และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดของอาเซียน ในขณะเดียวกัน อาเซียนต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ได้ให้การรับรองและลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก 3 เสาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีก 2 เสาหลัก คือเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Pillar) และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Pillar)
และยังเห็นชอบให้มีการรวมตัวเป็น AEC ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมือโดยเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในแต่ละสาขา ได้แก่
กลุ่มสินค้าและบริการ | ประเทศสมาชิกรับผิดชอบ | ||
1 | สาขาการท่องเทียว | Tourism | ประเทศไทย |
2 | สาขาการบิน | Air Travel | |
3 | สาขายานยนต์ | Automotives | ประเทศอินโดนีเซีย |
4 | สาขาผลิตภัณฑ์ไม้ | Wood-based products | |
5 | สาขาผลิตภัณฑ์ยาง | Rubber-based products | ประเทศมาเลเซีย |
6 | สาขาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ | Textiles and Apparels | |
7 | สาขาอิเล็กทรอนิกส์ | Electronics | ประเทศฟิลิปปินส์ |
8 | สาขาสินค้าเกษตร | Agro-based products | ประเทศพม่า |
9 | สาขาสินค้าประมง | Fisheries | |
10 | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ | e-ASEAN | ประเทศสิงค์โปร์ |
11 | สาขาด้านสุขภาพ | Healthcare | |
12 | สาขาด้านโลจิสติกส์ | Logistic | ประเทศเวียดนาม |
สำหรับสาขาโลจิสติกส์ เป็นสาขาที่ 12 โดยผู้นำอาเซียนและรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงและพิธีสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ปลายเดือนสิงหาคม 2548
เป้าหมายของ AEC
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน (single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เพื่อมุ่งให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน ต่อมาผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี
นอกจากการดำเนินการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกันตามกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังมีแนวทางความร่วมมือร่วมกันอีกเช่น
เพราะฉะนั้นผู้ประกอบกิจการค้าหรือแม้แต่ผู้รับจ้างก็ยังต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็ฯเรื่องของภาษาที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งได้มีการเสนอภาษามาลายูมาเป็นภาษาประภูมิภาคอาเซียน (อันเนื่องมาจากมีประชากรที่ใช้ภาษานี้กว่าครึ่งของภูมิภาค) เป็นต้น หรือเจ้าของกิจการที่อาจมีคู่แข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่จะเข้าไปแข่งขันที่ประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม