5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี

5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี

“หนูดี” ยังแนะผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการนี้ว่า

1.มีคุณธรรมและรู้จริง เพราะวงการนี้เป็นการสร้างคนซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูง การให้ข้อมูลผิดเท่ากับเป็นการทำบาป นอกจากนี้ ความรู้ที่มีไม่ใช่แค่ความรู้ที่อ่านจากหนังสือต้องรู้ลึกถึงข้อมูลที่แท้จริง

2. ชื่อธุรกิจบอกแล้วว่าสร้างอัจฉริยะ คนที่จะทำต้องมีปูมหลังชีวิตที่ดี ต้องเรียนเก่ง ทำงานเก่ง และบริหารชีวิตส่วนตัวได้ เพราะถ้าจะไปสอนคนอื่นต้องทำชีวิตตัวเองให้ดีก่อน

3.รู้จักเอื้อคนอื่น

4.รู้กติกาสากลในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามา

5.เก่งทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

ทิปส์ในการพัฒนาสมอง

1. จิบน้ำบ่อย ๆ
สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

2. กินไขมันดี
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

4. ใส่ความตั้งใจ
การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ

6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่
คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

8. เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี
ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

9. ฝึกหายใจลึก ๆ
สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง
ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %

การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

วนิษากล่าวว่า คนทั่วไปมักมองว่าคนที่เป็นอัจฉริยะมักจะหมกมุ่นอยู่กับตำรากองโต ใส่แว่นหนาเตอะและไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมักเกิดกับคนในวงแคบ เช่น คนที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือดนตรี แต่ความจริงแล้ว อัจฉริยภาพมีมากกว่านั้น ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเสนอว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแต่บางด้านอาจเด่นกว่าด้านอื่นและขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก

อัจฉริยภาพ 8 ด้านที่ว่า ได้แก่ อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์ อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจในตนเอง อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ อัจฉริยภาพด้านธรรมชาติ และอัจฉริยภาพด้านดนตรี

สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกายโดยสมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด

สิ่งที่วนิษาพูดทำให้แปลกใจและลบความเชื่อหรือความรู้เก่าเกี่ยวกับสมองไปได้เลย เพราะอัจฉริยภาพของคนไม่ได้อยู่ที่เซลล์สมอง ไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักสมองและไม่ได้อยู่ที่รอยหยักของสมอง แต่อยู่ที่เส้นใยสมองและไมยีลินหรือไขมันสมองมาห่อหุ้ม เนื่องจากเซลล์สมองตายไปทุกวัน แต่จะมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการทำซ้ำๆ กัน

ดังนั้น อัจฉริยภาพสร้างได้โดยการทำซ้ำๆ กันนั่นเอง เช่น หากเล่นเปียโนไม่เป็น แต่ถ้าฝึกทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ก็จะเป็นคนใหม่ที่เป็นอัจฉริยภาพด้านเปียโนได้

อย่างไรก็ตาม คนที่มีเส้นใยสมองมากที่สุดไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดที่สุดเพราะสมองมีเนื้อที่จำกัดในการเก็บเส้นใยสมอง สมองจึงมีการ “รีดทิ้ง” เส้นใยสมองในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในเวลานั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าเด็กแรกเกิดมีเส้นใยสมองมากที่สุด เมื่อเทียบกับเด็กคนเดียวกันในอายุ 6 ขวบ และ 14 ปีและยิ่งโตขึ้นเส้นใยสมองยิ่งน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะโง่กว่าเดิม นั่นเป็นเพราะว่าสมองมีการจัดเก็บและมีแบบแผนในการเก็บเส้นใยสมอง

อัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้าน วนิษาเขียนไว้อย่างน่าอ่านและเข้าใจง่าย ไม่ใช่หนังสือแบบวิทยาศาสตร์หรือแบบเรียนหนักๆ แต่คนทั่วไปอ่านสนุกพร้อมๆ กับได้เคล็ดลับต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ

เมื่ออ่านหนังสือจบแล้ว จะทำให้ความหมายของอัจฉริยะเปลี่ยนไป

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *