หลักการชิมไวน์ ให้ถือหลัก 3 ด.

หลักการชิมไวน์ ให้ถือหลัก 3 ด.
o ด. ตัวที่ 1 คือ แค่ดูก็รู้
1. โทนสี แตกต่างกันออกไป เช่น สีม่วง, สีแดง หรือสีน้ำตาลสำหรับไวน์แดง หรือสีเหลืองเข้ม, สีเขียวใบตองอ่อนไปจนถึงใสไม่มีสีของไวน์
2. ความเข้มของสี ให้ถือแก้วไวน์ตั้งตรงแล้วมองไปตรงๆ ให้ดูว่าสามารถทะลุลงไปได้หรือไม่
• ถ้ามองไม่ผ่านก็แสดงว่า ไวน์มีความเข้มของสีมาก
• ถ้ามองผ่านได้บ้าง ก็มีความเข้มปานกลาง
• ถ้ามองผ่านได้ค่อนข้างชัด แสดงว่าสีของไวน์จาง
3. ความใสสะอาด เกี่ยวข้องกับการขุ่นของไวน์ซึ่งลักษณะไวน์ดีจะต้องใสไม่มีตะกอน
o ด. ตัวที่ 2 คือ เมื่อดมก็ซึ้ง
1. ปริมาณกลิ่น คือความชัดของกลิ่นว่ามีมากน้อยแค่ไหน
2. ประเภทของกลิ่น มีหลายชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น กลิ่นไม้โอ๊ก,กลิ่นแอลกอฮอล์หรือ กลิ่นน้ำส้มสายชู
o ด. ตัวที่ 3 คือ ได้ดื่มจึงเข้าใจ
สิ่งที่ต้องการจากขั้นตอนการดื่มไวน์มี 2 อย่างคือ
1. รสชาติ คือ รสของไวน์ เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม
2. รสสัมผัส คือ ลักษณะของเนื้อไวน์ เช่น ความหยาบ หรือละเอียด, ฝืด หรือลื่น, น้ำหนักหนักหรือเบา
ไวน์นิยมรินใส่แก้วประมาณ 1/2 ถึง 2/3 ของแก้ว ขนาดของแก้วอาจจะต่างกัน และนิยมเติมไวน์ก่อนหมดแก้ว ผู้ที่ต้องการจำกัดการดื่มสามารถบอกคนเซิร์ฟไว้ล่วงหน้าได้ หรือถ้ารินเองก็ดูจากปริมาณในขวด ขนาดมาตรฐานของไวน์หนึ่งแก้วหมายถึง 150 ซ. ซ.
• องค์ประกอบที่มีผลต่อการชิมไวน์
1. แสงสว่าง จำเป็นสำหรับการดูสีไวน์ควรจะอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจากธรรมชาติส่องถึง เพราะแสงจากธรรมชาติจะให้สี
เหมือนความเป็นจริง
2. สถานที่ชิม ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และปราศจากกลิ่นอับเหม็นต่างๆ เพราะกลิ่นเหม็นเหล่านี้จะไปรบกวนกลิ่น
ไวน์ได้
2. แก้วไวน์ มีความสำคัญรองมาจากตัวไวน์เองเลยทีเดียว เพราะถ้าแก้วหนาไป หรือเป็นลอน ไม่เรียบจะทำให้การดูสีลำบาก
3. การแกว่งไวน์ (Swirl) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าผู้ที่กำลังแกว่งไวน์อยู่นั้นเป็นคอไวน์ขนานแท้หรือไม่
4. ที่บ้วนไวน์ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการชิมถ้าต้องกลืนไวน์ลงไปตั้งแต่แก้วแรกยันแก้วสุดท้ายเห็นทีต้องเมาพับไปก่อ
5. อุณภูมิไวน์ ไวน์แต่ละชนิดจะมีอุณหภูมิในการเสริฟแตกต่างกันซึ่งถ้าหากว่ามีการเสริฟไวน์ที่ผิดอุณหภูมิแล้วมันก็แทบจะไม่มีคุณค่าอะไรเลย
• เวลาที่เหมาะสมในการดื่มไวน์
1. ช่วงเช้า ระหว่าง 10.00 – 12.00 น.
2. ช่วงบ่าย ระหว่าง 16.00 – 18.00 น.
• วิธีจับแก้วไวน์ที่ถูกต้อง
1. การจับที่ก้านแก้ว
2. การจับที่ฐานแก้ว
• ลักษณะแก้วชิมไวน์ที่ดี
1. ไม่มีความหนาจนเกินไป
2. ขอบแก้วควรเรียบเสมอกัน ไม่มีขอบนูนขึ้นมาเป็นสัน
3. ส่วนของปลายแก้วควรจะสอบเข้าหากันและตรงกัน
4. แก้วควรจะปล่องออกเล็กน้อยคล้ายดอกทิวลิป
5. ขาหรือก้านของแก้วควรสูงพอและมีที่ให้เราใช้นิ้วจับตรงกันได้อย่างถนัด
• อุณหภูมิในการชิมไวน์ชนิดต่างๆ
o ไวน์แดงชนิดต่างๆ (องศาเซลเซียส)
– โบโฌเล่ส์ นูโว (9 – 11)
– ครูส์ โบโฌเล่ส์ (11 – 14)
– โก๊ตอูโรน 6 (12 – 14)
– บอริโดซ์ทั่วไป (14 – 16)
– ชิลีคาแบร์เน่ (14 – 16.5)
– โรนชั้นดี (14 – 16.5)
– เบอร์กันดี้ 6 (14.5 – 17)
– บอร์โดซ์ชั้นดี (16 – 18)
– วินเทลฟอร์ต (16 – 18)
– ออสเตรเลียชั้นดี (16 – 18)
– แคลิฟอร์เนียชั้นดี (16 – 18)
o ไวน์ชนิดต่าง ๆ (องศาเซลเซียส)
– ไวน์หวาน (4 – 6)
– ไวน์ขาวบอดี้เบา (6 – 10)
– ไวน์ขาวบอดี้หนัก (10 – 14)
– ไวน์แดงบอดี้เบา (10 – 13)
– ไวน์แดงบอดี้หนัก (14 – 18)
• อุณหภูมิที่พอเหมาะในการเสริฟไวน์
จาก Wine Tasting Guide ของ VinumVitae พอสรุปคร่าวๆได้ดังนี้
o Amagnac / บรั่นดี / Congnac (19 องศาเซลเซียส)
o ไวน์แดง (Full Bodied / Port) (18 องศาเซลเซียส)
o ไวน์หวานหลังอาหาร (Desert Wine) (16 องศาเซลเซียส)
o ไวน์แดงชนิด Medium Bodied (15 องศาเซลเซียส)
o ไวน์แดงชนิด Light Bodies (13 องศาเซลเซียส)
o ไวน์ขาวชนิด Full Bodied (12 องศาเซลเซียส)
o ไวน์ขาวชนิด Medium Bodied (11 องศาเซลเซียส)
o ไวน์ขาวชนิด Light Bodied, โรเซ่ (Rose) (10 องศาเซลเซียส)
o แชมเปญ (Sparkling Wine) (9 องศาเซลเซียส)
• จุกคอร์กที่ใช้ปิดขวดไวน์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1. Natural Corks (จุกคอร์กธรรมชาติ)
เป็นจุกที่ทำมาจากไม้คอร์กชิ้นเดียวทั้งอัน และเป็นจุกที่ถูกเลือกใช้สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ทั่วไป มีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไม้คอร์ก จุกที่มีขายอาจมีลักษณะมนตรงปลาย เพื่อง่ายต่อการปิดจุก และอาจมีการเคลือบขี้ผึ้ง หรือ ซิลิโคน เพื่อป้องกันเชื้อรา และเพื่อสะดวกในการใช้กับเครื่องปิดจุกอัตโนมัติ จุกคอร์กธรรมชาติเกรดดีๆ จะใช้ในการบ่มไวน์ในขวดได้เป็นเวลานานๆ เช่น 6 ปี ขึ้นไป ปัจจุบันจุกคอร์กธรรมชาติมีราคาแพงมาก และบางชนิดก็มีปัญหาด้านคุณภาพ
2. Colmated Corks (คอลเมทเท็ด คอร์ก)
เป็นจุกคอร์ก เกรดรองลงมา เพราะมีคุณภาพไม่สมบูรณ์ อาจจะมีรูรอยแยก และอื่นๆ ซึ่งจะต้องผ่านขบวนการ อุดแต่งความไม่มบูรณ์เหล่านี้ ด้วยผงคอร์กผสมกาวพิเศษ อย่างไรก็ดีจุกแบบนี้มักมีผิวไม่เรียบ เนื่องจากการหดตัวในเวลาต่อมาของส่วนที่ใช้อุด ทำให้อาจเกิดการรั่วซึมของไวน์ได้ ส่วนดีของจุกชนิดนี้ คือมีราคาถูก และหาได้ง่ายเท่านั้น
3. Agglomorated Coks (แอกโกลมเมทเรทดท็ด คอร์ก)
จุกชนิดนี้ทำจากคอร์กชิ้นเล็กๆ( cork particle)นำมาอัดขึ้นรูป โดยทั่วไปจะมีคุณภาพดี แต่ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นคอร์กที่ใช้ ถ้าใช้ particle ขนาดใหญ่ ก็จะมีการใช้กาวน้อยลง ทำให้เกิดความยืดหยุ่นได้ดีกว่าชนิดที่ใช้ particle ขนาดเล็ก ข้อดีเหนือจุกคอร์กธรรมชาติก็คือ จุกคอร์กชนิดนี้จะมีผิวเรียบสนิท ไม่เกิดการรั่วซึม มีคุณภาพคงที่ แน่นอน และราคาไม่แพง แต่จะมีหลายเกรด ดังนั้นจึงควรเลือกจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้
4. Composite Corks (คอมโพสิท คอร์ก)
เป็นจุกชนิดใหม่ ผลิตขึ้นจากการรวม agglomerated และ natural cork เข้าด้วยกัน โดยที่ตอนปลายทั้ง 2 ด้านของจุก จะเป็นแถบคอร์กธรรมชาติ ขณะที่ตัวคอร์กจะเป็น agglomorated ซึ่งทำให้ได้ประโยชน์จากการยืดหยุ่นและความสม่ำเสมอของ agglomorated บวกกับคุณสมบัติพิเศษของคอร์กธรรมชาติ(ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆกับไวน์)เฉพาะส่วนที่สัมผัสกับไวน์และอากาศ จุกชนิดนี้ใช้มากกับแชมเปญและ sparkling wine มักมีราคาแพง แต่จะเหมาะมากกับการเก็บไวน์เป็นเวลานานๆ
• ประโยชน์และโทษที่ได้จากไวน์
o ประโยชน์ที่ได้จากไวน์
– คุณค่าของวิตามิน เกลือแร่ เหมือนกับผลไม้ เพระไวน์มาจากการหมักผลไม้
– ถ้าดื่มไวน์จะได้ประโยชน์จากยีสต์ ซึ่งมีโปรตีนและวิตามิน บี1 บี2 สูงมากทำให้ร่างกายแข็งแรงและบำรุงประสา
– ทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
– ทำให้รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
– ทำให้เข้าสังคมและทำให้มีความกล้าและมั่นใจมากขึ้น
o โทษที่ได้จากไวน์
– ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เมื่อดื่มมากแอลกฮอล์จะไปทำลายเซลล์ของตับได้ นานๆ อาจเป็นโรคตับแข็งได้
– ถ้าดื่มมากๆ ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ อาจทำให้เกิดพฤติกรรมไม่ดีขึ้นได้
– เปลืองเงินมากกว่าเครื่องดื่มธรรมดา เพระไวน์มีราคาแพง ดื่มแต่ละครั้งมักดื่มมากกว่าเครื่องดื่มธรรมดา เป็นการเพิ่มรายจ่าย
• การเก็บรักษา
o สถานที่หรือห้องที่ใช้เก็บเหล้าไวน์ควรจะมีอุณหภูมิคงที่ (10 – 12 องศาเซลเซียส)
o สถานที่หรือห้องที่ใช้เก็บเหล้าไวน์ จะต้องมีที่สำหรับการถ่ายเทของอากาศได้ดร และมีความสะอาด
o ในการเก็บรักษาเหล้าไวน์ในการวางขวดเหล้าไวน์นั้น จะต้องวางขวดเหล้าไวน์ให้นอนราบ ทั้งนี้เพื่อให้จุดคอร์กของขวดเปียกอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์ที่มีในขวดเล้าไวน์

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *