หนังสือชีวิต

หนังสือชีวิต

โดย แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ [12-12-2006]

สำหรับผู้บริหาร เมื่อถึงจุดหนึ่ง หลายๆ คนคงคิดว่าต้องตัดสินใจเลือก ระหว่างทางหนึ่ง ซึ่งโอกาสเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กับอีกทางหนึ่งคือ การปล่อยวางความกดดันจากงานมาให้เวลากับครอบครัวหรือใช้ชีวิตกับสิ่งที่ ตัวเองชื่นชอบ
การจะเลือกทั้งสองทาง ดูจะเป็นไปได้ยากสำหรับนักบริหารที่มักจะใช้เวลาเกือบ ทั้งหมด ทุ่มเทให้กับหน้าที่จนมีเวลาเหลือเพื่อใช้กับครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัวน้อยมาก ซึ่งผมเชื่อว่าในความเป็นจริงแล้ว เราน่าจะเลือกทั้งสองทางได้พร้อมๆ กัน หากรู้จักสมดุล ชีวิตทั้งสองด้านให้ได้
หากภาวะในการทำงานเต็มไปด้วยความเอาจริงเอาจัง จนทำให้เรารู้สึกขยับตัว ไปไหนไม่ได้ อาจฟังดูเป็นความทุ่มเทที่น่าจะส่งผลดีกับองค์กร แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรากำลังเสียสมดุลกับการให้เวลากับครอบครัว และยังก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับ ทีมงาน ที่ย่อมรู้สึกถึงความยากลำบากและเกิดความกดดันจนเกินความจำเป็นจนอาจ กลายเป็นผลร้ายกับองค์กรได้ในระยะยาว
การสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่การงาน และชีวิตส่วนตัวจึงกลายเป็นเรื่อง จำเป็นสำหรับผู้บริหารในทุกวันนี้ ซึ่งมีหลักหรือข้อคิดมากฝากผู้อ่าน “คิดนอกกรอบ” ทุกท่านในวันนี้ 5 ข้อด้วยกัน เริ่มจากข้อแรก ต้องมีเสาหลักของชีวิต หรือ Pillar เสียก่อน อะไรคือเสาหลักของชีวิต? สิ่งแรกที่ต้องทำ คือทุกคนต้องสร้างให้ตัวเองมีจุดยืน ของชีวิต ซึ่งอาจหมายถึง งาน เพื่อน ครอบครัว งานอดิเรก ศาสนา สมาคม หรือการ วางแผนสะสมรายได้ เพื่อให้ตนเองมีความสามารถจะมีแผน ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือ ทุนการศึกษาบุตร ฯลฯ ล้วนถือเป็นเสาหลัก ซึ่งเสาหลักมีหลายอย่าง เหมือนบ้าน ต้องมีเสาหลักหลายเสา เพื่อให้เกิดความมั่นคงสิ่งที่ต้องทำ คือต้องรู้ว่าเป้าหมาย ของเราคืออะไร และต้องแบ่งสรรเวลา ให้ลงทุนในแต่ละเสาที่มีอยู่ให้สมดุล มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อสอง ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และ มีความสมดุล เพราะเมื่อมีเสาหลัก แล้วจะทำอย่างไรให้ต่อเนื่องได้ และ กระจายไปเท่าๆ กันให้ได้ เนื่องจาก โลกความเป็นจริงเราจะถูกเสาหลักใด เสาหลักหนึ่งใช้เวลาทั้งหมดไม่ได้ เมื่อเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งเติบโต มากเกินไป ต้องพยายามหาทางให้เกิด ความสมดุล เพื่อไม่ให้มากเกินไปหรือ น้อยเกินไป และการบริหารเวลาส่วนตัว เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะจะทำให้มี โอกาสทบทวนตัวเอง และให้ความคิด ของเรา มีความสามารถที่จะนำไปต่อยอด นอกเหนือจากจุดที่เราให้ความสำคัญอยู่ และยังต้องมีความสามารถที่จะสร้างมิติอื่น ซึ่งเป็นตัวเสริมให้สิ่งที่เรามีอยู่ เพื่อให้คิด ให้ดีมากขึ้นได้ รวมถึงทำอย่างไรให้จิตของเราสร้างสมดุลให้สมองของเราจัดการเรื่อง ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานจะดีขึ้น และมีความสามารถที่จะสร้างงาน อดิเรกขึ้นมา ซึ่งทำให้เราผ่อนคลายและเกิดจินตนาการ หรือเกิดความคิดใหม่ๆ ข้อสาม ต้องรู้จักทบทวน ผมเชื่อว่าชีวิตก็เหมือนหนังสือ 1 เล่ม เวลาเปิดต้องเปิด ทีละหน้า และดูสารบัญเสียก่อน ชีวิตจึงถูกแบ่งเป็นบทต่างๆ แต่ละบทมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ถ้าเรามีความสามารถทำให้ชีวิตเรา ซึ่งแต่ละช่วงเวลาของคนมีเป้าหมาย ต่างกัน แต่ถ้าเรามีความสามารถที่จะมีโอกาสที่จะตั้งข้อสังเกตที่จะทบทวนตัวเองเสมอ มีความสามารถที่จะรู้ว่าแต่ละบทจุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร จบอย่างไร และเมื่อจบแล้วเรา รู้สึกอย่างไร
ข้อสี่ คือความเป็นผู้นำ โดยผู้นำต้องเป็นตัวอย่างของลูกน้อง และผู้นำต้องนำพลัง ออกมา เพื่อจูงใจให้ผู้ตามเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการ และให้เกิดการ หาเจอความเหมือนที่แตกต่าง แต่ที่สำคัญ คือต้องรู้จัก และเคารพความแตกต่างที่มีอยู่ และมีความหนักแน่นที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีเวลาช่วงว่างเพื่อหาสิ่งที่เขาชอบและ ส่งเสริมให้เขาเกิด ซึ่งผู้นำต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผู้นำต้องเข้าใจว่า คนรุ่นใหม่มีการมองคุณค่าต่างจากคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ต้องการ ชีวิตส่วนตัวมากขึ้น และความจงรักภักดีน้อยลง และสภาพแวดล้อมเปิดกว้าง มีโอกาส เปิดมากมาย ที่สำคัญที่สุด คือต้อง Put the Right Man to the Right Job จากสิ่งที่เขา มีอยู่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด
ข้อสุดท้าย ต้องรู้จักค่าของเวลา เพราะทุกคนมีเรื่องเดียวที่เสมอกัน คือ “เวลา” เราจึงต้องหาทางใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นให้คุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรา สุดท้ายแล้วเราก็จะมีเวลาที่มีคุณค่ามากกว่าคนอื่นๆ บ่อยครั้งที่ผู้นำประสบความสำเร็จอย่างมาก และมีความสามารถที่จะบริหาร ชีวิตอย่างดี แต่ความสำเร็จไม่ใช่มิติเดียว ซึ่งเราคงต้องเรียนรู้ที่หาทางผสมผสาน กันระหว่างตัวเราเองในมิติของเสาหลักหลายเสาที่เรามีอยู่ที่จะทำให้ชีวิตมั่นคง ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและประสบความสำเร็จในเป้าหมายการทำงานที่เราวางไว้ ซึ่งทั้งหมดนั้นคงเป็นหนังสือชีวิตที่น่าอ่านสำหรับคนอื่นๆ ต่อไป

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *