สโตนเฮนจ์

สโตนเฮนจ์
สโตนเฮนจ์ตั้งอยู่ที่ราบซาลิสเบอรี เมืองซัลลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 10 ไมล์ สโตนเฮนจ์เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายซ้อนกันเป็นวงกลมหลายวง ประกอบด้วยแนวหินขนาดมหึมาหินเรียงรายราว ๆ 3 กิโลเมตร และ มีกลุ่มหินใหญ่ประมาณ 112 ก้อน ตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทุ่งนา เป็นรูปวงกลมซ้อนกันอยู่ 3 วง บางก้อนล้มนอน บางก้อนตั้งตรง บางก้อนวางซ้อนทับอยู่บนยอดก้อนหินที่ตั้งอยู่สองก้อน
เป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการดัดแปลงมาหลายยุคหลายสมัยนับพันปี จากยุคหินตอนปลายสู่ยุคสำริดตอนต้น และการก่อสร้างนั้นทำต่อเนื่องมาถึง 3-4 ระยะในช่วง 1,500 ปีคือการก่อสร้างเริ่มขึ้นในช่วงราว 2,800 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มต้นโดยการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุม หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันหลุมดังกล่าวถูกลาดทับด้วยปูนซีเมนต์ ตรงปากทางเข้ามีแท่งหินเรียกว่า หินฮีล (Heel Stone) ตั้งอยู่ และมีหิน Y กับหิน Z เป็นวงหินอีกสองวงถัดเข้าไป วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบีรย์ เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดใหญ่ตรงใจกลางวงดินต่อมาได้มีการนำ หินสีน้ำเงิน (Bluestone ) 80 ก้อนมาเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันสองวง และต่อมาก็มีการรื้อวงสองวงนั้นออกและนำหินทราย 30แท่ง ที่เรียกกันว่า หินซาร์เซน (Sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมเดียว และภายในวงกลมของหินทรายจะมีแท่งหินวางเรียงรายเป็นรูปกึ่งเกือกม้าอยู่ภายในสองกลุ่ม
ประวัติ
กองหินประหลาดนี้อยู่กลางทุ่งนาแห่งเมืองซัลลิสเบอรี ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 10 ไมล์ ประกอบด้วยแนวหินขนาดมหึมาหินเรียงรายราว ๆ 3 กิโลเมตร และ มีกลุ่มหินใหญ่ประมาณ 112 ก้อน ตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทุ่งนา เป็นรูปวงกลมซ้อนกันอยู่ 3 วง บางก้อนล้มนอน บางก้อนตั้งตรง บางก้อนวางซ้อนทับอยู่บนยอดก้อนหินที่ตั้งอยู่สองก้อน
วงกลมรอบนอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 100 ฟุต มีหินทั้งหมด 30 ก้อน แต่ละก้อนสูง 13 ฟุต
วงกลมรอบกลาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 76 ฟุต มีหินทั้งหมด 40 ก้อน มีสองก้อนตั้งสูงถึง 22 ฟุต
วงในสุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 50 ฟุต มีหินทั้งหมด 42 ก้อน ล้มบ้างตั้งสูงบ้าง หินแต่ละก้อนหนักเป็นตันๆ เฉลี่ยแล้วสูง 4 เมตรหนัก 26 ตัน
ความพิศวงและปริศนาอันซ่อนเร้นของสโตนเฮนจก็คือ การเป็นปฏิทินโบราณ ซึ่งตามแนวของก้อนหินต่างๆ จะตรงกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ในวันสำคัญๆของปีได้อย่างแม่นยำ โดยการนำหินรูปตัว Y และรูปตัว Z วางสลับกัน คำนวณเดือนต่างๆ จึงทำให้หลายคนเชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นสถานที่เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาและดาราศาสตร์แต่ก็มีหลายคนเชื่อว่าน่าจะเป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมันโบราณ เป็นที่บูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ของคนโบราณ บ้างก็เชื่อว่าเป็นสุสานโบราณเป็นที่ประกอบพิธีฝังศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่ค้นพบหลุมศพหลายหลุมใกล้ๆ กับสโตนเฮนจ์ และแม้เมื่อไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์อ้างว่าสามารถถอดรหัสความลับของแท่งหินวงกลมเหล่านี้ได้ ว่าสโตนเอนจ์คือสถานที่คำนวณดาราศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฎิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ แม้ปริศนานี้จะพอมีเค้าอยู่บ้างจากการคำนวณการตกหรือขึ้นของพระอาทิตย์และพระจันทร์ในวันสำคัญๆ ได้อย่างแม่นยำแล้ว แต่ปริศนาแห่งสโตนเฮนจ์ยังไม่เป็นที่ยอมรับหรือมีการไขขานปริศนาและความลึกลับนี้ได้อย่างสมบูรณ์
ในการสร้างสโตนเฮจน์ นั้นต้องใช้ระยะเวลาถึง 3 ช่วง ซึ่งต้องกินเวลาเกือบถึง 1000 ปี ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ช่วงที่1 สุดนั้นนักโบราณคดี เรียกว่า ช่วงสโตนเฮจน์ที่ 1 อาจอยู่ราว 2750 ปีก่อน คริสต์ศักราช เป็นช่วงที่มีการค้นพบลักษณะประหลาดอันลึกลับที่สุดอย่างหนึ่งของสโตนเฮจน์ นั่นคือหลุม อัมเบรย์ (Aubrey Holes)

หลุมอัมเบรย์ (Aubrey Holes) เหล่านี้ขุดขึ้นภายหลังจากที่พื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยกองมูลดิน และร่องคล้ายไถนาเป็นหลุมตื้นๆ จำนวน 56 หลุม ซึ่งถูกขุดขึ้นเป็นระยะๆ ตามแนวของกองมูลดิน หลุมเหล่านี้ตื้นเขินจนเกือบจะทันทีที่ขุดเสร็จ จากหลักฐานที่ขุดได้นั้นแสดงให้เห็นว่าไม่เคยมีเสาหินหรือเสาไม้ฝังอยู่ในหลุมนี้เลย แม้ว่าจะพบกับสิ่งอื่นๆ รวมทั้งกระดูกคนซึ่งถูกนำไปฝังไว้หลังจากที่หลุมตื้นเขินแล้ว เป็นการยากที่จะหาคำอธิบายที่ชัดเจนสำหรับลักษณะอื่นๆ เพื่อนำไปใช้กำหนดช่วงเวลาของ สโตนเฮจน์ที่ 1 เช่นมีการสร้าง ฮีลสโตน (Heel Stone) และเสาไม้ที่วางไม่เป็นระเบียบนอกทางเข้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในการอาศัยเสาหิน หลุม มูลดินทั้งหลายเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดช่วงเวลาของ สโตนเฮจน์ ที่ 1 นั้นจะต้องรำลึกเสมอว่าหลักฐานที่กล่าวมานั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลา และการก่อสร้างในยุคต่อมา งานทางด้านโบราณคดีมีส่วนช่วยในการสร้างลักษณะที่หายไปอย่างมากแต่กระนั้นลักษณะอีกมากก็ยังต้องอาศัยการทำนาย หรือเดาเอาว่า สโตนเฮจน์ที่ 1 นั้นมีอายุที่แท้จริงเท่าไร
ช่วงที่ 2 เรียกว่า สโตนเฮจน์ที่ 2 มีอายุราว 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช น่าจะเริ่มด้วยการสร้างถนนสายยาวสายหนึ่งไปตามกองมูลดิน และร่องขนานกันเป็นทางไปสู่ แฮมพ์ไชร์ เอวอน (Hampshcelly Mountains) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 3 กิโลเมตรทางสายนี้คาดว่าสร้างด้วยหินอ่อนอย่างน้อย 82 ก้อน แต่ละก้อนมีน้ำหนักมากกว่า 4 ตัน โดยเชื่อว่านำมาจากเทือกเขา เพรสเซลลี่ ทางตะวันตอของแคว้นเวลส์ หินเหล่านี้เรียกว่า บลูสโตน (Bluestone) หรือหินศักดิ์สิทธิ์แห่งแคว้น เวลส์ และมีการนำหินทรายเพื่อนำมาขัดเกลาแต่งผิวจำนวนไม่น้อยกว่า 75 ก้อนเพื่อนำมาตั้งเรียง และซ้อนกันเป็นรูปวงกลม ซึ่งหินนี้เรียกว่า หินซาร์เซน

ช่วงที่3 เรียกว่า สโตนเฮจน์ที่ 3 มีอายุ 1900 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการก่อสร้างสโตนเฮจน์ แต่เป็นการก่อสร้างที่เริ่มเกิดการเสื่อมทางด้านดาราศาสตร์ เพราะผิดแบบแผนจากการวางแปลนตั้งแต่แรกคือ ช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 ที่มีการเตรียมการ และสร้างอย่างถูกหลักการคำนวณทางดาราศาสตร์ และยังคงเป็นปริศนาว่าทำไมแท่งหินเหล่านี้จึงถูกทิ้งให้เสื่อมโทรม และผุพังขาดการดูแลจากคนในยุคต่อๆ มาจนเหลือแต่ซาก

ภาพร่างแบบ สโตนเฮจน์ที่เสร็จสมบูรณ์ ภาพจำลองสโตนเฮจน์

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *