สาเหตุของความเครียด – อรุณ รักธรรม

สาเหตุของความเครียด – อรุณ รักธรรม (2538:428-438) กล่าวถึงสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนเราเครียดนั้นเกิดจากองค์ประกอบดังนี้

1.สภาพแวดล้อม

ในที่นี้ร่วมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ และบรรยากาศที่
ล้อมรอบบุคคลนั้นอยู่ เช่นอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด เสียงดังค่อย แสงที่จ้าหรือมัว สารพิษในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เชื้อโรค รังสี คน โรคภัยไข้เจ็บ บรรยากาศที่สดใสเป็นกันเอง เป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ บรรยากาศที่ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นมีส่วนร่วมรับฟังกันและกัน หรือบรรยากาศที่คอยแก่งแย่งชิงดี การนินทาว่าร้าย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทางด้านสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด

สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดของบุคคลนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ

1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

2) สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ

3) สภาพแวดล้อมทางสังคม

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ คือ สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา อันจัดเป็นสิ่งของซึ่งจะมีผลโดยตรง หรือโดยอ้อมที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นกับเรา เช่น อุบัติเหตุจากรถยนต์ อุณหภูมิร้อนหนาว หรือการเกิดภัยธรรมชาติ รังสีหรือคลื่น สภาพแวดล้อมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับสาเหตการเกิดความเครียดในทางกายภาพ

สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ คือสภาพแวดล้อมที่จัดเป็นพวกสิ่งมีชีวิตที่สามารถทำอันตรายกับเราได้ นับตั้งแต่สัตว์ร้ายหรือจนถึงแมลงหรือเชื้อโรค ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น เชื้อโรคเอดส์ พืชที่เป็นพิษ สภาพแวดล้อมที่ยังคงเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดโรคความเครียดในทางกายภาพเช่นกัน

สภาพแวดล้อมทางสังคม คือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปะทะสังสรรค์ การมีปฏิ
สัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ อาจเป็นระดับกลุ่ม ระดับสังคมองค์การ หรือการทำงานพบปะผู้คน อาจจะระยะสั้นหรืออาจจะระยะยาวเหล่านี้ ล้วนเป็นสภาพทางสังคมทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมนี้เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดความเครียดได้อย่างแน่นอน เพราะทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังคงเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์และมีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่เราอาจพอทราบได้ก็คือ ส่วนใดจะเป็น
สาเหตุเชื่อมโยงโดยตรง และส่วนใดเป็นสาเหตุโดยอ้อมเท่านั้น

2.องค์ประกอบทางด้านจิตใจ

จิตแพทย์ท่านหนึ่งเคยเปรียบเทียบไว้ว่า จิตใจของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนเปราะ
บางเหมือนแก้ว บางคนก็เข้มแข็ง บางคนก็อ่อนแอมีความอดทนต่างกันไป บางคนกระทบอะไรหน่อยก็จะคอยแต่เครียด บางคนก็หนักแน่นเยือกเย็นเหมือนน้ำแข็ง บางคนวู่วามเหมือนไฟ รวมถึงการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้และอาการของโรคจิต โรคประสาท บางคนชอบคาดหวังจากตนเองหรือจากคนอื่น
สาเหตุทางด้านจิตวิทยา
สาเหตุทางด้านจิตวิทยาถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดมากที่สุด โดยมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้

1)ความรู้สึกและอารมณ์

2)สถานการณ์

3)ประสบการณ์ในชีวิต

4)การตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต

ความรู้สึกและอารมณ์

อารมณ์ คือ ความซับซ้อนทางสรีระที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพสมดุล อารมณ์และความรู้สึกถือเป็นสิ่งที่ได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทอวัยวะและระบบย่อยต่างๆของร่างกายเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้น จึงทำให้มนุษย์ประกอบด้วยทั้งระบบตรรกะและอารมณ์ ซึ่งคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด จะเห็นได้ว่าความรู้สึกที่นำสู่ความเครียด ก็คือ ความรู้สึกผิดหวังและกังวลนั้นเอง

สถานการณ์ คือ สถานะหนึ่งที่บุคคลประสบอยู่ อันจะเป็นเงื่อนไขของระบบจิตใจให้เกิดปฏิกิริยา ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็น 4 สถานการณ์ ดังนี้

1) เกิดจากเหตุการณ์ หรืออะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจ

2) เป็นภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือเสียหายกับตนเอง
3) ล้มเหลว เป็นภาวะของการถูกรบกวน ต่อความพยายามที่จะทำ สิ่งที่เกิดผลต่อเป้าหมายที่ต้องการภาวะเช่นนี้จะส่งผลถึงการไหลของพลังงานในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับจังหวะทางชีวภาพ

4)ขัดแย้ง เป็นภาวะของการขัดแย้งที่เกิดจาก การได้รับความควบคุมที่ซ้ำซ้อนของระบบจิตใจ ซึ่งบางครั้งเป็นการควบคุมที่มีทิศทางที่สวนทางกันจะนำมาซึ่งความรู้สึกเจ็บป่วย และสับสน
สถานการณทั้ง 4 นี้เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดอยู่มาก

ประสบการณ์ชีวิต เป็นส่วนที่ร่วมเอาเหตุการณ์ต่างๆทางจิต ที่เกิดขึ้นกับบุคคลหนึ่ง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีผลจากประสบการณ์ของชีวิตของทางกายภาพ ที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วเราสามารถแบ่งความเกี่ยวข้องออกเป็น 4 ประเด็น แต่ทว่าแต่ละประเด็นนั้นก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และเหลื่อมล้ำกัน

1) การเปลี่ยนแปลงชีวิต คือเหตุการณ์ต่างๆรอบตัวที่เกิดขึ้นกับบุคคล มีความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในระดับต่างๆ เช่น การประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ การเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน ในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาวิจัยว่าแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีค่าคะแนนต่างกันอย่างไร

2) ช่วงของชีวิต คือ จุดเปลี่ยนของชีวิตซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิต เช่น เปลี่ยนจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา เป็นเสมือนจุดที่ได้มีการเปลี่ยนทัศนคติเข้าสู่ขั้นที่เหมาะสมกับระดับอายุ

3) หน้ามือกับหลังมือ คือ มีการเปลี่ยนสถานภาพและเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เราอาจเรียกว่าจุดวิกฤตก็ได้ ซึ่งจุดวิกฤตดังกล่าวมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการประเมินของแต่ละคน ตัวอย่างที่จะอธิบายสาวนนี้ได้อย่างดีคือ การกระทำอะไรด้วยอารมณ์ชั่ววูบ(ในแง่ของพฤติกรรม) และสาเหตุของหัวใจวาย(ในแง่ของการเปลี่ยนปลงสรีระ)

4) การตัดสินใจของชีวิต การตัดสินใจของชีวิตจะเป็นผลลัพธ์ระยะยาวในทางจิตวิทยา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพจิต

3. งานที่ทำให้คนเราเครียดได้แก่

-งานหนัก

-งานมาก

-งานเสียง

-งานจำเจ ซ้ำซาก น่าเบื่อ

-งานที่ต้องใช้สติปัญญาและกำลังสมองมาก ได้แก่ ผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ต้องมีความรับผิดชอบมาก ก็ย่อมประสบความวุ่นวายมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นโรคเครียดมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

4.แรงกดดันทางสังคม

สังคมรอบตัวเรามีพลังผลักดันให้เราเครียดได้ สิ่งที่เป็นตัวอย่างสำหรับขั้นตอนนี้คือ การ
ลดค่าเงินบาท เรื่องหนี้สิน ค่านิยม ศีลธรรมประเพณีเพื่อสถานะทางสังคม ตำแหน่งหน้าที่การงาน การคอยเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วรู้สึกเครียดขึ้นมาได้ง่ายๆ

5.สัมพันธภาพและพฤติกรรม

ลักษณะสัมพันธภาพที่มีต่อบุคคลอื่นและพฤติกรรมการแสดงออกที่มีผลกระทบต่อคน
เราจนทำให้เครียดได้ คนที่มีเพื่อนมากกับคนที่เก็บตัวจะมีระดับความเครียดแตกต่างกัน คนที่แสดงพฤติกรรมออกมาต่อคนอื่นต่อสังคมอย่างเหมาะสม ย่อมไม่ตึงเครียดมากเท่ากับคนที่สับสน ไม่สามารถตอบสนองต่อบุคคลอื่นและสังคมได้อย่างถูกต้อง

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *