ประวัติ National-Panasonic ตอน 3

ประวัติ National-Panasonic ตอน 3 การก่อตั้งธุรกิจ

ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ 

จากการที่เขาตัดสินใจที่จะออกมาทำเต้าเสียบหลอดไฟฟ้า สุขภาพที่เคยอ่อนแอของเขาในขณะที่เป็นหัวหน้าอยู่โอซาก้าไลท์ก็เริ่มดีขึ้นผิดหูผิดตา อาจเนื่องมาจากความท้าทายใหม่ก็ได้ 

โดยที่ในปี 1917 เขาได้ยื่นใบลาออกอย่างเป็นทางการเพื่อไปสู่เส้นทางใหม่ของเขาที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและไม่แน่นอน 

การเริ่มต้นของเขาใช้ทุนเพียง 100 เยนจากการเก็บหอมรอมริบของตัวเอง โดยมีทีมงานที่เป็นเป็นภรรยาและเพื่อนสนิทรวมอีก 4 คน  โรงงานแห่งแรกที่เขาเปิดก็คือห้องของโคโนสุเกะนั่นเอง โดยเริ่มทดลองผลิตเต้าเสียบแบบใหม่ที่ดีกว่าท้องตลาดแต่ติดปัญหาหลักที่ฉนวนไฟฟ้า 
การทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าล้มเหลวแต่อย่างไรก็ดีเขาก็ได้ผู้ร่วมงานเก่าซึ่งชำนาญด้านฉนวนไฟฟ้ามาแก้ไขให้ หลังจากทำการทดลองอยู่ 4 เดือนเขาก็ได้ผลงานชุดแรกออกมา  แต่น่าเสียดายที่ไม่มีร้านขายเครื่องไฟฟ้าแห่งใดเลยที่เชื่อใจเขาเนื่องจากเห็นเขาเป็นมือใหม่ การขายของไม่ออกทำให้เพื่อนร่วมงานของเขาทั้ง 2 เกิดความลังเลใจ และในที่สุดเขาสองคนก็ลาออก  แน่นอนว่าสถาน-การณ์ตอนนั้นเลวร้ายสุดๆ เงินไม่มี เพื่อนไม่อยู่ ทำให้กิจการของเขาน่าจะล้มลง แต่ความพยายามและไม่ยอมแพ้ของเขายังผลักดันให้เขาทำงานปรับปรุงเต้าเสียบต่อไปแม้ว่าจะขาดเงินก็เข้าโรงรับ-จำนำเอาเสื้อผ้าและของมีค่าไปขาย และยังคอยขายของเสมอแม้ว่าร้านส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วยก็ตาม

 

ความสำเร็จและการดำเนินธุรกิจ

ความสำเร็จเบื้องต้น

เหมือนฟ้าหรือเทวดาเห็นในความมุมานะของเขา ในเดือนธันวาคมปีนั้น ผู้ค้าส่งรายหนึ่งที่ชื่นชมในความพยายามของเขาพบว่าคู่ค้าต้องการฉนวนไฟฟ้าสำหรับพัดลมที่ไม่ใช่กระเบื้องเคลือบเพราะแตกง่าย  เขาจึงไปบอกโคโนสุเกะให้ผลิตฉนวนที่ทำจากใยหิน  โคโนสุเกะได้ยินเช่นนั้นจึงวางมือจากเต้าเสียบทันทีเพื่อผลิตฉนวนไฟฟ้าจำนวน 1000 ชิ้นตามที่ลูกค้าต้องการ แม้ว่าจะเหลือแรงงานเพียงแค่ 3 คนในโรงงานของเขา แต่พวกเขาก็ได้ทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำ
วันละกว่า 18 ชั่วโมง ในที่สุดเขาก็ทำเสร็จในเดือนเดียวทำให้เขามีเงินมาหมุนในกิจการและเป็นกำลังใจอย่างดีที่จะช่วยให้กิจการสามารถทำต่อไปได้  หลังปีใหม่เขาก็ได้รับคำสั่งซื้อมาอีกจาก
คุณภาพและการบริการที่ดีของเขา  เมื่อเขาเห็นว่าคำสั่งซื้อมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงหาทางขยายโรงงาน  โดยในเดือนต่อมาเขาก็ได้เช่าบ้าน 2 ชั้นและทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นโรงงานเพื่อผลิตสินค้า  นอกจากที่เขาจะผลิตฉนวนเป็นสินค้าหลักแล้ว เขายังได้พัฒนาปรับปรุงเต้าเสียบและปลั๊กไฟที่เขาเคยทำก่อนอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น  ไม่นานนักผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นี้ก็ ได้รับการสนองจากลูกค้าเป็นอย่างดีด้วยราคาที่ประหยัดกว่าในท้องตลาดร้อยละ 30  ซึ่งทำให้ขายได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นของคุณภาพดี ราคาถูก  การที่เขาทำเช่นนี้ได้เพราะเขารักษาต้นทุนให้มีระดับต่ำสุด ประหยัดมัธยัสถ์ในทุก ๆ เรื่อง  นอกจากนั้นยังเน้นเรื่องความยือหยุ่นคล่องตัว
ความรวดเร็วและเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

 

กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น โคโนสุเกะไม่มีช่างฝีมือเก่ง ๆ หรือแรงงานฝีมือ ดังนั้นเขาจึงนำเอาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในตลาดมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น 30 % และ
ต้นทุนถูกกว่า 30 %
โดยเขาเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์เองทั้งหมด และต่อมาเมื่อกิจการใหญ่ขึ้นจึงหาคนมาช่วยในด้านนี้ และเขาก็ไปทำในส่วนอื่นเพื่อให้การบริการและเวลาส่งมอบเขาดีที่สุด โดยไม่ค่อยลงทุนในเรื่องการพัฒนาวิจัยเนื่องจากขาดแคลนเงินทุน 

การขยายตลาดของเขาเกิดขึ้นอย่างจริงจังในปี 1919 โดยเขาตัดสินในสาขาในโตเกียวขึ้นมาเป็นแห่งแรก  เมื่อยอดขายมากขึ้นเขาก็ได้ขยายพื้นที่และเพิ่มเครื่องจักร

โดยในปี 1922 โรงงานใหม่ของเขาก็เสร็จโดยใหญ่กว่าเดิม 4 เท่า มีลูกจ้างกว่า 30 คน
โดยส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดเดือนละ 1-2 ชิ้นโดยใช้นโยบาย “ ดีกว่าแต่ถูกกว่า “  แต่สิ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของโคโนสุเกะโด่งดังที่สุดก็คือโคมไฟรถจักรยาน โดยสามารถส่องไฟได้นานกว่าเดิมจาก 10 ชั่วโมงเป็น 50 ชั่วโมง โดยใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงาน  โดยในช่วงแรกไม่มีใครเชื่อว่าจะทำได้และร้านค้าไม่รับซื้อ แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ยอมแพ้และทำการไปติดตั้งโคมไฟให้ฟรี  การที่โคมไฟสามารถส่องแสงได้นานทำให้ร้านค้าและประชาชนทั่วไปเกิดความประทับใจจนทำให้เกิดความต้องการสูงมากคือเดือนละกว่า 2,000 ชุดและมีคำสั่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 1924 คำสั่งซื้อโคมไฟของเขาสูงถึงเดือนละ 10,000 ชุดเลยทีเดียว 

ในปี 1925 เขาก็ต้องทำการก่อสร้างโรงงานใหม่อีกครั้งและเริ่มมีการส่งตัวแทนจำหน่าย โดยให้บริษัท ยามาโมโต เทรดดิ้งเป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวโดยแลกกับคำสั่งซื้อเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 ชุด โคมไฟที่ผลิตนี้นอกจากใช้กับจักรยานแล้ว ยังเป็นตัวแบบหลักในการออกแบบโคมไฟส่องสว่างที่เรียกว่า “ ตะเกียงเนชั่นแนล “ ซึ่งเป็นที่มาของยี้ห้อเนชั่นแนลในปัจจุบัน

ปี 1927 ได้ออกผลิตภัณฑ์เตารีดไฟฟ้าโดยเขาต้องการที่จะทำยอดให้ได้ 10,000 ชุดต่อเดือนจึงสามารถลดราคาเตารีดได้ 30 % – 50 % แต่ในขณะนั้นเตารีดมีราคาแพงและไม่ค่อยมีคนใช้กัน แต่เขาก็ไม่หวั่นโดยคิดว่าคนญี่ปุ่นควรจะมีเตารีดมากกว่านี้  การตัดสินใจของเขาถูกต้องเขาสามารถขายได้ตามเป้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกล้าที่จะเสี่ยงในความท้าทายใหม่ และ
การทำงานเช่นนี้เองทำให้มัตซึชิตะ อิเล็กทริค เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยในปี 1928 เขามีพนักงานกว่า 300 คน จากที่มีเพียง 50 คนในปี 1922

 

โปรดติดตามตอนต่อไป

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *