บริหารอุปสงค์สร้างประสิทธิผลห่วงโซ่อุปทาน

บริหารอุปสงค์สร้างประสิทธิผลห่วงโซ่อุปทาน
Source: โกศล ดีศีลธรรม

การบริหารอุปสงค์ (Demand management) เป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการผลิตกับการ
ตลาด ซึ่งครอบคลุมทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) และผลิตผล (Output) แต่เนื่องจากการบริหาร
อุปสงค์เป็นปัจจัยภายนอกที่ขึ้นกับสภาวะตลาดและความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่นอกเหนือการ
บริหารควบคุม

ดังนั้นการบริหารอุปสงค์จึงเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างประสิทธิผลห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะ
การตอบสนองระดับการให้บริการกับลูกค้า (Service level) และสร้างความหลากหลายในผลิตภัณฑ์
(Product customization) โดยทั่วไปกระบวนการกระจายสินค้าได้เริ่มจากลูกค้าออกคำสั่งซื้อเข้ามา
และจบลงหลังจากได้จัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ดังนั้นระบบวางแผนความต้องการกระจายสินค้า
(Distribution requirement planning) หรือ DRP จึงแสดงข้อมูลความต้องการสินค้าแต่ละรายการ ซึ่งผู้
จำหน่ายสามารถจัดเก็บวัตถุดิบในระดับต้นทุนที่ยอมรับได้พร้อมๆ กับการตอบสนองอุปสงค์ทั้งในส่วนรูป
แบบและคุณภาพผลิตภัณฑ์ หากเกิดคำสั่งซื้อจากคลังสินค้าสาขาก็จะมีการสร้างแผนจัดส่งไปยังคลัง
สินค้าย่อย โดยที่ข้อมูลคำสั่งซื้อจากคลังสินค้าสาขาเป็นส่วนหนึ่งของตารางการผลิตหลัก (Master
production schedule) หรือ MPS ที่ศูนย์จัดส่งสินค้า

สำหรับองค์กรที่มีการเชื่อมโยงกับโรงงานหลายแห่งได้ใช้ระบบการวางแผนวัสดุ (MRP) เพื่อสร้างแผนคำ
สั่งซื้อในรายการหรือชิ้นส่วนที่มีความต้องการ ณ โรงงานหนึ่งและผลิตที่โรงงานอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งคำสั่งซื้อ
ได้ปรากฎในตารางการผลิตหลักของโรงงานที่จัดส่งสินค้า เพื่อสร้างความสอดคล้องกับแผนกำหนดการ
กระจายสินค้า และมั่นใจได้ว่ามีของพร้อมเมื่อต้องการใช้งาน

ดังนั้นการบริหารอุปสงค์จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดทำตารางการผลิตหลักที่เป็นเสมือนประตูเชื่อม
โยงระหว่างระบบวางแผนและควบคุมการผลิต (Production planning & control) กับอุปสงค์หรือความ
ต้องการตลาด แต่อุปสงค์อาจเกิดความผันผวนในบางฤดูกาล หรืออาจไม่มีความต้องการสินค้าเลยในบาง
ช่วง เช่น เสื้อกันหนาว ไอศกรีม ขนมเทียน เป็นต้น โดยบางรายการอาจมีความจำเป็นต้องมีการสต็อก
สำรองไว้สำหรับเบิกใช้งานอย่างชิ้นส่วนหรืออะไหล่สำรอง เพราะฉะนั้นการพยากรณ์อุปสงค์จึงได้มี
บทบาทสนับสนุนกระบวนการวางแผนและควบคุมการผลิต ซึ่งข้อมูลการพยากรณ์ได้ถูกใช้เป็นข้อมูล
สำหรับวางแผนธุรกิจ รวมทั้งการกำหนดตารางการผลิตหลักและการวางแผนการขายและปฏิบัติการ
(S&OP)

สำหรับการพยากรณ์ได้ใช้ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็น
ตัวแปรสำหรับคาดการณ์แนวโน้มอนาคต เช่น ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ข้อมูลคู่แข่งขัน
และการพัฒนาทางเทคโนโลยี เป็นต้น ส่วนข้อมูลปัจจัยภายในประกอบด้วย การปรับเวลาในกระบวนการ
ผลิต อัตราการเกิดของเสีย ผลิตภาพการทำงาน และแนวโน้มต้นทุนการผลิต เป็นต้น ด้วยเหตุนี้
ประสิทธิผลจากการพยากรณ์จึงเกิดจากความพร้อมข้อมูลที่มีความแม่นยำและเครื่องมือสนับสนุนการ
ตัดสินใจอย่างดีเยี่ยม ดังตัวย่างผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ารายหนึ่งที่มักเกิดปัญหาภาระงานล้นในช่วงปลาย
เดือน ทำให้ต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อให้ผลิตได้ทันกับเวลาการส่งมอบ ดังนั้นฝ่ายวางแผนจึงใช้เทคนิคการ
พยากรณ์ความต้องการล่วงหน้าและดำเนินการผลิตเพื่อจัดเก็บ (Make-to-stock) ส่งผลให้ระดับสต็อกสูง
ขึ้นและปัญหาการจัดการคลังสินค้าเนื่องจากสินค้าเกิดการเสื่อมสภาพ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้บริหารจึงได้
ปรึกษาร่วมกันระหว่างฝ่ายวางแผนกับฝ่ายผลิตเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและดำเนินการยกเลิกกลยุทธ์การ
ผลิตเพื่อจัดเก็บแล้วดำเนินกลยุทธ์การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make-to-order) ด้วยการเชื่อมโยงระบบการ
วางแผนการผลิตล่วงหน้า (Advanced planning & scheduling) หรือ APS กับระบบ ERP เพื่อจัดทำแผน
งานที่มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับตารางกำหนดการจัดซื้อ การผลิต และการกระจายสินค้า

ทั้งนี้ การบริหารอุปสงค์จึงมุ่งการพยากรณ์คำสั่งซื้อล่วงหน้า (Forecasting future orders) ด้วยการ
ติดตามข้อมูลสำคัญ เช่น คำสั่งซื้อ กำหนดการกระจายสินค้า และอุปสงค์ตลาด โดยข้อมูลเหล่านี้ได้ถูก
เชื่อมโยงกับระบบวางแผนการผลิตเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดเตรียมทรัพยากรและตัดสินใจขยายการลง
ทุนระยะยาว เช่น การลงทุนสร้างคลังกระจายสินค้า การจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต แต่การ
บริหารอุปสงค์จะเกิดประสิทธิผลก็ต่อเมื่อระบบสามารถตอบสนองอุปสงค์ให้กับลูกค้าและเกิดการพัฒนา
ผลิตภาพจากการดำเนินธุรกิจ

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *