ทำไมต้องคิดแบบ Logical Thinking

ทำไมต้องคิดแบบ Logical Thinking
Logical Thinking เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพราะเราอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และสังคมมักจะมีความหลากหลายของคน หลายวิธีคิด หลายวัฒนธรรม หลายค่านิยม ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งทางผลประโยชน์ที่มาจากทัศนคติที่หลากหลาย หากไม่ใช้วิธีการอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องภายในสังคมเข้าใจ และยอมรับด้วยหลักตรรกะ เป็นเหตุเป็นผลได้ ก็ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนสังคมได้

คัตสึมา (2549: 13-14) ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่า บริษัทของอเมริกาแห่งหนึ่ง (ลองคิดตามและเปรียบเทียบกับระดับองค์กร หรือกลุ่มสังคมที่เราอยู่ ว่ามีความคล้าย ความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไรนะครับ)

ผู้บริหาร ได้ประกาศว่า “ปีหน้าเราจะทำกำไรให้บริษัทเพิ่มเป็น 2 เท่า” แต่ก็อาจจะมีพนักงานของบริษัทบางคนที่มีความรู้สึกว่า “ทำไมเราต้องทุ่มเทเพื่อสร้างผลกำไรนั้นด้วย” ถึงตรงนี้ บริษัทแห่งนี้ได้กำหนดเป้าหมาย หรือเป้าหมายกำไรของแต่ละคน เป็นเป้าหมายขั้นต่ำเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะทำให้มีกำไรเป็น 2 เท่า และให้ความชัดเจนว่า “ถ้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขั้นต่ำที่ว่านี้ได้แล้ว ก็ไม่สามารถรับประกันการจ้างงานในปีหน้าได้” สหรัฐอเมริกาเป็นสังคมแห่งปัญญา ดังนั้นการที่คิดว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะได้ผลตอบแทนเช่นนี้นั้น เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานาน (ถ้าคัตสึมา กล่าวมาแบบนี้ ผู้เขียนคิดว่าบ้านเราขาดระบบนี้หรือเปล่า เนื่องจากผิดคำพูดที่ให้ไว้ซึ่งกันและกันบ่อยเกินไปหรือเปล่า ความสนใจอยู่ตรงที่ว่า คนไทยเราผิดสัญญากับคำพูดที่ให้ว่าซึ่งกันเพียงไร น่าหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอ่านจัง แล้วเราจะแก้ไขนิสัยเหล่านี้อย่างไร จะสร้างค่านิยมที่ให้ความสำคัญของคำพูดอย่างไร)

ความหลากหลายของคนต่างๆ ที่มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น ย่อมมีความคิดที่หลากหลายแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎที่ใช้ร่วมกัน ที่มีลักษณะเป็นที่เข้าใจและยอมรับสูงและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ คำว่า “มีลักษณะเป็นที่เข้าใจและยอมรับสูง” นั้น จะต้องไ้ด้รับประกันว่า มีความสอดคล้องเชิงตรรกะ เป็นเหตุและผล และเป็นที่ยอมรับของอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น Logical Thinking จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้

ผู้เขียนขอต่อยอดเล่นๆกันต่อ ในมิติของการทำ Dissertation ในระดับ PhD ขออธิบายต่อว่า ปรากฎการณ์สังคมของ PhD ก็ย่อมมีความหลากหลายทางความคิดทั้งในระดับนิสิต และคณาจารย์ ยิ่งเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนรู้แบบสหวิชา (Interdisciplinary) ด้วยแล้ว ตั้งข้อสมมุติไปได้เลยว่า ไม่มีทางที่คนแต่ละคนจะมีระบบความคิดที่คล้ายกัน ดังนั้น ระบบการคิด (Logical thinking) และวิธีการ (Methodology) อันซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ร่วมกันของสังคมที่กล่าวมาเท่านั้น ที่จะทำให้ข้อเสนอแนวทาง (Dissertation, Thesis) ของเราเป็นที่ยอมรับ ไม่ถูกปฎิเสธแนวคิด (Antithesis)

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าการถูกปฎิเสธบ่อยๆ เรากลับมาคิดทบทวนว่า “ทำไมถึงไม่ยอมรับ เนื่องจากสาเหตุใด” การคิดด้วยระบบ Logical Thinking ย่อมสร้างคุณผลประโยชน์ให้กับเรา จากการที่ถูกปฎิเสธข้อเสนอของเรา ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมองอย่างยอมรับ และทบทวนคิดถึงช่องว่างของงานที่ถูกปฎิเสธ มากกว่าการเศร้าตรม (Upset) หรือเสียความมั่่นใจลงไป เพราะงานที่ถูกปฎิเสธไม่ได้ หมายถึงว่า สิ่งที่เราคิดไม่ถูกตลอดไป ตลอดชีวิต เมื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการของกระบวนการไปเรื่อยๆอย่างมีตรรกะ สุดท้ายข้อเสนอแนวทางที่เราคิด น่าจะย่อมได้รับการยอมรับในที่สุด

ขมวดก่อนจบ สิ่งที่เหล่านี้ การประสบความสำเร็จได้จากการยอมรับ และมองช่องว่างของงาน ที่มีการปะทะระหว่าง ข้อเสนอ (Thesis) กับ ข้อปฎิเสธ (Anithesis) ถ้าเรานำกลับมาคิดทบทวนต่อถึงช่องว่าง ว่า ทำไมถึงถูกปฎิเสธ กระบวนการคิดนี้จะนำไปสู่การสังเคราะห์ (Synthesis) ให้กับงานเรา จนมีความเข้มแข็งตรรกะ และได้รับการยอมรับได้ในที่สุด

Logical Thinking ช่วยทำให้ประกายความคิดทีหลากหลายมีความเป็นเหตุ เป็นผลมากขึ้น

ซึ่งประกายความคิดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ส่วนใหญ่เรามักจะไม่สามารถนำมาช่วยในงานได้จริง แต่ถ้าเราใช้เทคนิคของการเติมคำว่า “ทำไม” เข้าไป เช่น ความล้มเหลว เราใส่คำนี้เข้าไปว่า “ทำไมงานนี้เราถึงล้มเหลว” อีกหนึ่งตัวอย่าง การทำวิทยาินิพนธ์ กลายเป็น “ทำไมเราถึงทำวิทยานิพนธ์ได้ยังไม่ดีพอที่จะ่ผ่านเกณฑ์” แล้วลองวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้าง เพื่อที่จะพยายาเข้าใจลักษณะที่แท้จริงของเรื่องนั้นๆ

คำว่า “ทำไม” จะเป็นตัวเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจว่าทำไมเราจึงล้มเหลว และสามารถแก้ไขได้ในที่สุด

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *