ทักษะการสังเกต

ทักษะการสังเกต
เป็นความชำนาญในการใช้ประสาทสัมผัสได้แก่ตาหูจมูกลิ้นผิวกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อ หารายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุนั้น ๆ
การสังเกตเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะ
กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการจำแนกประเภททักษะการพยากรณ์ ทักษะการลงความคิดเห็น เป็นต้น การสังเกตทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ทำให้เกิดปัญหา อันจะนำไปสู่ขั้นตอนในการสืบเสาะเพื่อหาความรู้และได้มาซึ่งความรู้มากขึ้น

รูปที่ 1 .1 ประสาทสัมผัสที่ใช้ในการสังเกต
ประเภทของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น ในการสังเกตวัตถุนั้น ๆ เช่น
– ปากกาสีเขียว ( ตา )
– ดอกไม้ชนิดนี้กลิ่นฉุน ( จมูก )
– สบู่เมื่อจับแล้วลื่น ( ผิวกาย ) เป็นต้น
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยอ้างอิงหน่วยการวัด เช่น
– วัตถุชิ้นนี้หนักประมาณ 10 กรัม
– ดินสอแท่งนี้ยาวกว่าดินสอแท่งนั้น
– คาดคะเนด้วยกายสัมผัสว่า น้ำในแก้วนี้มีอุณหภูมิ ประมาณ 40 O C
3. ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เป็นข้อมูลที่ได้จากผลการเปลี่ยนแปลงของวัตถุเมื่อกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความร้อน การบีบ การนำไปแช่น้ำ เป็นต้น เช่น เมื่อนำเทียนไขไปให้ความร้อน เทียนไขจะละลาย
ข้อควรปฏิบัติในการสังเกต
1. ควรใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุดขณะสังเกต
2. การใช้ลิ้นหรือกายสัมผัสต้องระมัดระวังว่าวัตถุนั้นไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
3. ไม่ใช้ตาสังเกตวัตถุที่มีความเข้มแสงมากๆเช่นมองไปที่ดวงอาทิตย์หรือหลอดไฟที่มีแสงสว่างจ้า
มาก ๆ
4. เสียงที่ดังมาก ๆ อาจมีอันตรายต่อแก้วหู เช่น เสียงระเบิด เสียงพลุ ต้องรีบอุดหูไว้
5. การดมกลิ่นบางชนิดอาจทำให้ระคายเคืองต่อร่างกาย เช่น กลิ่นของกรดบางชนิด กลิ่นพริกคั่ว ไม่ควรสูดดมโดยตรงแต่ถ้าต้องสังเกต ควรใช้มือโบกพัดให้กลิ่นเข้าจมูก

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *