คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
คาร์โบไฮเดรตจัดเป็น สารอาหารชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตนั้นมีมากมายหลายชนิด ซึ่งพอจะจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้
คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุล เล็กที่สุด มีโครงสร้างง่ายๆ เมื่อรับประทานแล้วจะสามารถดูดซึมผ่านลำไส้ได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย ตัวอย่างของคาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส (Glucose) และน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) โดยน้ำตาลทั้งสองชนิดนี้จะพบได้ในผัก ผลไม้ และน้ำผึ้ง โดยเฉพาะกลูโคสนั้น จะพบอยู่ในกระแสเลือดเป็นส่วนใหญ่ และเป็นสารให้พลังงานที่สำคัญของร่างกาย
คาร์โบไฮเดรตเชิงคู่ (Disaccharide) ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว 2 ตัวมารวมกัน โดยหลังจากรับประทานน้ำย่อยในลำไส้เล็กจะย่อยให้เป็นสารคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวก่อน ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตัวอย่างที่สำคัญของคาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ก็คือ แล็กโทส (Lactose) และซูโครส (Sucrose) ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้เป็นน้ำตาลที่พบในนม นอกจากนั้นแล้วน้ำตาลซูโครสยังพบได้ในอ้อยและหัวบีท น้ำตาลชนิดนี้เรารู้จักดีในรูปของน้ำตาลทรายนั่นเอง
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน(Polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโลเลกุลใหญ่ และมีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวจำนวนมากมารวมตัวกัน ตัวอย่างของคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้ คือ ไกลโคเจน (Glycogen) แป้ง (Starch) และเซลลูโลส (Cellulose) โดยไกลโคเจนจะพบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ส่วนแป้งและเซลลูโลสนั้นจะพบในพืช ถึงแม้ว่าไกลโคเจน แป้ง และเซลลูโลส จะเป็นสารที่ประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเรียงตัว ตลอดจนคุณสมบัติของสารดังกล่าว ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะไกลโคเจนและแป้งเท่านั้นที่น้ำย่อยในร่างกายสามารถย่อยได้จนเกิดเป็นพลังงาน เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต
ในทางตรงกันข้ามกับเซลลูโลส ซึ่งพบได้ตามผนังของเซลล์ทุกชนิด มีหน้าที่เป็นโครงสร้างที่ช่วยทำให้พืชแข็งแรง เซลลูโลสจะไม่ละลายน้ำ และเอนไซม์ในร่างกายของคนเรามาสามารถย่อยได้ แต่เซลลูโลสก็ถูกจัดให้เป็นสารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เนื่องจากสารประเภทนี้ช่วยเพิ่มกากใยในอาหารเพิ่มการดูดซึมน้ำให้มากขึ้น ทำให้กากอาหารมีน้ำหนักเพิ่ม ส่งผลให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ซึ่งจะมีผลทำให้อาหารถูกส่งผ่านไปยังทวารหนักได้เร็วขึ้น ทำให้ไม่มีกากหมักหมมอยู่ในลำไส้ นอกจากนี้ยังลดเวลาที่สารพิษต่างๆ รวมทั้งสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอาหาร มีโอกาสสัมผัสกับเยื่อบุในลำไส้ให้น้อยลง จึงมีผู้เชื่อว่าการรับประทานอาหารที่มีสารดังกล่าวในปริมาณสูงๆนั้นจะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ ถึงแม้เรื่องนี้จะมีการยืนยันไม่แน่นอน แต่ก็มีรายงานว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารหรือสารจำพวกเซลลูโลสและเพคตินในปริมาณมาก มีสถิติการเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่น้อยกว่าผู้ที่กินอาหารที่มีสารเหล่านี้น้อย และเนื่องจากเซลลูโลสเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายและนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ ดังนั้น สารชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน โดยสามารถที่จะรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ก็ควรรับประทานอย่างอื่นด้วยเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต มีความสำคัญกับร่างกายดังนี้
1.ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะให้พลังงาน 4.1 กิโลแคลอรี
2. ช่วยทำให้ร่างกายประหยัดโปรตีน เพราะร่างกายเราจะใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตก่อน หากไม่พอใช้ก็จะใช้จากไขมัน และหากขาดแคลนมากๆก็จะใช้โปรตีนถ้านำโปรตีนมาใช้พลังงาน ก็จะทำให้การทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆบกพร่อง
3. หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตมากไปไม่สามารถนำไปใช้ได้หมดก็จะเก็บสะสมไว้ในยามขาดแคลนที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน คาร์โบไฮเดรตที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน
4. กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูก เช่น เซลลูโลส ทำให้ร่างกายมีกากอาหาร
5. ช่วยสร้างสารที่สำคัญในร่างกาย เช่น การสร้าง DNA, RNA
6. ทำให้การเผาผลาญเป็นไปตามปกติ
7. สามารถเปลี่ยนไปเป็นกรดอะมิโนบางตัวได้
คาร์โบไฮเดรตมีในอาหารต่อไปนี้
1.ข้าวต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ข้าวสาลี ข้างฟ่าง
2. พืชที่มีหัว เช่น เผือก มันเทศ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง
3. อาหารที่มีเซลลูโลสมาก เช่น ผัก และผลไม้
4. พืชที่ให้น้ำตาล เช่น อ้อย
ในร่างกายของคนเรา คาร์โบไฮเดรตจะอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสและไกลโคเจนประมาณ 0.5-1% ของน้ำหนักตัว ซึ่งปริมาณไกลโคเจนและกลูโคสที่อยู่ในร่างกายจะใช้ได้เพียงครึ่งวัน หรือประมาณ 12 ชั่วโมง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับคาร์โบไฮเดรตเข้าไปอีก เพราะถ้ารับคาร์โบไฮเดรตน้อยไปจะทำให้กระบวนการเผาผลาญไขมันไม่สมบูรณ์
ผลกระทบจากการับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
1. ทำให้เกดโรคอ้วน (Obesity) เป็นผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคไต และฟันผุ
2. ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารอื่นๆ เช่น ขาดโปรตีน ขาดวิตามิน และเกลือแร่

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *