กรณีศึกษา ‘อุบัติเหตุที่ดอยสะเก็ด’

กรณีศึกษา ‘อุบัติเหตุที่ดอยสะเก็ด’

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เรามักสันนิษฐานกันก่อนว่า สาเหตุของอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นจาก ‘คน’ ไม่ว่าจะโดยประมาท ขับรถเร็ว ดื่มสุรา หรือหลับใน แม้ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะยืนยันเช่นนั้น แต่ในทางวิชาการ การเกิดอุบัติเหตุนั้นมาจากองค์ประกอบและเงื่อนไขหลายๆ ด้าน ตั้งแต่คนขับรถ สถานที่เกิดเหตุ สภาพรถ ถนน นอกจากนี้องค์ประกอบและเงื่อนไขเหล่านี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดความสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย

เวลาประมาณ 14:00 น. ของวันที่ 17 มกราคม 2550 รถทัวร์สองชั้น เครื่องยนต์ 6 สูบ 340 แรงม้า ช่วงล่าง 3 เพลา 8 ล้อ มีที่นั่งชั้นบน 42 ที่นั่ง ที่นั่งชั้นล่างเป็นโซฟายาวและเบาะนั่งอีก 2 ที่นั่ง นำคณะทัวร์จากจังหวัดจันทบุรีเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงราย เช้าวันที่ 18 มกราคม เวลา 06:00 น.รถทัวร์เดินทางถึงวัดร่องขุ่นจังหวัดเชียงราย จากนั้นมุ่งหน้าสู่แม่จันและเปลี่ยนเป็นรถตู้เพื่อขึ้นพระตำหนักดอยตุง จนถึงเวลาประมาณ 12:30 จึงกลับมาเปลี่ยนเป็นรถทัวร์ เดินทางสู่แม่สาย สามเหลี่ยมทองคำ และกลับถึงตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 20:00 น.
19 มกราคม 2550 รถออกจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 07:00 น. แวะพักที่น้ำพุร้อนแม่กระจานเวลา 09:00 น.เวลาประมาณ 09:45 น. รถทัวร์เสียหลักตกข้างทางบริเวณทางโค้งก่อนถึงสะพานข้ามลำน้ำแม่กวง กม. 42+543 ทางหลวงหมายเลข 118 ในขณะที่พยายามจะแซงรถบรรทุก เป็นเหตุให้รถพลิกคว่ำและตกลงไปในลำน้ำแม่กวง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน แบ่งเป็นผู้ช่วยคนขับ 1 ราย ผู้โดยสารชั้นล่าง 1 ราย และผู้โดยสารชั้นบน 15 ราย ที่เหลือเป็นผู้บาดเจ็บอีก 35 คน ซึ่งที่นั่งผู้โดยสารชั้นบนทั้งหมดหลุดออกจากตัวรถขณะที่รถพลิกคว่ำ
ในที่เกิดเหตุ พบรอยล้อ (Tire mark) อยู่บนพื้นถนนเป็นรอยยาวในช่องจราจรทิศทางตรงข้าม จากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า เป็นรอยล้อซ้ายของรถ รอยดังกล่าวยาวไปจนถึงจุดปะทะ (Point of Impact) ที่กำแพงคอนกรีต ตัวกำแพงได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นรถพุ่งข้ามไปตกที่คันทางหลังกำแพงคอนกรีตระยะ 16 เมตร และพลิกคว่ำไปหยุดอยู่ที่กลางลำน้ำห่างจากจุดที่ตกลงมา 43 เมตร
สภาพรถหลังเกิดเหตุ หลังคาชั้นสองหลุดออกจากตัวรถ เสาที่ยึดระหว่างตัวรถและหลังคาหลายอันฉีกขาด นอกจากนั้น เบาะนั่งชั้นบนทั้งหมดหลุดออกจากตัวรถ ยางล้อหน้าซ้ายเสียหายเป็นรอยฉีกขาด นอกจากนี้จากการตรวจสอบสภาพเบรคหลังเกิดเหตุพบว่า ผ้าเบรคที่ล้อเพลาหน้าและเพลาหลังมีความหนาประมาณ 5-7 มม. และที่เพลาขับประมาณ 2-4 มม. ส่วนระบบบังคับเลี้ยวและข้อต่อต่างๆ อยู่ในสภาพปกติ ไม่มีการแตกหัก และตัวโครงสร้างช่วงล่างไม่มีความเสียหายหลักใดๆ
ด้านข้อมูลสภาพถนน ถนนเส้นดังกล่าวเป็นทางหลวงหมายเลข 118 เชื่อมต่อจากจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ จุดเกิดเหตุเป็นทางลงเนินก่อนเข้าทางโค้งเพื่อเข้าสู่สะพานข้ามลำน้ำแม่กวงที่กม. 42+543 จากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางหลวงหมายเลข 118 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ 1 มกราคม 2538 ถึง 26 ธันวาคม 2548 พบว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นทั้งหมด 678 ครั้ง หรือเฉลี่ยเกือบสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 148 ราย ผู้บาดเจ็บ 641 ราย แยกเป็นอุบัติเหตุที่เกิดคันเดียว (เสียหลัก พลิกคว่ำ หรือชนอุปกรณ์ข้างทาง) และอุบัติเหตุรถชนกัน 377 ครั้ง
เฉพาะในบริเวณโค้งที่เกิดอุบัติเหตุนั้น เคยมีอุบัติเหตุถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือ วันที่ 5 กันยายน 2541 เป็นอุบัติเหตุรถโดยสารชนกับรถหกล้อ มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย ที่เหลืออีก 18 ครั้ง ไม่พบอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลย

จากหลักฐานต่างๆ ที่ได้ทำการเก็บบันทึก สัมภาษณ์ และตรวจสอบ โดยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย 107 กม./ชม. ก่อนที่จะทำการชะลอความเร็ว ซึ่งจากการสำรวจความเร็วของรถขณะเข้าโค้งหลังการเกิดเหตุหนึ่งสัปดาห์พบว่า โดยทั่วไปรถทัวร์โดยสารลักษณะเดียวกันกับรถที่เกิดเหตุใช้ความเร็วในการเข้าโค้งประมาณ 63 กม./ชม. เท่านั้น เพื่อประเมินลักษณะการเกิดเหตุ ความเร็ว และความรุนแรง เพื่อหาองค์ประกอบของอุบัติเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุนั้นๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น ‘องค์ประกอบของการเกิดเหตุ’ และ ‘องค์ประกอบของการบาดเจ็บ’ ทั้งนี้ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุวิเคราะห์ว่า ความเร็วของรถทัวร์คันดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ
ทั้งนี้มิติของรถ 4.2 เมตร ทำให้รถทัวร์สองชั้นประเภทดังกล่าวมีความเสี่ยงในการพลิกคว่ำสูงต่างจากรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถกระบะทั่วไป จากการประเมินถึงเสถียรภาพของรถโดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงจุดศูนย์ถ่วงและความกว้างฐานล้อ พบว่ารถประเภทดังกล่าวมีอัตราความเสี่ยงในการพลิกคว่ำสูงกว่ารถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปถึง 8 เท่า ที่มีสัดส่วนความสูงถึง
อย่างไรก็ตาม ถนนช่วงดังกล่าวเป็นเส้นทางลงเนินต่อเนื่องจากจุดสูงสุดของเส้นทางที่กม. 53+100 หรือคิดเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ทำให้ระบบลมเบรคของรถต้องทำงานอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้อุปสรรคหนึ่งของการออกแบบถนนในช่วงดังกล่าวคือการวางแนวถนนตามไหล่เขาผ่านลำน้ำ ณ จุดเกิดเหตุจะเห็นได้ว่าแนวโค้งที่จุดดังกล่าวจะต้องตัดเข้าแนวเดียวกันกับสะพานที่ตั้งฉากกับลำน้ำ ซึ่งจะต้องมีการคลายการยกโค้ง (Superelevation) ให้เหมาะสมก่อนเข้าสะพาน
ในส่วนองค์ประกอบของการบาดเจ็บ พบว่าระหว่างเกิดเหตุ หลังคารถหลุดออกจากตัวรถเนื่องจากโครงสร้างเสาไม่สามารถรองรับแรงกระแทกจากการพลิกคว่ำได้ ซึ่งความเสียหายแทบทั้งหมดจะเกิดที่บริเวณรอยต่อ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนแอของโครงสร้างรถนอกจากนี้ความสูญเสียยังเกิดขึ้นจากความมั่นคงของการยึดเบาะนั่ง ซึ่งพบว่าเบาะนั่งชั้นบนที่หลุดออกจากตัวรถทั้งหมดนั้นได้ยึดติดกับตัวรถด้วยตะขอเกี่ยวที่บริเวณทางเดินหนึ่งจุดและที่บริเวณด้านข้างของรถอีกหนึ่งจุด ซึ่งไม่สามารถรองรับแรงเหวี่ยงจากการพลิกคว่ำได้ อย่างไรก็ตาม เบาะนั่งชั้นล่างที่มีการยึดติดกับตัวรถโดยใช้น็อตยึดกับพื้นรถนั้น พบว่าไม่ได้รับความเสียหายใดๆ และยังเอื้อต่อการลดการบาดเจ็บจากการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสาร
ในส่วนของสภาพถนนที่เป็นองค์ประกอบของการบาดเจ็บ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างความสูงของจุดศูนย์ถ่วงรถและความสูงของกำแพงคอนกรีต ทำให้กำแพงคอนกรีตไม่สามารถรองรับการปะทะจากรถประเภทนี้ได้

กรณีศึกษาอุบัติเหตุที่ดอยสะเก็ดซึ่งศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์นี้ น่าจะทำให้เราเห็นและเชื่อได้ว่า แม้บางครั้งเราจะไม่สามารถห้ามไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่การออกแบบรถ และถนนที่ดีพอ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ลดทอนความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

อุบัติเหตุอาจจะห้ามไม่ได้ แต่การสูญเสียเรากำหนดได้

ที่มา : ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *