ไอที : อินเทลจ่อเปิดตัวซีพียูกินไฟต่ำ ​คอร์ เจนเนอเรชั่น4 ปี56

ไอที : อินเทลจ่อเปิดตัวซีพียูกินไฟต่ำ ​คอร์ เจนเนอเรชั่น4 ปี56

อินเทล เผยในงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม ถึงการมาของโปรเซสเซอร์แบบกินไฟต่ำรุ่นใหม่ อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ที่จะจำหน่ายในปี 2556 ที่คาดว่าจะยกระดับการประมวลผลระดับโมบายล์คอมพิวติ้ง อัลตร้าบุ๊ก แบบคอนเวิร์ทิเบิล และแทบเล็ตดีไซน์ใหม่

นายเดวิด เพิร์ลมัตเตอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บ.อินเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวเปิดงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ณ เมืองซานฟรานซิสโกว่า โปรเซสเซอร์ ตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” รุ่นต่อไป จะช่วยลดการใช้พลังงานมากกว่าโปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ถึงกว่า 20 เท่า โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานที่เหนือชั้น และการตอบสนองที่รวดเร็ว นอกจากนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2556 อินเทลมีแผนที่จะทยอยเปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่กินไฟต่ำ ที่ใช้สถาปัตยกรรมไมโครอาคิเทคเจอร์รุ่นเดียวกันรวมทั้งสิ้น 11 ตัว ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ คือความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของอินเทล ที่ต้องการลดการใช้พลังงาน เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ พร้อมนำเสนอดีไซน์โมบายล์รูปแบบใหม่ โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ การรับชมกราฟิก และการทำงานของมิเดียอื่นๆได้เป็นอย่างดี

โปรเซสเซอร์ ตระกูล อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 และโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำรุ่นใหม่ของเราจะนำไปสู่ยุคการประมวลผลอุปกรณ์พกพา ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การนำเสนอโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำแต่ยังเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม เป็นสิ่งที่อินเทลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะตั้งแต่ปี 2544 เราไม่ได้พัฒนาโดยเน้นที่ความเร็วเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ผลลัพธ์ที่ได้คือเราเห็นบริษัทผู้ผลิตสามารถพัฒนาคอนเวิร์ทิเบิล ดีไซน์ ที่มีความบางเบาและโดดเด่น พร้อมกับนำเสนอประสบการณ์การใช้งานอันล้ำสมัย จากจำนวนอุปกรณ์โมบายหลากหลายชนิด ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง” หน.เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บ.อินเทล กล่าว

นายเพิร์ลมัตเตอร์ กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ปีที่แล้ว อินเทลได้สร้างและลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบของอัลตร้าบุ๊ก จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการสรรสร้างนวัตกรรมแห่งการประมวลผล ทำให้มีอัลตร้าบุ๊กกว่า 140 ดีไซน์อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยมีจำนวนหนึ่งเป็นแบบคอนเวิร์ทิเบิล และอีกกว่า 70 รุ่นที่ใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ซึ่งวางจำหน่ายแล้วในปัจจุบัน เมื่อโปรเซสเซอร์ ตระกลู อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ขนาด 22 นาโนเมตรถูกนำมาใช้สำหรับอัลตร้าบุ๊ก และพีซีรุ่นอื่นในปี 2556 จะสามารถรองรับภาพกราฟิกระดับไฮเดฟฟินิชั่นจาก Intel HD graphics พร้อมด้วยชุดคำสั่งใหม่ ที่ช่วยให้การเข้ารหัสเร็วขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น

หน.เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บ.อินเทล กล่าวอีกว่า โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้ยังมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยใหม่ในรูปของฮาร์ดแวร์ และโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำเพื่อยืดอายุการใช้แบตเตอรี่ นอกจากนั้นเพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับโมบายล์ คอมพิวติ้ง ชิปกินไฟต่ำของอินเทลที่ใช้สถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” รุ่นต่อไป จะขยายแผนการพัฒนาอุปกรณ์โมบายของอินเทลจากเดิม โดยใช้ไฟเพียง 10 วัตต์ เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ภายใต้ อัลตร้าบุ๊กแบบ คอนเวิร์ทิเบิล และแท็บเล็ตดีไซน์ที่บางเบากว่าเดิม

เพิร์ลมัตเตอร์ กล่าวอีกว่า อินเทลจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการประมวลผลบนโมบายล์ทุกรูปแบบ ในเร็วๆนี้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นต่อไป (ชื่อรหัส “โคลเวอร์ เทรล” Clover Trail) จะเป็นซิสเต็มส์ออนชิป (SoC) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับ วินโดวส์ 8 โดยเฉพาะ โปรเซสเซอร์รุ่นนี้จะใช้กระบวนการผลิตขนาด 32 นาโนเมตร เพื่อเป็นขุมพลังให้กับแท็บเล็ตและ คอนเวิร์ทิเบิลที่มีน้ำหนักเบา มาพร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น และ เทคโนโลยี always-on ภายใต้ดีไซน์ที่เพรียวบางอีกด้วย

ประโยชน์จากอุปกรณ์ที่รองรับวินโดวส์ 8 ที่ใช้ชิปของอินเทล ตัวอย่างที่เห็นได้ คือ แท็บเล็ตและคอนเวิร์ทิเบิลที่ใช้อินเทล อะตอม และ อินเทล คอร์ จะมาพร้อมกับคุณสมบัติใหม่ๆ อีกมากมาย เช่น เพิ่มสมรรถนะในการรับชมมิเดีย ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัยในตัวสำหรับโซลูชั่นเฉพาะทางเพื่อการใช้งานในระดับองค์กร และคุณสมบัติในการรองรับแอพลิเคชั่นที่หลากหลายซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับสถาปัตยกรรมการผลิตโปรเซสเซอร์ ของอินเทล ที่มีอยู่แล้วทำให้สามารถควบคุมการลงทุนใหม่ของไอทีซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าอีกด้วย เราเชื่อว่าวินโดวส์8 ที่ใช้สถาปัตยกรรมของอินเทล จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบที่สุด มอบประสิทธิภาพที่ดีที่สุด อีกทั้งสามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม และระบบประมวลผลอื่นๆ ได้อีกด้วย” หน.เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บ.อินเทล กล่าว

นายเพิร์ลมัตเตอร์ กล่าวถึงรูปแบบการประมวลผลว่า การประมวลผลในขณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม สู่การประมวลผลที่เน้นการใช้ประสาทสัมผัส ที่อุปกรณ์จะมีสัมผัสแบบเดียวกับมนุษย์ เพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ โดยอินเทลมีความมุ่งมั่นในการนำเสนอคุณสมบัติเหล่านี้บนแพลตฟอร์มของอินเทลทั้งในรุ่นปัจจุบันและรุ่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนตัวอยากให้เหล่านักพัฒนาหันมาทำงานร่วมกับอินเทลเพื่อนำเอาระบบประมวลผลแบบสัมผัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล คอร์ โดยได้เปิดตัวชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบประมวลผลแบบสัมผัสเบต้าของอินเทล (Intel Perceptual Computing Software Development Kit Beta – SDK) SDK โดยมีแผนที่จะเปิดตัวในต้นไตรมาสที่ 4 จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ สามารถพัฒนาระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวของร่างกาย ใบหน้า ระบบสั่งการด้วยเสียง รวมถึงความสามารถในการนำโลกเสมือนจริงสู่โลกแห่งความเป็นจริงบนระบบอัลตร้าบุ๊กและพีซีที่ใช้ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น รุ่นปัจจุบัน

หน.เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บ.อินเทล กล่าวด้วยว่า ความก้าวหน้าของอินเทลในการพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียง บนอัลตร้าบุ๊ก ที่ใช้ Nuance Dragon Assistant Beta เพื่อรองรับ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ โดยเดลล์มีแผนที่จะนำเอา Dragon Assistant Beta มาติดตั้งในเครื่อง Dell XPS13 เพื่อจำหน่ายในที่สหรัฐอเมริกา ภายในไตรมาสหน้านี้

ที่มา : ไทยรัฐ

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *