โลกกลมๆ ของ ซัพพลายเชน

โลกกลมๆ ของ ซัพพลายเชน

ข่าวสาร ทุกวันนี้ เดินทางได้เร็ว เกือบเท่า ความเร็วแสง ส่วนคนเก่ง นั้นมีอยู่ ทุกแห่งหน เมื่อเกิด ความคิดตรงไหน เงินทุน ก็จะหลั่งไหล ไปที่นั่น อย่างรวดเร็ว ชนิดที่ ไม่เคยมี ปรากฏมาก่อน นี่คือ สิ่งที่ทอมัส ฟรีดแมน บรรยายไว้ ในหนังสือ The World Is Flat (โลกเรา มันแบนแล้วล่ะ) ของเขา
แต่ปัญหาติดขัดอยู่ที่ว่า กายภาพของซัพพลายเชนภาคปฏิบัติจริงยังขับเคลื่อนด้วยความเร็วระดับเรือเดิน
สมุทรอยู่เลย โลกนี้คงกลมอยู่หรือไม่งั้นฟรีดแมนก็หาวิธีแปลงไอพอดให้เป็นพลังงานได้
ในโลกความจริงของซัพพลายเชนไม่อาจเปรียบเปรยว่ามันกลมหรือแบนได้ ในขณะที่อัตราและและ
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด ความสำเร็จในการนำสินค้าใหม่สู่
ตลาดและความสามารถในการตีตลาดได้ถูกจังหวะและมีสินค้าคงคลังที่เหมาะสมจำเป็นต้องคำนึงถึงความ
เป็นจริงของ lead time โลจิสติกส์และความสามารถของซัพพลายเออร์อย่างรอบคอบ

ระยะทางบวกเวลาเท่ากับความกลม
“ผมสั่งซื้อไอพอดนาโนตัวใหม่เป็นของขวัญให้ตัวเองช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปี แต่กว่าของจะเดิน
ทางจากกวางโจวในจีนมาถึงบอสตัน กระบวนการสร้างคุณค่าและการส่งของใช้เวลามากกว่าการคลิ๊กเมาส์
คำสั่งซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นขั้นตอนสุดท้ายของนับร้อยขั้นตอนในกระบวนการระดับโลกที่ต้องใช้เวลา
ขับเคลื่อนนับเดือน” สตีฟ ฮอซแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชน กล่าว

ข้อมูลจากการสำรวจของ AMR Research’s Benchmark Analytix จากตารางแสดง lead time ของทุกกลุ่ม
อุตสาหกรรม ตัวอย่างเวลาเฉลี่ยในการสั่งสินค้าจนถึงส่งสินค้าได้ในอุตสากรรมรองเท้ากีฬา ต้องใช้มากกว่า
120 วัน การขนส่งด้วยทางเรือจากเอเชียยังต้องใช้เวลา 30 วัน และต้องเผื่อเวลาท่าเรือแน่นหนาด้วย นอก
จากนี้การออกของซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของปลายห่วงโซ่อุปทานที่ขึ้นชื่อว่าเจ้าปัญหาไม่น้อยอาจจะใช้เวลาจาก
3 ถึง 14 วัน เพิ่มจาก lead time

Lead time จากการสั่งซื้อ-การส่งของตามประเภทของซัพพลายเชน
ชนิด เวลาเฉลี่ย ดีสุด แย่สุด
สินค้าผลิตตามสั่ง 26 วัน 2 วัน 160 วัน
สินค้าผลิตเข้าสต็อก 7 วัน 1 วัน 65 วัน
ที่มา: AMR Research 2006

แบนยังแบน กลมยังกลม
ขณะที่ความต้องการข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น แต่โลกของซัพพลายเชนนับจากการสร้างโปรดักส์ไปจนถึงการ
ส่งสินค้าให้ลูกค้ายังติดปัญหาแอบแฝงหลายอย่างที่ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกต้องเสียเวลาต่อแถวรอ
ตัวอย่างปัญหาได้แก่

– ความต้องการของลูกค้าทำให้อายุสินค้า “สั้นลง” ทุกที ลูกค้าอิเล็กทรอนิกส์ผู้หนึ่งบอกว่า คุณสามารถ
ทำนายได้เลยว่าอายุของสินค้าใหม่ตัวหนึ่งจะตกรุ่นภายใน 30 วันที่วางตลาด ถือเป็นเรื่องปกติมาก

– การผลิตด้วยความรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็น แต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอสำหรับซัพพลายเชนทั้งกระบวนการ จาก
ข้อมูลการผลิตที่แสดงข้างต้น ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในซัพพลายเชนการผลิตเกี่ยวข้องกับการผลิตน้อยลงทุกที
แต่จะเป็นเรื่องของ lead time ของวัตถุดิบที่จะเข้ามา และ lead time ในการนำเข้าและส่งออก แม้ว่าการ
ผลิตสามารถลงมือได้ในเวลาไม่เพียงกี่นาที แต่ lead time ของชิ้นส่วนสินค้าไฮเทคอย่างไอพอดของ
Apple Computer จะได้เร็วที่สุดภายใน 4 สัปดาห์ นับจากวันที่สั่งจนของที่สั่งมาถึงโรงงาน

– การผลิตเพื่อเก็บสต็อกไว้ก่อนก็มีปัญหาเช่นกัน บางบริษัทต้องการความราบรื่นในการทำงานก็จะผลิต
สินค้าเป็นจำนวนมากขึ้นมาก่อนแล้วค่อยเก็บส่วนเกินไว้ในช่วงที่ขายไม่ดี การผลิตจำนวนน้อยเกินไปอาจทำ
ให้ของขาดตลาด แต่ถ้าผลิตล่วงหน้าไว้มากเกินไปก็ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการจัดเก็บสินค้าคง
คลังที่หมดสมัยไปแล้ว

เมื่อเครือข่ายซัพพลายเชนขยายยาวขึ้น ก็ยิ่งทำให้วงจรชีวิตของสินค้าสั้นลง บวกกับขีดความสามารถสุดสุด
ได้กลายเป็นข้อจำกัด ผู้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์อาจแก้ปัญหาด้วยหนึ่งหรือหลายวิธีต่อไปนี้คือ ลดซัพพลาย
เชนให้น้อยลง เลื่อนเวลาผลิตไปจนนาทีสุดท้าย บริหารความเสี่ยงเรื่องซัพพลายให้เหมาะสม สำรวจความ
ต้องการของตลาดก่อนเริ่มดีไซน์ พัฒนาการตัดสินใจและจับมือกับบริษัทพันธมิตร

การเร่งรัดให้มีบรูณาการข่าวสารข้อมูลและทักษะในการทำงานนั้นทำกันในระนาบแบน แต่กายภาพของ
ซัพพลายเชนยังคงกลมอยู่ไปอีกนานพอควร ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการ trade-offs (การสละบางสิ่งเพื่อให้ได้มา
ซึ่งสิ่งที่ต้องการโดยการแลกเปลี่ยนนั้นเกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน) ก็จะช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน
ได้

“ไอพอดที่ผมสั่งซื้อไปก็คงเป็นช่วงคริสต์มาส แต่ดูเหมือนว่า Best Buy กับ UPS น่าจะทำเงินในการทำใบสั่ง
ซื้อของผมให้เป็นจริงได้มากกว่า Apple Computer นะ” สตีฟ ฮอซแมน กล่าว

ที่มา: แปลจากบทความเรื่อง Supply Chains In A Round World เขียนโดย สตีฟ ฮอซแมน ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านซัพพลายเชนและการใช้เทคโนโลยีของ AMR Research (บริษัทอเมริกันทำวิจัยและส่งเสริมการทำ
ธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีช่วยงานโดยเฉพาะด้านซัพพลายเชนและ ERP

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *