ลงทุน : แบบตรวจสอบก่อนการตัดสินใจลงทุนตามแบบของ Benjamin Graham
ลงทุน : แบบตรวจสอบก่อนการตัดสินใจลงทุนตามแบบของ Benjamin Graham
Investor Guide
แบบตรวจสอบนี้ สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณสมบัติของหุ้นตามแบบหุ้นที่มีคุณค่าสูงกว่าราคาหรือไม่ ในแบบทดสอบนี้ประกอบด้วยคุณสมบัติของหุ้นที่มี่ราคาต่ำกว่าคุณค่าทั้งสิ้น 10 ประการ คุณสมบัติ 5 ข้อแรกเป็นเกณฑ์ในการวัดความเสี่ยงของหุ้นนั้นๆ ส่วนคุณสมบัติที่ 6 และ 7 เป็นการวัดความสามารถทางการเงินของหุ้นนั้นว่าน่าจะเอาตัวรอดได้ในยามขับขันหรือไม่ ส่วนที่เหลืออีก3คุณสมบัตินั้น เป็นการตรวจสอบประวัติของความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
บริษัท____________สัญลักษณ์____________ ตลาดหลักทรัพย์_____
1. Earnings to Price Yield_____ AAA Bond Yield_____
อัตราผลตอบแทนที่คำนวณโดยนำกำไรสุทธิหารด้วยราคาควรจะมีค่าสูงกว่าสองเท่าของอัตราผลตอบแทนจากพันทบัตรหรือหุ้นกู้บริษัทชั้นดีที่ได้รับการจัดอันดับ AAA ในบ้านเราอาจหาข้อมูลเหล่านี้ยากหน่อยแต่ก็พอหาได้ เช่นการจัดอันดับของหุ้นกู้หาได้จาก บริษัท ไทยเร็ทติ้ง หรือ TRIS จาก WEB Site www.trisrating.com ส่วนอัตราผลตอบแทนจากพันทบัตรหรือหุ้นกู้ (bond yield) หาได้จากศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ที่ www.thaibdc.or.th ส่วนอัตราผลตอบแทนที่คำนวณโดยนำกำไรสุทธิหารด้วยราคานั้นสามารถนำเอาค่า P/E มากลับค่าเช่น P/E เท่ากับ 20 ดังนั้น E/P จะเท่ากับ 1/20 หรือ 5%นั่นเอง
2. Current P/E Ratio_____ Highest Ave. P/E ( 5 ปีที่ผ่านมา)_____
ค่า P/E ในปัจจุบันไม่ควรสูงกว่า40%ของค่าP/E ที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของหุ้นนั้นๆ
3. Dividend Yield_____ AAA Bond Yield_____
ผลตอบแทนจากเงินปันผลควรมีค่าประมาณ สองในสามของอัตราผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากพันทบัตรหรือหุ้นกู้บริษัทชั้นดีที่ได้รับการจัดอันดับ AAA เช่นอัตราผลตอบแทน ของพันทบัตรช่วยชาติอายุ10ปีมีผลตอบแทนเท่ากับ7% ผลตอบแทนจากเงินปันผลควรมีค่าประมาณ 4.67 % {(7% x 2 )/3}
4. Stock Price_____ Tangible Book Value_____
ราคาหุ้นควรมีค่าสองในสามของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Book Value) (สินทรัพย์ที่มีตัวตนก็เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง เครื่องจักร โรงงาน ที่ดิน เป็นต้น ส่วนสินทรัพย์ประเภท ค่าความนิยม ค่าวิจัยและพัฒนา มูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาทรัพย์สิน นั้นจัดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บ้านเรามีเยอะนะดูให้ดีๆแล้วกัน) ส่วนมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นหาได้จาก สินทรัพย์รวม หักด้วย หนี้สินรวม หารด้วย จำนวนหุ้นที่มีทั้งหมด
5. Stock Price_____ Net current asset value_____
ราคาหุ้นควรมีค่าสองในสามของมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด หรือจะให้ดีควรใช้มูลค่าของสินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ทันที(Net quick liquidation value) มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดหาได้จากการเอาสินทรัพย์หมุนเวียนหักออกด้วยหนี้สินหมุนเวียน
6. Tangible Book Value_____ Total debt_____
หนี้สินที่มีทั้งหมดควรมีค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตน(Tangible Book Value) เช่น ที่ดิน เครื่องจักรอุปกรณ์ สินค้าคงเหลือ
7. Current ratio_______________________
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ควรมีค่าประมาณ 2 ขึ้นไป อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
8. Total debt_____ Quick liquidation value_____
หนี้สินหมุนเวียนทั้งสินควรต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ทันที(Net quick liquidation value) เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า
9. Current earnings_____ Earnings 10 years ago_____
กำไรสุทธิในปัจจุบันควรมีค่าเป็นสองเท่าของกำไรสุทธิเมื่อ10ปีที่แล้ว สำหรับบ้านเราอาจจะใช้ข้อมูลเท่าที่เราหาได้และลดสัดส่วนลงตามความเหมาะสม
10. กำไรในรอบ10ปี ที่ผ่านมา (EPS)
ปีที่ 1_____ปีที่ 2_____ ปีที่ 3_____ ปีที่ 4_____ปีที่ 5_____
ปีที่ 6_____ ปีที่ 7_____ปีที่ 8_____ ปีที่ 9_____ปีที่ 10_____
กำไรสุทธิในปัจจุบันไม่ควรลดลงมากกว่า 5% เป็นเวลาเกิน2ปีในรอบ10ปีที่ผ่านมา
ข้อควรระวังในการใช้แบบประเมินนี้
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว บริษัทที่เราพิจารณานั้นจะเข้าข่ายการเป็นหุ้นที่มีคุณค่าต่ำกว่าราคานั้นควรจะเข้าข่ายประมาณ 7 ใน 10 ข้อ แต่พวกเราก็ไม่ควรยึดมั่นกับมันมากนักนะครับเพราะมันไม่ใช่สูตรสำเร็จ ในตลาดบ้านเราอาจจะไม่มีหุ้นที่เข้าข่ายตามนี้เลยก็ได้ เราควรจะพิจารณากฎเกณฑ์ตามข้อต่างๆอย่างมีเหตุผลเน้นกฎเกณฑ์ที่เข้ากับสถานการณ์ของเราให้มากที่สุด บางกฎเกณฑ์เราอาจต้องละไว้เช่น หากเราต้องการลงทุนอย่างปลอดภัยสุดๆก็คงต้องตามนั้น หากต้องการความปลอดภัยพอๆกับต้องการเติบโตฃองกำไรเราอาจไม่สนใจคุณสมบัติข้อที่3แต่จะมาเน้นกันมากในข้อที่1-5 และ 9กับ10
สุดท้ายนี้ผมคิดว่าทั้งหมดนี้คงเป็นประโยชน์กับพวกเราชาว Value Investor กันนะครับ