เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning how to learn)
|เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning how to learn)
Post Today – ผมจะได้รับอีเมลจากผู้อ่านภาคภาษาอังกฤษเป็นประจำหลังจากบทความได้รับการตีพิมพ์ในบางกอกโพสต์ ส่วนใหญ่สัปดาห์ละ 2-3 อีเมล บางครั้งถ้าคอลัมน์ไหนโดนใจผู้อ่านมากๆ ก็จะได้รับเมล์ 5-6 ฉบับเลย
มีผู้อ่าน 2 ท่านที่เขียนมาคุยกับผมเป็นประจำ หนึ่งในนั้นคือคุณเจริญ ซึ่งเป็นซีอีโอในบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง
อีเมลที่ผมคุยกับคุณเจริญล่าสุดจุดประกายให้ผมเขียนคอลัมน์ในวันนี้ คุณเจริญถามผมว่าผมอ่านหนังสือเดือนละกี่เล่ม ผมตอบเมล์ไปว่าผมซื้อหนังสือเดือนละ 20-30 เล่ม แต่อ่านไม่หมดหรอก แล้วผมก็เลยแซวคุณเจริญไปว่า “ผมน่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเรียนการอ่านของผมนะครับ”
คุณเจริญก็ตอบมาว่า “ดีนี่ครับ น่าจะช่วยแชร์วิธีการเรียนกันหน่อย”
พวกเราทำงานกันในยุคสังคมฐานความรู้ อย่างที่ Ronald Gross เขียนไว้ในหนังสือ Peak Learning ว่า “The more you learn, the more you earn. The more you earn, the more you need to learn.” แปลว่า “ยิ่งเรียนมากยิ่งทำเงินได้มาก ยิ่งทำเงินได้มากยิ่งต้องขวนขวายเรียนรู้ให้มาก”
เมื่อเราพูดถึงการเรียนรู้ อย่าสับสนระหว่างปริญญากับความฉลาด Jack Welch เขียนไว้ในหนังสือเล่มดัง Winning ของเขาว่า “บางครั้งคนเราก็พลาดไป คิดเอาว่าปริญญากับความเฉลียวฉลาดเป็นเรื่องเดียวกัน ผมเองก็พลาดในตอนทำงานใหม่ที่จีอี แต่ว่าจากประสบการณ์ ผมเรียนรู้ว่าคนที่เฉลียวฉลาดจะจบจากโรงเรียนไหนก็ได้”
หลานผมคนหนึ่งถามผมว่า “หนูจะเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องจบเอ็มบีเอได้ไหมคะ”
“ได้แน่นอน เริ่มแรกเลยคุณต้องรู้ก่อนว่าความถนัดในการเรียนรู้ของเราเป็นอย่างไร คนเรามีวิธีการเรียนอยู่ 3 แบบ คือ 1. เรียนรู้ด้วยสายตาจากการอ่านหรือการดู แบบที่ 2 คือจากการฟัง และแบบที่ 3 จากการลงมือทำ เราแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน เช่น ผมถนัดที่สุดจากการเรียนด้วยการลงมือทำ รองลงมาคือจากการฟัง และสุดท้าย ถนัดการอ่านและดูภาพยนตร์”
ผมลงทุนในความรู้เดือนละไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ผมซื้อหนังสือจากร้านในบ้านเรา รวมทั้งสั่งซื้อจาก www.amazon.com ซึ่งที่เว็บนี้ผมสั่งซื้อดีวีดีของผู้เชี่ยวชาญหรือกูรูเก่งๆ อาทิ Stephen Covey, Tom Peters, Marcus Buckingham, Jerry Weisman, Brian Tracy, Anthony Robbins, Bill Gates, Bill Gates, Warren Buffett, Steve Jobs, Jim Collins, Jack Welch, Jack Canfield, Deepak Chopra, Wayne Dyer, Tom Rath, and Jim Roth.
การใช้เงินลงทุนในความรู้เป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง ที่จริงแล้วการไม่ลงทุนในการเรียนรู้ต่างหากที่เป็นความเสี่ยง
เพราะผมรู้ว่าตัวเองถนัดการเรียนรู้จากการลงมือทำ ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว ผมช่วยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association – TMA) โดยช่วยเขาออกแบบ ประสานงาน ติดต่อวิทยากร และบางครั้งก็เป็นวิทยากรเองในเรื่องของการขาย การตลาด และการบริการ ผมอาสาไปทำฟรีนอกเวลางานประจำ ซึ่งช่วยฝึกฝนตัวผมสำหรับอนาคต แถมเป็นการเรียนรู้ที่ดีอีกด้วย
ปัจจุบันนี้ผมยังมีงานอาสาสมัครที่ทำโดยไม่คิดเงินเขา 2 งาน งานแรกคือช่วยหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งโค้ชกลุ่มข้าราชการพันธุ์ใหม่กลุ่มหนึ่ง และเป็นผู้อำนวยการให้กับโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท
ทั้งสองแห่งนี้เป็นเสมือนห้องแล็บของผม เมื่อผมเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ผมจะมาทดลองกับทั้งสองที่นี้ก่อน เมื่อแน่ใจแล้วจึงนำออกมาเสนอลูกค้าผม
นอกจากนี้ แหล่งที่ผมเรียนรู้มากอีกแห่งหนึ่งคือในอินเทอร์เน็ต
กูเกิล www.google.com เป็นหอสมุดโลกที่หาข้อมูลได้ทุกเรื่อง
www.wikipedia.com เป็นสารานุกรมที่มีหลากหลายภาษา และมีเรื่องราวกว่า 2 ล้านเรื่อง โดยที่มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทุกวัน
นอกจากนี้ การเรียนรู้จากวิดีโอออนดีมานด์ก็ได้ประโยชน์มหาศาล ทุกวันนี้มีเว็บความรู้หลายแห่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ฟรี ผมชอบอยู่ 2 แห่ง คือ
1. http://mitworld.mit.edu คือเว็บไซต์จาก MIT World ซึ่งเป็นแหล่งความรู้จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง MIT
2. http://alumni.gsb.stanford.edu อีกแห่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัย Stanford
ผมได้สร้างลิงก์ในเว็บไซต์ของผม www.thaicoach.com โดยคลิกไปที่ RESOURCES ซึ่งผมเลือกวิดีโอที่น่าสนใจไว้ดังนี้
Video on Demand from MIT World
1. Jack Welch Former GE’s CEO talks about the book “Winning”
2. Anne Mulcahy Xerox’s CEO talks about how she turned around Xerox.
3. John Chambers CISCO’s CEO delivers best practices on presentation
4. Peter Senge on Leading Across boundaries
5. Thomas Friedman – The World is Flat
Video on demand from Stanford Graduate School of Business
1. Carlos Ghosn Nissan & Renault CEO : Cross Cultural Management
2. Microsoft CEO Steve Ballmer Foresees Growth in Information Management Technology
3. Failure Is Important, Azim Premji, chairman of the Indian outsourcing giant Wipro Technologies :
4. Gerstner Describes Bringing IBM Back to Health
5. Offshoring Means New Challenges for Promoting Managers, Ian Davis, managing director of McKinsey & Co.
นอกจากนี้ ผมยังเปลี่ยนถนนบนกรุงเทพฯ ให้เป็นห้องเรียนอีกด้วย ตอนขับรถไปทำงาน ผมใช้เวลาประมาณวันละชั่วโมงฟังหนังสือที่อ่านลงซีดี หนังสือ How To ภาษาอังกฤษที่ดังๆ ส่วนใหญ่มีขายเป็นซีดีด้วย ที่เอเซียบุ๊คสก็มี ในอเมซอนก็เยอะ
แล้วการอ่านจริงๆ ก็จำเป็น ผมพยายามอ่านวันละ 30-60 นาที ทุกๆ วัน